นายเชาวน์ สายเชื้อ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ (23 ธันวาคม พ.ศ. 2472 - 19 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์
การศึกษา
การทำงาน
- เอกอัครราชทูต ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2520 – 2524
- เอกอัครราชทูต ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2527 – 2530
- ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (11 เมษายน พ.ศ. 2541 – 23 กันยายน พ.ศ. 2542)
ผลงานที่เป็นที่จดจำ
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในชุดที่นายเชาว์เป็นประธานนั้น ได้มีมติตัดสินให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น ต้องยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากคดีความผิดฐานจงใจแสดง บัญชทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 295 [1]
ชีวิตส่วนตัว
นายเชาวน์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน (แซ่เซีย) เกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด[2] มีบุตรชายคนหนึ่งที่มีชื่อเสียง คือ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1
- ↑ "กลุ่มชาติพันธุ์:ร้อยเอ็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-15. สืบค้นเมื่อ 2010-11-04.
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๕, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
|
---|
คณะตุลาการชุดปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) | |
---|
อดีตตุลาการ | |
---|
ตัวหนา หมายถึง ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ **หมายเหตุ : ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ แต่กำหนดให้มี "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษาในศาลฎีกาจำนวนห้าคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน |