เพเทอร์ กรืนแบร์ค
เพเทอร์ อันเดรอัส กรืนแบร์ค (เยอรมัน: Peter Andreas Grünberg) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ซึ่งเป็นที่มาของการทะลวงฝ่าอุปสรรคในการสร้างฮาร์ดดิสก์ความจุระดับจิกะไบต์ [1] กรืนแบร์คได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับอาลแบร์ แฟร์ นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สำหรับการค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ของพวกเขา ชีวิตในช่วงต้นและครอบครัวกรืนแบร์คเกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ที่เมืองเปิลเซ็ญ (ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเช็กเกีย) เป็นบุตรของวิศวกร หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาได้ย้ายไปยังเมืองเลาเทอร์บัคในรัฐเฮ็สเซิน และเพเทอร์ก็ได้เข้ารับการศึกษาในยิมเนเซียมในเมืองนั้น กรืนแบร์คได้รับประกาศนียบัตรระดับกลางใน พ.ศ. 2505 จากมหาวิทยาลัยเกอเทอแห่งแฟรงก์เฟิร์ต จากนั้นเขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเทคนิคดาร์มชตัทในเยอรมนี ที๋ซึ่งเขาได้รับประกาศนียบัตรทางฟิสิกส์ ใน พ.ศ. 2509 และปริญญาดุษฎีบัณฑิตใน พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นเขาได้เข้าทำงานที่สถาบันสำหรับฟิสิกส์สถานะของแข็งที่ศูนย์วิจัยยือลิช ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้เขาได้เป็นผู้วิจัยนำในสาขาสภาพแม่เหล็กจนกระทั่งเกษียณใน พ.ศ. 2547 งานวิจัยที่สำคัญใน พ.ศ. 2529 เขาได้ค้นพบชั้นแม่เหล็กอย่างแรง (ferromagnetic layers) ที่มีการเข้าคู่แลกเปลี่ยน (exchange coupling) ของสภาพต่อต้านเชิงขนาน (antiparallel) และใน พ.ศ. 2531 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ความต้านทานแม่เหล็กขนาดยักษ์ (giant magnetoresistive effect ชื่อย่อ GMR) ในชั้นแม่เหล็กหลายชั้นที่เข้าคู่กันในลักษณะนั้น [2] ปรากฏการณ์นี้ได้ถูกค้นพบขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยอาลแบร์ แฟร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส-ซูด (Université de Paris Sud) งานของกรืนแบร์คทำให้เขาได้รับรางวัลร่วมหลายรางวัล ได้แก่ รางวัลระหว่างประเทศสำหรับวัสดุใหม่ของสมาคมฟิสิกส์อเมริกัน, รางวัลสภาพแม่เหล็กจากสหภาพฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ระหว่างประเทศ, รางวัลฮิวเล็ตต์-เพคคาร์ด ยูโรฟิสิกส์, รางวัลวุล์ฟ สาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2549/2550 และรางวัลญี่ปุ่น พ.ศ. 2550 ก่อนจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปีเดียวกัน นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติของเยอรมนี คือ รางวัลอนาคตเยอรมัน พ.ศ. 2541 สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกด้วย ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|