Share to:

 

จอห์น ฮอปฟีลด์

จอห์น ฮอปฟีลด์
ฮอปฟีลด์เมื่อปี 2016
เกิดจอห์น โจเซฟ ฮอปฟีลด์
(1933-07-15) 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1933 (91 ปี)
ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
การศึกษาวิทยาลัยสวาร์ธมอร์ (AB)
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (PhD)
มีชื่อเสียงจากโครงข่ายฮอปฟีลด์
โครงข่ายฮอปฟีลด์สมัยใหม่
ฮอปฟีลด์ไดอิเล็กทริก
โพลาริตอน
คิเนติกพรุฟรีดดิง
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
อณูชีววิทยา
ระบบเชิงซ้อน
ประสาทวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงานเบลล์แล็บส์
มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
แคลเทค
วิทยานิพนธ์A quantum-mechanical theory of the contribution of excitons to the complex dielectric constant of crystals (1958)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกแอลเบิร์ต โอเวอร์ฮาวเซอร์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกสตีเวน เกอร์วิน
แบร์ทรันด์ ฮัลเพริน
เดวิด เจ ซี แม็กเคย์
โฌเซ โอนูชิก
แทรี เซยโนวสกี
เอริก วินฟรี

จอห์น โจเซฟ ฮอปฟีลด์ (อังกฤษ: John Joseph Hopfield; เกิด 15 กรกฎาคม 1933)[1] เป็นนักฟิสิกส์ชาวสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดจากผลงานการศึกษาโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชื่อมโยง ในปี 1982 และในฐานะผู้พัฒนาโครงข่ายฮอปฟีลด์

ในปี 2024 ฮอปฟีลด์และเจฟฟรีย์ ฮินตัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากบทบาทในการพัฒนาระดับรากฐานของการเรียนรู้ของเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงข่ายประสาทเทียม[2][3] เขามีผลงานโดดเด่นในพหุสาขา รวมทั้ง ฟิสิกส์สสารควบแน่น, ฟิสิกส์เชิงสถิติ และ ชีวฟิสิกส์

ฮอปฟีลด์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1973, สถาบันศิลปวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1975 และสมาคมปรัชญาอเมริกันในปี 1988[4][5][6] ในปี 1985 เขาได้รับรางวัลโกลด์เพลตอวอร์ด (Golden Plate Award) จากสถาบันความสำเร็จอเมริกัน[7] และรางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เวิลด์อวอร์ด ในปี 2005 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ[8] เขาดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฟิสิกส์อเมริกันในปี 2006[9]

อ้างอิง

  1. "Hopfield, John J." Physics History Network American Institute of Physics. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
  2. "Press release: The Nobel Prize in Physics 2024". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
  3. Taylor, D.B.; และคณะ (2024-10-08), "Nobel Physics Prize Awarded for Pioneering A.I. Research by 2 Scientists", The New York Times, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024, สืบค้นเมื่อ 2024-10-08
  4. "John J. Hopfield". www.nasonline.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2019. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
  5. "John Joseph Hopfield". American Academy of Arts & Sciences. October 12, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2024. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
  6. "APS Member History". search.amphilsoc.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2023. สืบค้นเมื่อ May 24, 2020.
  7. "Golden Plate Awardees of the American Academy of Achievement". www.achievement.org. American Academy of Achievement. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2016. สืบค้นเมื่อ June 26, 2020.
  8. "Albert Einstein World Award of Science 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ August 13, 2013.
  9. "John Hopfield, Array of Contemporary Physicists". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
Kembali kehalaman sebelumnya