ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.[1] จิรนิติ หะวานนท์ (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย[2]
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2518
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2519
- ปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.) Harvard Law School สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2521
- ปริญญาเอกทางกฎหมาย (S.J.D.) George Washington University สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2525
- ผู้พิพากษาจังหวัดขอนแก่น ศาลจังหวัดขอนแก่น (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2529)
- ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการผู้พิพากษาศาลแพ่ง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2539)
- เลขานุการศาลฎีกา (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2547)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[6] - พ.ศ. 2550)
- ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2558)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (พ.ศ. 2557)
- ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา (พ.ศ. 2561)
- กรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2562)
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (1 เมษายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
ตำแหน่งทางวิชาการ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายจิรนิติ หะวานนท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ศาสตราจารย์พิเศษ จิรนิติ หะวานนท์ ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 (1) จากนั้นวุฒิสภามีการลงมติลับในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยที่ประชุมวุฒิสภา ลงมติเห็นชอบ 217 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง[7] และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ศาสตราจารย์พิเศษ จิรนิติ หะวานนท์ ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ [จำนวน ๔ ราย ๑. นายจิรนิติ หะวานนท์ ฯ], เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง หน้า ๑๖, ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (จำนวน ๖ ราย ๑. นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ฯลฯ), เลม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๗๙ ง, ๖ เมษายน ๒๕๖๓
- ↑ สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], หน้า 9-10
- ↑ "นายจิรนิติ หะวานนท์". www.constitutionalcourt.or.th.
- ↑ 5.0 5.1 การคัดเลือกผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เก็บถาวร 2023-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า 38-53
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตร ีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ง, ๑๑ มกราคม ๒๕๕๐
- ↑ "ส.ว.ลงมติลับเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ 4 คน". workpointTODAY.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๕๘, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๔, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2021-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๓๐ เมษายน ๒๕๔๖
|
---|
คณะตุลาการชุดปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) | |
---|
อดีตตุลาการ | |
---|
ตัวหนา หมายถึง ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ **หมายเหตุ : ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ แต่กำหนดให้มี "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษาในศาลฎีกาจำนวนห้าคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน |