เทศบาลเมืองตราด
เทศบาลเมืองตราด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ตั้งอยู่ริมแม่น้ำตราดใกล้บริเวณปากแม่น้ำ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบางพระทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลวังกระแจะ จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลเมืองในปี พ.ศ. 2478[2] ซึ่งเดิมเคยมีสถานะเป็นสุขาภิบาลเมืองตราด ตราเทศบาลเมืองตราด เป็นรูปพระอาทิตย์เริ่มขึ้น โดยเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า เมืองตราดนั้นเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมชายทะเล และยังมีการใช้เรือเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทางทะเล ค้าขาย รวมถึงการประมงอีกด้วย เทศบาลเมืองตราดเป็นที่ตั้งของสโมสรฟุตบอลตราดที่เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นครั้งแรกหลังจบฤดูกาล 2561 เศรษฐกิจในเขตเทศบาลเมืองตราดประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ยของประชากร คือ 65,407 บาทต่อคนต่อปี ถือเป็นอันดับที่ 7 ของภาคตะวันออก และอันดับที่ 27 ของประเทศ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานสถิติจังหวัดตราด) ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานพานิชกรรมหลากหลายโดยแบ่งเป็น สถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ตลาดสด 5 แห่ง โดยแบ่งเป็นตลาดสดเทศบาล 3 แห่ง และตลาดสดเอกชน 2 แห่ง ร้านค้าทั่วไป(โชห่วย)จำนวนมาก และมีสถานธนานุบาล 1 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานบริการมากมาย โดยแบ่งเป็น โรงแรม 4 แห่ง จำนวนห้องพักรวม 379 ห้อง ธนาคาร 6 แห่ง ร้านค้าอาหารที่ขึ้นทะเบียนพ.ร.บ.สาธารณสุข 37 แห่ง และมีสถานบริการประเภทเกซเฮาท์บริเวณถนนธนเจริญจำนวนมาก ประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีประชากรทั้งสิ้น 10,517 คน แยกเป็นชาย 5,053 คน หญิง 5,518 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวม 7,975 คน จำนวนบ้านทั้งสิ้น 4,992 หลัง จำนวนครัวเรือน 4,992 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 4,195 คน ต่อตารางกิโลเมตร อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ปี 2547 – 2548 (ลดลง) ร้อยละ 3.14 ชุมชนของเทศบาลเมืองตราดปกครอง2ตำบลคือตำบลบางพระและตำบลวังกระแจะมีจำนวนบ้าน2241หลังคาเรือนจำนวนประปาชากรในเขตเทศบาล8060ดนจำนวนประชากรชาย3783คนจำนวนประชากรหญิง4277เมื่อวันที่อาทิตย์29ตุลาคม2564มีจำนวน 7 ชุมชน คือ
-#แก้ไขเพิ่มเติมโดย#สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองตราด ในเขตเทศบาลเมืองตราดมีประชากรนับถือศาสนา 3 ศาสนา คือ
การศึกษาในเขตเทศบาลเมืองตราดมีสถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง มีการบริการการศึกษาอย่างทั่วถึงและเพียงพอตั้งแต่ระดับ อนุบาล ถึง ปวส.
การขนส่งเทศบาลเมืองตราดมีถนนที่สำคัญทั้งหมด 20 สาย โดยเป็นถนนแบบแอสฟอลต์คอนกรีตทั้งหมด โดยมีถนนที่ยาวที่สุด คือ ถนนสุขุมวิท (8.50 กิโลเมตร) ถนนท่าเรือจ้าง (1.25 กิโลเมตร) และถนนหลักเมือง (1.22 กิโลเมตร) การขนส่งมวลชน รถโดยสารแบบปรับอากาศและรถตู้ที่ผ่านเทศบาลเมืองตราดมี 3 สาย สาย ตราด-กรุงเทพ(เอกมัย,หมอชิต,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) แหลมงอบ-ฉะเชิงเทรา แหลมงอบ-นครราชสีมาและ แหลมงอบ-แม่สอด และมีบริการรถสองแถวจากเทศบาลเมืองตราดไปยังที่ต่างๆในจังหวัดตราด การสื่อสารในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดตราด จำนวน 1 แห่ง สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 4 สถานี คือ
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มี 3 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์ประชามติ หนังสือพิมพ์ตราดเดลี่ หนังสือพิมพ์ไทบูรพา ทั้ง 3 ฉบับ ออกรายปักษ์ เผยแพร่ข่าวของจังหวัดตราด โดยทั่วไประบบเสียงตามสายของเทศบาลให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 90 โทรศัพท์ส่วนบุคคลในเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 6,534 เลขหมาย แยกเป็นบ้านพักอาศัย 5,363 เลขหมาย ส่วนราชการ 371 เลขหมาย ธุรกิจ 699 เลขหมาย กิจการขององค์การโทรศัพท์ 101 เลขหมาย และมีโทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาล ฯ จำนวน 276 เลขหมาย ข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่มี 3 แห่ง คือ จังหวัดตราด ตำรวจภูธรอำเภอเมืองตราด และเทศบาลเมืองตราด ประเพณี
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาลส่วนมากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ตราด |