Share to:

 

ตรีพล เจาะจิตต์

ตรีพล เจาะจิตต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–2567)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรีพล เจาะจิตต์ (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ

ตรีพล เจาะจิตต์ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ สิบตำรวจเอก ลาบ กับ นางเล็ก เจาะจิตต์[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ กสิกรรมและสัตวบาลมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สาขาวิทยาศาสตร์ทางด้านโคนม และการผลิตภัณฑ์นม จาก University of Tennessee ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตรีพลได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์พิเศษของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ควบคู่ไปกับการศึกษาในระดับปริญญาโทใบแรก จนเมื่อจบการศึกษา ตรีพลได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาเขตเกษตรศาสตร์ นครศรีธรรมราช รวมไปถึงรับราชการเป็นอาจารย์ โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนมาทำงานด้านการเมือง ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

งานการเมือง

ตรีพล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะได้รับเลือกติดต่อกันรวม 5 สมัย

พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตรีพล เจาะจิตต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกวุฒิสภา

ตรีพล เจาะจิตต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 จังหวัดนครศรีธรรมราช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. ณรงค์ บุญสวยขวัญ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2548
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
Kembali kehalaman sebelumnya