ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาแลเดอเลลีเซมาแล้ว รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ แอมานุแอล มาครง ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 อำนาจประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 นั้นเป็นการปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเองก็มีอำนาจมากพอสมควรซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าโดยส่วนมากการควบคุมดูแลและบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่ประธานาธิบดีก็มีอิทธิพลด้วย อำนาจสูงสุดของประธานาธิบดีนั้นคือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตามรัฐสภาฝรั่งเศสก็มีอำนาจที่จะปลดคณะรัฐมนตรีได้ ทำให้ประธานาธิบดีเหมือนกับถูกบังคับให้เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภาให้การสนับสนุน เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภามีความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับประธานาธิบดี ซึ่งจะทำให้เกิดการบริหารร่วมกัน เมื่อนั้นอำนาจประธานาธิบดีจะลดน้อยลง เนื่องจากอำนาจส่วนมากจะไปขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาแทน และอาจจะไม่สนับสนุนการแต่งตั้งของประธานาธิบดีอีกด้วย เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภาสนับสนุนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีก็จะมีบทบาทมากขึ้นและมีอิทธิพลต่อนโยบายการบริหารของรัฐบาล บทบาทของนายกรัฐมนตรีจึงลดลงและอาจถูกปลดออกจากตำแหน่งหรือเปลี่ยนคณะผู้บริหารถ้าไม่เป็นที่นิยม ตั้งแต่พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐสภามีวาระ 5 ปีและการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งจะใกล้กัน ทำให้ความเป็นไปได้ของการบริหารร่วมกันนั้นมีความน้อยลง
อำนาจของประธานาธิบดีมีดังนี้:
การตัดสินใจของประธานาธิบดีนั้น จะต้องมีการลงนามร่วมโดยนายกรัฐมนตรี ยกเว้นกรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎร การนิรโทษกรรมของประธานาธิบดีในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประเพณีที่เรียกว่า การนิรโทษกรรมของประธานาธิบดี หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาที่มาจากพรรคเดียวกันนั้น รัฐสภาจะมีการลงคะแนนเสียงในการประกาศกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษที่กระทำผิดเล็กๆ น้อยๆ การกระทำนี้เป็นที่วิพากย์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นการส่งเสริมให้มีการทำผิดกฎหมายก่อนหน้าการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ อาจจะเป็นการให้อำนาจประธานาธิบดีในการนิรโทษกรรมนักโทษบางคนถ้าตรงตามเงื่อนไข บางคนก็พูดกันว่า การนิรโทษกรรมนี้เป็นการลดประชากรนักโทษในคุกอีกด้วย การเลือกตั้งตั้งแต่การลงประชามติในปี พ.ศ. 2543 ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระ 5 ปี (ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมีวาระ 7 ปี ภายหลังมาลดลงเหลือ 5 ปี ซึ่งเริ่มวาระ 5 ปี ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 สมัยประธานาธิบดีฌัก ชีรัก) ฌัก ชีรักได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2545 ซึ่งไม่มีข้อกำหนด ทำให้ชีรักสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้ แต่เขาเลือกที่จะไม่ดำรงตำแหน่งต่อไป ประธานาธิบดีคนถัดมาคือ นีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ฟร็องซัว มีแตร็องและฌัก ชีรัก เป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ (14 ปี และ 12 ปี) ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนอย่างน้อย 500 คน ให้สภารัฐธรรมนูญตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนจะประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และเปิดการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นทางการ ผู้สนับสนุนนั้น ส่วนมากจะเป็นนายกเทศมนตรี ซึ่งจะต้องมาจาก 30 จังหวัด (département) เป็นอย่างน้อยหรือประชาชนอาศัยในต่างประเทศ และร้อยละ 10 จะต้องไม่มาจากอำเภอหรือประชาชนกลุ่มเดียวกัน และผู้สนับสนุนที่ว่านั้น สามารถเสนอได้ชื่อผู้สมัครได้เพียงคนเดียวต่อหนึ่งคน ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งแล้วกว่า 45,000 คน ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีประมาณ 36,000 คน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 23 เมษายน และ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2017
การสืบตำแหน่งเมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิตลงหรือลาออกจากตำแหน่ง ประธานสมาชิกวุฒิสภาจะทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว อาแล็ง ปอแอร์เป็นคนเดียวที่ได้รับตำแหน่งชั่วคราวนี้ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 เมื่อชาร์ล เดอ โกล ลาออกจากตำแหน่ง และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2517 เมื่อฌอร์ฌ ปงปีดูเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ในสถานการณ์อย่างนี้เป็นที่สำคัญว่า ประธานสมาชิกวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว มิใช่ประธานาธิบดีคนใหม่ จึงทำให้ไม่ต้องออกจากตำแหน่งประธานสมาชิกวุฒิสภา อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสก็ได้ยกอาแล็ง ปอแอร์ เป็นอดีตประธานาธิบดีคนหนึ่งและยังได้ถูกจัดไว้ในทำเนียบประธานาธิบดีในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เก็บถาวร 2008-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอีกด้วย การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกนั้นจะต้องจัดให้เรียบร้อยภายใน 20-35 วัน หลังตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลง เพราะว่า 15 วันนั้น สามารถแยกการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 1 และ 2 ได้ นั่นหมายความว่าประธานสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวได้มากที่สุดเพียง 15 วันเท่านั้น ในระหว่างที่ทำหน้าที่ประธานาธิบดีชั่วคราวนั้น จะไม่สามารถยุบสภา ชี้แนะการลงประชามติ หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้ ถ้าไม่มีประธานวุฒิสภารักษาราชการแทน อำนาจของประธานาธิบดีนั้นจะตกอยู่กับคณะรัฐมนตรี ซึ่งก็จะตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีนั่นเอง แต่ถ้านายกรัฐมนตรีไม่สามารถรักษาราชการแทนได้แล้วไซร้ รัฐมนตรีจะทำการแทนโดยยึดตามลำดับรายชื่อในคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาจะมีสิทธิเป็นไปได้ยากเพราะถ้าไม่มีประธานสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะเสนอชื่อประธานสมาชิกวุฒิสภาคนใหม่เพื่อที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวแทน สถานที่อาศัยอย่างเป็นทางการสถานที่อาศัยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นคือ Palais de l'Élysée ในกรุงปารีส ส่วนสถานที่อาศัยของประธานาธิบดีที่อื่น ๆ ได้แก่:
อดีตประธานาธิบดีในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสมีอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ 2 ท่านได้แก่
ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพในฐานะเท่ากับที่ปรึกษากิตติมศักดิ์แห่งรัฐ (French: conseiller d'État) และได้รับหนังสือเดินทางทูต และตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 56 อดีตประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย ดูเพิ่ม |