Share to:

 

ตุ่มรับรส

ตุ่มรับรส
(Taste buds)
แผนภาพแสดงเยื่อเมือกของลิ้นส่วนหนึ่ง โดยมีปุ่มรูปเห็ด (fungiform papillæ) 2 ปุ่ม ที่ปุ่มรูปด้าย (filiform papillæ) บางปุ่ม ส่วนยื่นของเยื่อบุผิวจะตั้งตรง ที่ปุ่มหนึ่ง พวกมันแผ่ออก ที่ปุ่ม 3 ปุ่ม มันม้วนเข้า
ตุ่มรับรส]]
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินcaliculus gustatererius
MeSHD013650
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_4101
TA98A15.4.00.002
TA27037
THH3.04.01.0.02116, H3.04.01.0.03013
FMA54825
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ตุ่มรับรส[1] (อังกฤษ: Taste buds) เป็นโครงสร้างรูปลูกเลมอน/หัวกระเทียมที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อบุผิวและประกอบด้วยเซลล์รับรส 40-60 เซลล์[2][3] ซึ่งก็จะมีหน่วยรับรส (taste receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์อันทำให้สามารถรับรู้รสชาติ ตุ่มรับรสจะอยู่ที่ปุ่ม (papillae) ของผิวลิ้น ที่เพดานอ่อน ที่หลอดอาหารส่วนบน ที่แก้ม และที่ฝากล่องเสียง โดยเฉลี่ยแล้ว ลิ้นมนุษย์จะมีตุ่มรับรส 2,000-8,000 ตุ่ม[4] และแต่ละตุ่มจะมีเซลล์รับรสซึ่งอยู่ร่วมกับเซลล์ค้ำจุนกับเซลล์ต้นกำเนิดที่ฐาน (basal stem cell)[2]

โครงสร้างเหล่านี้มีบทบาทในการรับรู้รสหลัก ๆ 5 อย่าง คือ เค็ม เปรี้ยว ขม หวาน และอุมะมิ ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะเป็นรสชาติของสิ่งที่อยู่ในปาก มีข่าวลอยว่า มีส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่รับรสโดยเฉพาะ ๆ แต่ความจริงลิ้นทั้งหมดสามารถรับรสได้ทุกรส ผ่านช่องเล็ก ๆ ในเนื้อเยื่อของลิ้นซึ่งเรียกได้ว่า รูรับรส (taste pore) โดยอาหารบางส่วนจะละลายในน้ำลาย ท่วมรูรับรส แล้วทำให้ถูกกับหน่วยรับรส[5] เซลล์รับรสจะเป็นตัวส่งข้อมูลที่ได้จากหน่วยรับรสและช่องไอออนกลุ่มต่าง ๆ ไปยังเปลือกสมองส่วนรับรส (gustatory cortex) ผ่านประสาทสมองคือเส้นประสาทเฟเชียล (7), เส้นประสาทลิ้นคอหอย (9), และเส้นประสาทเวกัส (10)

ถึงกระนั้น ลิ้นบางส่วนก็ยังอาจไวรสหนึ่ง ๆ มากกว่ารสอื่น ๆ คือ[6]

  • ปลายลิ้นจะไวรสหวานมากที่สุด
  • ข้าง ๆ ลิ้นจะไวรสเปรี้ยวและรสเค็ม
  • ด้านหลังลิ้น (ที่ปุ่มเซอร์คัมแวลเลต) จะไวรสขมมากที่สุด

ปุ่มลิ้น

ตุ่มรับรสบนลิ้นจะอยู่บนผิวที่นูนขึ้นของลิ้นซึ่งเรียกว่า ปุ่มลิ้น (lingual papilla) ซึ่งแม้มีทั้งหมด 4 ประเภท แต่เพียง 3 ประเภทเท่านั้นจะมีตุ่มรับรสบนลิ้นมนุษย์

  • ปุ่มรูปเห็ด (fungiform papillae) เป็นปุ่มที่ดูเหมือนเห็ดถ้ามองเมื่อตัดตามยาว ซึ่งโดยมากจะอยู่ที่ผิวลิ้นทางด้านหน้าและด้านข้าง และจะส่งกระแสประสาทไปทางเส้นประสาทเฟเชียล
  • ปุ่มรูปใบไม้ (foliate papillae) เป็นสันและร่องขนานที่อยู่ทางด้านหลังของลิ้นตามขอบ ๆ ปุ่มทางด้านหน้าจะส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทเฟเชียล (VII) และปุ่มทางด้านหลังจะส่งไปตามเส้นประสาทลิ้นคอหอย (IX)
  • ปุ่มเซอร์คัมแวลเลต หรือปุ่มล้อมด้วยกำแพง (circumvallate papillae) ซึ่งมนุษย์โดยมากจะมีระหว่าง 10-14 ปุ่ม จะอยู่ที่ด้านหลังของลิ้น โดยจะเรียงกันเป็นแถวหนึ่งที่แต่ละข้างของลิ้นติดกับด้านหน้าของ sulcus terminalis เฉียงไปทางด้านหลังและประจบกันที่เส้นกลางเป็นรูปตัว V เป็นปุ่มที่สัมพันธ์กับ Von Ebner's glands และส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทลิ้นคอหอย (IX)

ปุ่มลิ้นแบบที่สี่ คือ ปุ่มรูปเส้นด้าย (filiform papillae) แม้มีจำนวนมากที่สุดแต่ก็ไม่มีตุ่มรับรส[7] เป็นปุ่มที่มีเคอราทิน (keratin) มากกว่าประเภทอื่น ๆ จึงค่อนข้างแข็งและมีบทบาทในการทำให้ลิ้นสาก

ตุ่มรับรส

ตุ่มรับรสที่ปุ่มลิ้นสามารถแยกแยะรสชาติต่าง ๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่มีกับโมเลกุลหรือไอออนต่าง ๆ รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในตุ่มรับรส[8]

รสพื้นฐานแต่ละรสจะมีหน่วยรับรสโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งแสดงออกในเซลล์รับรสบางส่วนโดยเฉพาะ ๆ เป็นการแสดงว่า เซลล์รับรสอุมะมิ รสหวาน และรสขม เป็นเซลล์กลุ่มต่าง ๆ กัน[9][10] แต่ตุ่มรับรสซึ่งประกอบด้วยเซลล์รับรสเป็นสิบ ๆ ก็อาจมีเซลล์ที่รับรสพื้นฐานต่าง ๆ กันได้[10]

ตุ่มรับรสประกอบด้วยเซลล์สามชนิด คือ เซลล์รับรส (gustatory cell) เซลล์ค้ำจุน (supporting/sustentacular cell) และเซลล์ต้นกำเนิด[2] เซลล์รับรสเป็นตัวรับสารเคมีรูปกระสวย/รูปกล้วยที่อยู่ในส่วนกลางของตุ่ม แต่ละตัวจะมีนิวเคลียสรูปกลมขนาดใหญ่ใกล้ตรงกลางของเซลล์ ยอดของเซลล์จะเป็นใยขนละเอียด (microvilli) ซึ่งเรียกได้ว่า ขนรับรส (gustatory/taste hair) โดยอยู่ที่รูรับรส (taste pore) ซึ่งอยู่ที่ผิวเนื้อเยื่อของลิ้น และขนจะทำหน้าที่เป็นพื้นผิวให้หน่วยรับรสทำปฏิกิริยากับสารมีรสได้[2] ส่วนยื่นไปทางระบบประสาทกลางของเซลล์จะวิ่งไปทางส่วนลึกของตุ่ม และไปยุติที่ฐานเป็นปุ่มสองปุ่มหรือปุ่มเดียว เซลล์รับรสเป็นเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial cell) ไม่ใช่เซลล์ประสาท แต่ก็มีไซแนปส์กับใยประสาทที่ฐานและมีถุงไซแนปส์ (synaptic vesicle) เพื่อหลั่งสารสื่อประสาทแบบเร้าให้ใยประสาท[2]

เส้นประสาทเป็นใยฝอยและไร้ปลอกไมอีลิน จะวิ่งเข้าไปในตุ่มรับรส โดยไปยุติเป็นปลายละเอียดระหว่างเซลล์รับรส ๆ และเส้นประสาทเป็นใยฝอยอื่น ๆ ก็จะแตกสาขาระหว่างเซลล์ค้ำจุน ๆ แล้วยุติเป็นปลายละเอียด ๆ แต่เส้นประสาทอย่างหลังนี่เชื่อว่าสำหรับส่งข้อมูลความรู้สึกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รส

ตุ่มรับรสจะมีอายุประมาณ 10 วัน[11] โดยเซลล์กำเนิดที่ฐานจะแบ่งตัวแล้วทดแทนเซลล์รับรสที่ตายนั้น[2]

ส่วนเซลล์ค้ำจุนจะเรียงตัวเหมือนกับแผ่นไม้ที่ประกอบเป็นกำแพงรอบถังไม้ใส่ของเหลวโดยล้อมรอบตุ่มไว้ แต่ก็มีบางตัวที่พบภายในตุ่มในระหว่างเซลล์รับรส ๆ แม้เซลล์ค้ำจุนจะมีรูปร่างเหมือนเซลล์รับรส แต่ก็ไม่มีขนรับรส ไม่มีถุงไซแนปส์ และไม่มีบทบาทในการรับรส[2]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "taste bud", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, ตุ่มรับรส (ที่ลิ้น)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Saladin 2010a, pp. 595 (611)
  3. Buck & Bargmann 2013a, Taste Detection Occurs in Taste Buds, pp. 727-728
  4. "Taste Bud". Encyclopædia Britannica Online. 2009.
  5. Shier, David (2016). Hole's Human Anatomy and Physiology. New York: McGraw-Hill Education. ISBN 978-0-07-802429-0.
  6. Saladin 2010a, Physiology, pp. 595-597 (611-613)
  7. PMID 15272380 (PMID 15272380)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  8. "10". Human Physiology: An integrated approach (5th ed.). Silverthorn. p. 354.
  9. Purves et al 2008a, Taste Perception in Humans, pp. 384-387
  10. 10.0 10.1 Buck & Bargmann 2013a, Each Taste Is Detected by a Distinct Sensory Transduction Mechanism and Distinct Population of Taste Cells, pp. 728-732
  11. PMID 16843606 (PMID 16843606)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya