ประวัติและผลงาน|
ปี |
ทีม |
ลงเล่น |
(ประตู) |
---|
1978-1981 |
ราชประชา เอฟซี |
51 |
(8) |
---|
|
1976 |
ไทย (ชุดบี) |
? |
(?) |
---|
|
1991–2000 |
ธนาคารกสิกรไทย |
---|
1996–1997 |
ไทย (ยู-16 ปี) |
---|
1998 |
ไทย (ยู-19 ปี) |
---|
2000–2002 |
ไทย (ยู-20 ปี) |
---|
2001 |
ไทย (หญิง) |
---|
2004 |
ไทย (หญิง) |
---|
2004 |
ไทย (ยู-20 ปี) |
---|
2005–2006 |
ไทย (ยู-23 ปี) |
---|
2005–2008 |
ไทย |
---|
|
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
ชาญวิทย์ ผลชีวิน (ชื่อเล่น ตุ๋ย) หรือ โค้ชหรั่ง เป็นอุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ อดีตรองอธิบดีกรมพลศึกษา อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย ในช่วงปี 2547-2550 โดยรับตำแหน่งต่อจาก ซีคฟรีท เฮ็ลท์ เมื่อ พ.ศ. 2547 โดยก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2536, พ.ศ. 2537 เคยพาทีมสโมสรธนาคารกสิกรไทย คว้าแชมป์ฟุตบอลเอเชียนแชมเปียนส์คัพ (ฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์เอเชีย) สองสมัยติดต่อกัน และพาทีมเยาวชน 17 ปีของไทย ไปเล่นฟุตบอลเยาวชนโลกเป็นครั้งแรกที่อียิปต์ ในปี พ.ศ. 2540
ชาญวิทย์สามารถนำทีมชาติไทย ชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี คว้าแชมป์กีฬาซีเกมส์ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2548 และคว้าแชมป์ฟุตบอล 4 เส้าอกรีแบงก์คัพ ที่เวียดนามในปี พ.ศ. 2549 พาทีมชาติไทยชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 ที่ประเทศกาตาร์ ก่อนแพ้ทีมชาติกาตาร์ 0-3 ต่อมาในปีเดียวกัน พาทีมชาติไทยชุดใหญ่ คว้าแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2006 โดยในนัดชิงชนะเลิศ สามารถเอาชนะทีมชาติเวียดนาม 3-1[1]
ชาญวิทย์ ผลชีวิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[2]
เกียรติประวัติ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
สโมสร
- ธนาคารกสิกรไทย
ทีมชาติไทย
เกียรติประวัติส่วนบุคคล
- ผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมของเอเชียประจำปี : 1994
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ ข่าวการซื้อตัวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๙๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น