Share to:

 

ตำบลท่าพริก

ตำบลท่าพริก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Tha Phrik
ป่าชายเลนปากคลองท่าพริก
ป่าชายเลนปากคลองท่าพริก
ประเทศไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด31.90 ตร.กม. (12.32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,373 คน
 • ความหนาแน่น137.08 คน/ตร.กม. (355.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 23000
รหัสภูมิศาสตร์230110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าพริก เป็นตำบลในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยมีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย เป็นชุมชนที่รองรับในด้านแหล่งที่อยู่อาศัยของเมืองตราด

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลท่าพริกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ป่าชายเลนปากคลองท่าพริก

ประวัติ

ตำบลท่าพริก เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอบางพระ จังหวัดตราด[3] ชื่อ "ท่าพริก" มาจากเดิมตรงท่าน้ำศาลเจ้าพ่อท่าพริก มีต้นพริกใหญ่ขึ้นอยู่หนึ่งต้นลำต้นสูงใหญ่มาก ครั้นต้องการเก็บเมล็ดพริกไปรับประทานต้องใช้ไม้สอยหรือใช้เก้าอี้มารองรับ ประกอบกับท่าน้ำแห่งนี้เป็นบริเวณที่ชาวบ้านใช้เป็นท่าน้ำเทียบเรือสินค้า มีเรือใบลำใหญ่บรรทุกสินค้า เช่น มูลเป็ด มูลไก่ กากปลา หรือสินค้าอื่นที่ชาวบ้านหาได้นำมาขายที่นี่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ท่าพริก[4] ปี พ.ศ. 2490 ขุนสนิทประชาราษฎร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้แยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านจันทิ, หมู่ 6 บ้านเสม็ดแดง, หมู่ 7 บ้านท่ากุ่ม และหมู่ 8 บ้านทุ่งไก่ดัก ของตำบลท่าพริก รวม 4 หมู่บ้าน ไปตั้งเป็น ตำบลท่ากุ่ม[5]

ปี พ.ศ. 2534 นายอมร อนันตชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ร่วมกับกำนันตำบลสามชุก ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ตำบลท่าพริก และตำบลเนินทราย โดยเฉพาะชุมชนท่าพริกเป็นที่ชุมนุมชนหนาแน่น มีตลาด สถานีอนามัย จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลท่าพริก ในปี พ.ศ. 2536[6] และตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[7] ด้วยผลของกฎหมาย

ปี พ.ศ. 2546 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพริกมีพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ประชากร 1,443 คน และมี 474 ครัวเรือน[8] บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย โดยส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีสภาพไม่เข้าองค์ประกอบความเป็นหมู่บ้าน จึงพิจารณาให้รวมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพริกเข้ากับเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย ในปี พ.ศ. 2547[9] ทำให้ตำบลท่าพริกอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทรายทั้งหมด

การแบ่งเขตการปกครอง

ตำบลท่าพริกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านกลาง
  • หมู่ที่ 2 บ้านท่าพริก
  • หมู่ที่ 3 บ้านไร่พรง
  • หมู่ที่ 4 บ้านตรอกแซง
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองน้ำจืด
  • หมู่ที่ 6 บ้านคลองนา

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย (เฉพาะเขตตำบลท่าพริก) อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 38 ง): 1–35. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 160–162. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2467
  4. ประวัติตำบลท่าพริก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าพริก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 27-28. วันที่ 23 สิงหาคมพ.ศ. 2536
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  8. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลท่าพริก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย) อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 19–21. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
Kembali kehalaman sebelumnya