Share to:

 

คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Mass Communication,
Ramkhamhaeng University Ramkhamhaeng
ชื่อย่อMC.
คติพจน์สร้างสรรค์นักสื่อสาร รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีความรู้คู่คุณธรรม
สถาปนา15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (12 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สุระชัย ชูผกา
ที่อยู่
สำนักงานคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารสุโขทัย ชั้น 2 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สี  เขียวตองอ่อน
มาสคอต
รูปคนสนทนา (ไม่เป็นทางการ)
สถานปฏิบัติห้องปฏิบัติการคณะสื่อสารมวลชน อาคารสุโขทัย ชั้น 10
สำนักงานคณะสื่อสารมวลชน อาคารสุโขทัย ชั้น 2
เว็บไซต์https://mac.ru.ac.th/

คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดิมเป็น ภาควิชาสื่อสารมวลชน ในคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้จัดตั้งขึ้นเป็น คณะสื่อสารมวลชน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2555 และมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระชัย ชูผกา เป็นคณบดีคนปัจจุบัน

ปัจจุบัน คณะสื่อสารมวลชนเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษา 1/2565 จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล[ลิงก์เสีย] และ สาขาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ เก็บถาวร 2022-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ประวัติ

แรกเริ่ม

แรกเริ่มคณะสื่อสารมวลชน เดิมมีชื่อว่า คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน เกิดจากภาควิชาสื่อสารมวลชนนั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะมนุษยศาสตร์เริ่มต้นทศวรรษที่ 4 ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีพ.ศ. 2543 จัดตั้งเป็นคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชนและเตรียมการจัดตั้งศูนย์สารนิเทศ จึงได้แยกตัวออกเป็น คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน ชื่อในขณะนั้น ซึ่งมีผู้เข้าการศึกษาและสนใจเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภารกิจของคณะมนุษย์ศาสตร์มีมากขึ้น และการศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและสาขาวิชาให้ทันต่อโลกและเหตุการณ์ปัจจบันมากขึ้น จึงได้มีการแยกภาควิชาสื่อสารมวลชนขึ้นเป็น "คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เดิมมหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดสอนวิชาด้านการสื่อสารและการสื่อสารมวลชนเป็นวิชาเลือกในภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์

ภาควิชาสื่อสารมวลชน

ในปี พ.ศ. 2536 มีพระราชบัญญัติก่อตั้งภาควิชาสื่อสารมวลชน เปิดสอนสาขาวิชาสื่อสารมวลชนเป็นวิชาเอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ด้วยมีนักศึกษาสนใจเรียนสาขาวิชาด้านสื่อสารมวลชนจำนวนมาก และมีความสนใจในศาสตร์การสื่อสารมวลชนเฉพาะสาขามากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงมอบหมายให้ภาควิชาสื่อสารมวลชนเตรียมการยกฐานะภาควิชาสื่อสารมวลชนเป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านสื่อสารมวลชน

คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน

การประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งที่ 4/2545 วาระที่ 4.8 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2545 มีมติให้จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน และมีประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหงเรื่องการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2545 และให้อยู่ในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 3 สาขา

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี

จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 3 สาขา ได้แก่

  1. สาขาวิชาการสื่อสารบูรณาการ
  2. สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อประสม
  3. สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาโท

มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 1 หลักสูตร

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

คณะสื่อสารมวลชน

สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการประชุมครั้งที่ 12/2555 วาระที่ 5.6 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน เป็นคณะสื่อสารมวลชนโดยให้รวมการดำเนินการของภาควิชาสื่อสารมวลชนและคณะสื่อสารมวลชนเข้าด้วยกัน เป็นคณะในกำกับราชการอีกคณะหนึ่งอย่างเป็นทางการ แยกการดำเนินงานเป็นอิสระออกจากคณะมนุษยศาสตร์ และจัดตั้งเป็นคณะ อย่างเป็นเอกเทศ ในปีการศึกษา 2556 และมีที่ทำการปัจจุบัน คือ อาคารสุโขทัย ชั้น 2 โดยมี ผศ.ดร.บุญชาล ทองประยูร เป็นคณบดีท่านแรก

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี

จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 1 สาขา ได้แก่

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล[ลิงก์เสีย]
  2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ เก็บถาวร 2022-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาโท

มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 1 สาขา ได้แก่

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

หลักสูตรปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล)
  • อักษรย่อภาษาไทย ศศ.บ. (นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล)
  • ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Communication Arts and Digital Media)
  • อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Communication Arts and Digital Media)


หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์)
  • อักษรย่อภาษาไทย ศศ.บ. (ภาพยนตร์ดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์)
  • ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Digital Film and Creative Media)
  • อักษรย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Digital Film and Creative Media)

หน่วยงาน

  • ภาควิชาสื่อสารมวลชน
  • ภาควิชาการสื่อสารบูรณาการ
  • ภาควิชาวารสารศาสตร์สื่อประสม
  • ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
  • สำนักงานเลขานุการ
  • งานหลักสูตร

ศิษย์เก่า​ที่มีชื่อเสียง​

หมวดหมู่:บุคคลจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ้างอิง

- หลักสูตรระดับปริญญาตรี

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya