กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อักษรย่อ: กกล.ทพ.จชต.;[27] อังกฤษ: Rangers forces of southern border provinces[28]) เป็นกองกำลังทหารพรานจำนวน 12 กรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้[29][30] ที่มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามการก่อกำเริบคอมมิวนิสต์ รวมทั้งความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[31] นับเป็นหนึ่งในกองกำลังที่เผชิญกับสงครามภายในที่ยาวนานที่สุด[32] นอกจากนี้ กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีสถานะเป็นกองบังคับการหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม[20]
ประวัติ
ก่อนจัดตั้งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้
หน่วยทหารพรานได้รับการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 เพื่อต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น โดยเป็นกำลังพลอาสาสมัครในแต่ละพื้นที่ เนื่องด้วยมีความเข้าใจในพื้นที่ ทำให้ง่ายในการต่อกรเชิงยุทธวิธีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเนื่องด้วยภารกิจของทหารพรานมักมีความเสี่ยงสูง การพัฒนาด้านขีดความสามารถแก่ทหารพรานจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง[1]
จัดตั้งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้
นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยทวีความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2547 กองทัพบกไทยได้เพิ่มจำนวนทหารพรานขึ้นถึงสามเท่า[31] ซึ่งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กกล.ทพ.จชต.) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีภารกิจในการบังคับบัญชาหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพราน (ฉก.ทพ.) รวมถึงเป็นกองบังคับการหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม[20]
การจัดตั้งกองกำลังเพิ่มเติม
ต่อมากระทรวงกลาโหมเสนอให้มีการจัดตั้งกองบังคับการกรมทหารพรานเพิ่มเติม 5 กรม โดยใช้วงเงิน 2,692 ล้านบาทเศษ ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 อันเป็นไปตามแผนถอนกำลังทหารหลัก โดยให้ทหารพรานที่เป็นกองกำลังถิ่นเข้าประจำการ โดยกองกำลังที่จัดตั้งเพิ่มเติมเพื่อทดแทนทหารหลักของกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 ได้แก่ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 11, 22 และ 33 และกองกำลังหลักได้แก่ กรมทหารพรานที่ 48 และ 49[29][33][34]
นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ เข้าเสริมการปฏิบัติงาน[35]
การปฏิบัติการ
กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีบทบาทในการสนธิกำลังร่วมกับทหาร,[36] ตำรวจ,[37] นาวิกโยธิน[10] และอาสารักษาดินแดน[36]
ในปี พ.ศ. 2561 เจ้าหน้าที่ทหารพรานได้ทำการป้องกันการบินสอดแนมจากอากาศยานไร้คนขับ หลังจากมีผู้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่ฐานปฏิบัติการชุดคุ้มครอง ที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ส่งผลให้อาสาสมัครทหารพรานและอาสาสมัครรักษาดินแดนได้รับบาดเจ็บ 2 นาย โดยได้ทำการยึด และสั่งยิงทำลาย กรณีที่มีการบินโดยไม่ขออนุญาต[38][39]
โครงสร้าง
แบ่งหน่วยเป็นระดับกรม โดยมีผู้บังคับการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ซึ่งเหมือนกับกรมทหารหลักทั่วไป แต่ไม่มีโครงสร้างระดับกองพัน กรมทหารพรานแต่ละกรมแบ่งออกเป็น 15 กองร้อย โดยมีการจัดการกองร้อยในแต่ละกรมไม่เหมือนกัน แต่ละกรมประกอบด้วยทหารหลัก และทหารพราน ซึ่งทหารหลักจะรับผิดชอบในตำแหน่งหลัก อันเสมือนเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ทหารพราน[1]
จากข้อมูลปี พ.ศ. 2555 เผยว่ามีทหารพรานเป็นบุคคลในพื้นที่ประมาณ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และทหารพรานหญิงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนร้อยเปอร์เซ็นต์[6]
กิจกรรมเพื่อสังคม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 กรมทหารพรานที่ 41 ได้ร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้วจากจังหวัดสมุทรสาคร, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้มีปัญหาด้านสายตา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,000 คน[40]
นอกจากนี้ กำลังพลจากกรมทหารพรานต่าง ๆ ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลายครั้ง อาทิ การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2560[41][42][43]
เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ
มอบให้แก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ หรือผู้มีอุปการคุณต่อกิจการทหารพราน เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีและเป็นเกียรติประวัติ[44]
- เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารพราน[45]
- เครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษทหารพรานจู่โจมกิตติมศักดิ์[45]
กองกำลัง
กองกำลังหลัก
ชื่อหน่วย
|
กองบัญชาการ
|
ผู้บังคับการ
|
กำลังพล
|
หมายเหตุ
|
กรมทหารพรานที่ 41
|
ค่ายวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา[21][29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดยะลา[1]
• ดูแลอำเภอรามัน จังหวัดยะลา[30]
• สนับสนุนการใช้อากาศยานไร้คนขับในภารกิจความมั่นคง[46]
|
กรมทหารพรานที่ 42
|
ค่ายมหาจักรีสิรินธร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา[29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสงขลา[1]
• ดูแลอำเภอยะหริ่ง และอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี[30]
|
กรมทหารพรานที่ 43
|
ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี[29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดปัตตานี (อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิก อำเภอแม่ลาน อำเภอยะรัง และอำเภอยะหริ่ง)[1]
• ดูแลอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี[30]
• ฉายาหน่วย เสือดำ
|
กรมทหารพรานที่ 44
|
อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดปัตตานีในอำเภอที่ติดกับจังหวัดนราธิวาส[1]
• ดูแลอำเภอสายบุรี, อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี[30]
• ฉายาหน่วย มังกรสีม่วง
|
กรมทหารพรานที่ 45
|
อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี[29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนราธิวาส[1]
• ดูแลอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส[30]
|
กรมทหารพรานที่ 46
|
พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส[29]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนราธิวาส[1]
• ดูแลอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส[30]
• ชาโน แพมเบอร์เกอร์ เข้าเป็นอาสาสมัครทหารพรานปี พ.ศ. 2561[47]
|
กรมทหารพรานที่ 47
|
ค่ายรัตนพล อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดยะลา[1]
• ดูแลอำเภอยะหา และอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา[30]
|
กรมทหารพรานที่ 48
|
ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4[29]
• ดูแลอำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส[30]
|
กรมทหารพรานที่ 49
|
วัดศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส[48]
|
|
1,489 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4[29]
• ดูแลอำเภอจะแนะ และอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส[30]
|
หมวดทหารพรานหญิง
|
|
|
467 นาย (พ.ศ. 2554)
|
• สังกัดกองทัพภาคที่ 4[1]
• ฉายาหน่วย ดอกไม้เหล็กชายแดนใต้[14][17]
|
กองกำลังทดแทน
ยุทโธปกรณ์
ยานพาหนะภาคพื้นดิน
อาวุธเล็ก
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กองกำลังหลัก | |
---|
กองกำลังทดแทน | |
---|