Share to:

 

ซีกท้องฟ้าใต้

แผนที่ดาวบริเวณซีกท้องฟ้าใต้
โลกที่หมุนภายในทรงกลมท้องฟ้า จะเห็นว่าเส้นศูนย์สูตรของโลกอยู่ภายในเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าเสมอ

ซีกท้องฟ้าใต้ หรือ ซีกฟ้าใต้ (อังกฤษ: southern celestial hemisphere หรือ Southern Sky) คือ ส่วนของพื้นที่ในดาราศาสตร์ที่หมุนไปในทรงกลมท้องฟ้า เป็นส่วนครึ่งทรงกลมที่อยู่ทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า

ในการทำแผนที่ท้องฟ้า นักดาราศาสตร์มองว่าท้องฟ้าเป็นเสมือนภายในของทรงกลมที่ถูกแบ่งครึ่งด้วยเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า แม้ว่าเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าจะสอดคล้องกับเส้นศูนย์สูตรของโลกบนเส้นโครงแผนที่ แต่ก็ไม่ควรจะสับสนระหว่างซีกท้องฟ้าใต้กับซีกโลกใต้ และซีกท้องฟ้าเหนือกับซีกโลกเหนือ

การสังเกตการณ์

ในซีกท้องฟ้าใต้ ผู้สังเกตการณ์สามารถมองเห็นดาวประมาณ 2,000 ดวงในทัศนวิสัยที่ดีได้อย่างสบาย ๆ และระหว่าง 20,000 ถึง 40,000 ดวงด้วย กล้องสองตา ในเมืองใหญ่ สามารถมองเห็นดาวได้ประมาณ 300 ถึง 500 ดวงเท่านั้น เนื่องจาก แสงรบกวน และ มลพิษทางอากาศ ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บนซีกโลกเหนือไกลจากเส้นศูนย์สูตรออกไปจะมองเห็นท้องฟ้าทางใต้ได้น้อยลง

ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดคือดาวโจร ซึ่งมีโชติมาตรปรากฏ -1.5 อยู่ในซีกท้องฟ้าใต้ ส่วนดาวคาโนปุสที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองและดาวแอลฟาคนครึ่งม้าก็ล้วนอยู่บนซีกท้องฟ้าใต้ โดยทั้ง 2 ดวงนี้อยู่ค่อนไปทางใต้มาก ที่เดคลิเนชัน 60 องศาใต้ ซึ่งใกล้กับขั้วโลกใต้ของท้องฟ้ามาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะพบเห็นได้จากผู้สังเกตการณ์ในยุโรปกลาง[1]

ซีกท้องฟ้าใต้เป็นที่รู้จักค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับซีกท้องฟ้าเหนือที่เป็นที่รู้จักโดยละเอียดมาเป็นเวลานานแล้ว โดยซีกท้องฟ้าใต้มีการทำแผนที่ดาวอย่างละเอียดโดยเอ็ดมันด์ แฮลลีย์[2] ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1679[3]

อ้างอิง

  1. David Ellyard, Wil Tirion: The Southern Sky Guide. Cambridge Univ. Press, Cambridge 2009, ISBN 978-0-521-71405-1
  2. "Edmond Halley (1656–1742)". BBC. 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Kanas, Nick (2012). Star Maps: History, Artistry, and Cartography (2nd ed.). Chickester, UK: Springer. p. 123. ISBN 978-1-4614-0917-5.
Kembali kehalaman sebelumnya