Share to:

 

ชิบายามะ

ชิบายามะ

芝山町
สำนักงานเมืองชิบายามะ
สำนักงานเมืองชิบายามะ
ธงของชิบายามะ
ธง
ที่ตั้งของชิบายามะในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของชิบายามะในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
ชิบายามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ชิบายามะ
ชิบายามะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°42′N 140°25′E / 35.700°N 140.417°E / 35.700; 140.417
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดชิบะ
อำเภอซัมบุ
พื้นที่
 • ทั้งหมด43.47 ตร.กม. (16.78 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ธันวาคม 2020)
 • ทั้งหมด7,122 คน
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (420 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้ยามาซากูระ (Prunus jamasakura)
โทรศัพท์0479-77-3901
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ชิบายามะ (ญี่ปุ่น: 芝山町โรมาจิShibayama-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น[1] ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 7,122 คน 3,030 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 160 คนต่อตารางกิโลเมตร[2] และมีพื้นที่ทั้งหมด 43.47 ตารางกิโลเมตร (16.78 ตารางไมล์)

ภูมิศาสตร์

ชิบายามะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ ห่างจากเมืองเอกของจังหวัดชิบะ นครชิบะ ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียว 50 ถึง 60 กิโลเมตร เมืองนี้เป็นพื้นที่ที่เป็นเนินเขาซึ่งตั้งอยู่เกือบใจกลางที่ราบสูงชิโมซะ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองที่อาณาเขตระหว่างเมืองชิบายามะและนครนาริตะ สถานที่ให้บริการของสนามบินส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ฝั่งนาริตะ แต่อย่างไรก็ตามชิบายามะก็ได้มีการพัฒนาฐานอุตสาหกรรมในท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการมีสนามบินและมีพื้นที่อุตสาหกรรมหลักตั้งอยู่สามแห่ง ส่วนที่เหลือของเมืองเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยนาข้าวและพื้นที่ปลูกผัก[3] เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่บนหนึ่งในเส้นทางหลักที่ไปยังสนามบิน ประกอบกับปัญหามลภาวะทางเสียงและการเวนคืนที่ดิน ทำให้ที่นี่กลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวต่อต้านสนามบิน[1]

เทศบาลข้างเคียง

จังหวัดชิบะ

ภูมิอากาศ

ชิบายามะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในชิบายามะคือ 14.7 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1517 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.9 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 4.7 °C[4]

สถิติประชากร

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของชิบายามะได้ลดลงหลังจากขึ้นสูงสุดในทศวรรษ 1950

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 8,506—    
1930 8,840+3.9%
1940 9,150+3.5%
1950 11,002+20.2%
1960 9,969−9.4%
1970 8,198−17.8%
1980 7,971−2.8%
1990 8,347+4.7%
2000 8,401+0.6%
2010 7,922−5.7%

ประวัติศาสตร์

เมืองชิบายามะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1955 โดยการรวมหมู่บ้านชิโยดะและหมู่บ้านนิกาวะ[1][3]

การปกครอง

ชิบายามะมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 12 คน เมืองชิบายามะ รวมทั้งนครซัมมุ และเทศบาลอื่นในอำเภอซัมบุ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 2 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

ในปี 2007 บริษัทนิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์ (Nippon Cargo Airlines) ได้ลงนามคำสั่งซื้อกับบริษัทไทเซคอร์ปอเรชั่น (Taisei Corporation) ในการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมลูกเรือ การก่อสร้างศูนย์ลูกเรือซึ่งตั้งอยู่ในชิบายามะเริ่มในเดือนกันยายน 2007 และทางบริษัทมีกำหนดการให้โรงงานแห่งนี้เปิดดำเนินการในเดือนกันยายน 2008[6]

การศึกษา

ชิบายามะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 1 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง และเมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย

การขนส่ง

รถไฟ

ทางหลวง

สถานที่ท่องเที่ยว

ฮานิวะแห่งชิบายามะ

รูปปั้นดินเผาฮานิวะรูปไก่ในยุคโคฟุง จากพิพิธภัณฑ์ชิบายามะโคฟุงฮานิวะ

ฮานิวะ ซึ่งเป็นวัตถุที่ทำจากดินเผาในยุคโคฟุง (ค.ศ. 250–538) ได้รับการกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชิบายามะ ได้มีการตั้งชื่อถนนสายหลักแนวเหนือ-ใต้ในเมืองชิบายามะ หรือทางหลวงจังหวัดหมายเลข 62 โดยให้ชื่อว่า "ถนนฮานิวะ" และมีรูปปั้นฮานิวะจำลองขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ ฮานิวะนี้มาจากเนินฝังศพหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในชิบายามะ[7] ส่วนใหญ่มาจากชิบายามะโคฟุงกุง[8] เมืองชิบายามะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ชิบายามะโคฟุงฮานิวะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับชิบายามะโคฟุงกุง

เทศกาลชิบายามะฮานิวะจัดขึ้นทุกปีในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เทศกาลนี้เริ่มขึ้นในปี 1982 ซึ่งจัดตลอดทั้งวันโดยมีขบวนของผู้ใหญ่ที่แต่งกายเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นในยุคโคฟุง เด็กประถมและมัธยมต้นแต่งตัวเป็นโคไดจิน (ญี่ปุ่น: 古代人โรมาจิkodaijin) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายว่า "คนโบราณ" และเทศกาลจะสิ้นสุดในตอนมืดค่ำโดยมีกองไฟที่ศาลเจ้าชิบายามะคูมาโนะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพิธีศพของผู้ปกครองท้องถิ่นในยุคโคฟุง[9]

วัดชิบายามะนิโอซง

วัดคันนงเกียวจิ เป็นวัดพุทธนิกายเท็นได เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในเมืองในชื่อ วัดชิบายามะนิโอซง วัดแห่งนี้มีเจดีย์ 3 ชั้น โดยเจดีย์แห่งนี้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดชิบะ และภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงฮานิวะ ตลอดจนงานศิลปะและโบราณวัตถุทางศาสนา[10]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • ชิโร อิชิอิ (石井 四郎) - ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามชีวภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และอาชญากรสงคราม
  • เทอิจิ ซูซูกิ (鈴木 貞一) - นายพลของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และนักการเมือง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Shibayama-machi". Nihon Rekishi Chimei Taikei (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  2. "Shibayama town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  3. 3.0 3.1 "Shibayama-machi". Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  4. Shibayama climate data
  5. Shibayama population statistics
  6. "Accelerated progress toward independent operations "Order placed for construction of a crew training center and an engineering & maintenance hangar"." (Archive) Nippon Cargo Airlines. Retrieved on February 20, 2012.
  7. "Shibayama Kofungun". Nihon Kokugo Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  8. "Shibayama Kofungun". Kokushi Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  9. "Haniwa-matsuri" [Haniwa Museum Festival] (ภาษาญี่ปุ่น). Shibayama, Chiba Prefecture: Shibayama Chōritsu Shibayama Kofun Haniwa Hakubutsukan. สืบค้นเมื่อ May 9, 2012.
  10. "Shibayama Niōson" (ภาษาญี่ปุ่น). Shibayama, Chiba Prefecture: Shibayama Niōson Kannonkyō-ji. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ May 9, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya