พลโท คมกฤช รัตนฉายา หรือ เสธ.แม็กซ์[7] ดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ 4 อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 46,[8] ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี[9] และอดีตผู้บังคับกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กกล.ทพ.จชต.)[10][11]
ประวัติ
พล.ท.คมกฤช เป็นบุตรคนที่ 2 ของ พล.อ.กิตติ รัตนฉายา อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 กับคุณหญิง สุภาภรณ์ รัตนฉายา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี[12] ก่อนสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 26 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 37[1]
พ.อ.คมกฤช เป็นผู้เรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ทหารพรานที่ถูกกล่าวหา[10][13] รวมทั้งในปี พ.ศ. 2547 คมกฤชเป็นผู้ชี้แจงถึงคดีปืนลั่นปริศนา ที่เขาเชื่อว่าเป็นการลอบยิงจากคนร้ายในพื้นที่สีแดง[6][14]
ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับย้ายให้ พ.อ.คมกฤช ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 46 มาเป็นรองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 46[15][16]
ปฏิบัติการสนธิกำลัง
พล.ท.คมกฤช เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนธิกำลังกับทหารและตำรวจในสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย อาทิ:
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 พ.อ.คมกฤช เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนธิกำลังจำนวน 70 คน พร้อมอาวุธครบมือ โดยกฎอัยการศึก บุกตรวจค้นบ้านพักไม่มีเลขที่ ณ จังหวัดนราธิวาส กระทั่งมีการปะทะกัน จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีผู้เสียชีวิต 4 คน รวบตัวได้ 2 คน และเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 1 คน[20]
ส่วนวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พ.อ.คมกฤช เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนธิกำลังจำนวนกว่า 50 คน เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านพักที่ต้องสงสัย ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส หลังสืบทราบว่ากองกำลังติดอาวุธของหนึ่งในแกนนำอาร์เคเคหลบซ่อนตัวเพื่อเตรียมก่อเหตุ และได้มีการยิงปะทะกัน กระทั่งตำรวจเสียชีวิต 2 นาย ส่วนกองกำลังติดอาวุธอาร์เคเคเสียชีวิต 4 คน (หนึ่งในนั้นคือเปเล่ดำ) และยอมมอบตัว 7 คน[19]
หลังจากสอบสวนผู้ต้องหาที่ยอมมอบตัวทั้ง 7 คน คมกฤช รัตนฉายา ได้ร่วมสนธิกำลังเข้าพิสูจน์ทราบ ณ แหล่งซุกซ่อนอาวุธปืน โดยเจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังและใช้สุนัขดมกลิ่น กระทั่งพบอาวุธปืนและอุปกรณ์ประกอบระเบิดแสวงเครื่อง พร้อมทำการเข้ายึดเพื่อป้องการการก่อเหตุ[17]
และในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 พ.อ.คมกฤช เป็นหนึ่งในผู้นำกำลังร่วม 3 ฝ่าย จำนวนกว่า 70 คน เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านร้างที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เนื่องจากได้เบาะแสว่ากลุ่มก่อความไม่สงบได้เข้ามากบดาน และเกิดการยิงปะทะกัน กระทั่งผู้ก่อเหตุถูกวิสามัญฯ 2 ราย[21]
ชีวิตส่วนตัว
พล.ท.คมกฤช รัตนฉายา พกเครื่องรางจากบุคคลใกล้ชิด ทั้งกะลาตาเดียวที่พี่น้องชาวมุสลิมนำมามอบให้ และครุฑวัดบางนาจากเพื่อนนักธุรกิจ[4]
รางวัลที่ได้รับ
- พ.ศ. 2563 - รางวัลเกียรติยศจักรดาว[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 เกียรติยศจักรดาว พ.ศ. 2563[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔ ข ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ "พิธีส่งมอบหน้าที่ผู้บังคับกองกำลังทหารพรานใต้ - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ 4.0 4.1 พ.อ.คมกฤช รัตนฉายา กับวจี...“พระเครื่องและเสื้อเกราะสำคัญพอกัน” - คมชัดลึก
- ↑ ปัตตานี-วันสถาปนาทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 6.0 6.1 อดีตแม่ทัพ 4 ไม่เชื่อลูกชายให้การเท็จคดีปืนลั่น - ประชาไท Prachatai.com
- ↑ กากีกะสีเขียว - ไทยโพสต์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ หน้า ๓๑ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ จนท.ปะทะเดือดกลุ่มก่อความไม่สงบ คนร้ายไม่ยอมมอบตัว เชื่อมโยงกรณีเหตุยิงแล้วเผา 3 ศพ
- ↑ 10.0 10.1 ทหารจ่อฟ้อง 'ผู้จัดการ' ปัดซ้อมผู้ต้องหา - มติชน
- ↑ "ผบ.ฉก.ปัตตานีนำทีมทำแผนยิงทหารพรานที่หนองจิก - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ 2019-01-23.
- ↑ เปิดใจ “พล.ต.คมกฤช รัตนฉายา” กับตำแหน่ง ผบ.ฉก.ปัตตานี เคยทำงานใน จชต.มาร่วม 30 ปี
- ↑ ทหารลั่นพิสูจน์แล้ว “คลิปฉาว” ของเก๊! นักวิชาการแนะรัฐเร่งทำให้ชาวบ้านอุ่นใจ
- ↑ จับเท็จพันโท-พลทหารคดีปืนลั่น - Manager Online
- ↑ เซ็นปรับย้ายโผผู้การกรมฯ-รองนายพล 113 ตำแหน่ง - เดลินิวส์
- ↑ ผบ.ทบ เซ็นปรับย้ายโผผู้การกรมฯ-รองนายพล 113 ตำแหน่ง - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ 17.0 17.1 ยึดอาวุธ 'เปเล่ดำ' ซุกสวนยาง หวั่นสมุนใช้แก้แค้น - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ สมช.งัด 3 ปมถามบีอาร์เอ็นบุกค้นรังเครือข่าย 'เปเล่ดำ' พบปืนอื้อ - South Deep Outlook
- ↑ 19.0 19.1 วิสามัญผู้ก่อเหตุ 4 ขณะปิดล้อมพื้นที่รือเสาะ - Voice TV
- ↑ 14:40 น. ปะทะโจรใต้ นราธิวาส ตาย 4 รวบตัวได้ 2 จนท.เจ็บ 1 - MThai News[ลิงก์เสีย]
- ↑ กล่อมไม่สำเร็จ! ยิงปะทะเดือดสายบุรี จนท.วิสามัญฯแนวร่วมป่วนใต้ดับ 2 ศพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๙๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔