ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ (復興航空) |
|
ก่อตั้ง | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 |
---|
เลิกดำเนินงาน | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 |
---|
ท่าหลัก |
|
---|
ขนาดฝูงบิน | 16 (+14 สั่งซื้อ) |
---|
จุดหมาย | 33 |
---|
บริษัทแม่ | Goldsun Construction & Development |
---|
สำนักงานใหญ่ | ไทเป, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) |
---|
เว็บไซต์ | http://www.tna.com.tw |
---|
ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ (อังกฤษ: TransAsia: TNA; จีนตัวย่อ: 复兴航空; จีนตัวเต็ม: 復興航空; พินอิน: Fùxīng Hángkōng) เป็นสายการบินสัญชาติไต้หวัน มีสำนักงานอยู่ในเขตต้าถง กรุงไทเป เกาะไต้หวัน[1][2][3] ให้บริการเที่ยวบินเหมาลำภายในประเทศเป็นหลัก และเที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ บริเวณภูมิภาคจีนแผ่นดินใหญ่ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2557 มีการเปิดตัวสายการบินต้นทุนต่ำในสังกัด V Air[4] ซึ่งต่อมากลับปิดตัวลงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และยุบกิจการรวมกับทรานส์เอเชีย[5]
เนื่องจากบริษัทประสบภาวะขาดทุนตั้งแต่อุบัติเหตุทรานส์เอเชียแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 222 และเที่ยวบินที่ 235 ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 ตามลำดับ ทำให้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 บริษัทได้ยกเลิกเที่ยวบินและคืนค่าตั๋วโดยสารให้ผู้ที่จะเดินทางกับสายการบินทั้งหมด[6] และวันต่อมาคณะกรรมการบริหารบริษัทได้ตัดสินใจยุบเลิกกิจการ[7][8]
เส้นทางบิน
ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ ปฏิบัติการบินเที่ยวบินหลัก และ เที่ยวบินเช่าเหมาลำดังนี้:
- Former destinations
- กัมพูชา - ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ
- สาธารณรัฐประชาชนจีน - ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว, ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงฉางสุ่ย
- ฮ่องกง - ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
- อินโดนีเซีย - ท่าอากาศยานนานาชาติ Sam Ratulangi (มานาโด), ท่าอากาศยานนานาชาติจูอันดา (สุราบายา)
- ญี่ปุ่น - ท่าอากาศยานอิชิงะกิ, ท่าอากาศยานคุชิโระ, ท่าอากาศยานโอะบิฮิโระ
- มาเลเซีย - ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู , ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง
- พม่า - ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง
- ปาเลา - ท่าอากาศยานนานาชาติปาเลา
- ฟิลิปปินส์ - ท่าอากาศยานนานาชาติเซบู, ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก, ท่าอากาศยานนานาชาติเลาอาค์, ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อาคิโน (มะนิลา)
- สิงคโปร์ - ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์
- เกาหลีใต้ - ท่าอากาศยานนานาชาติกิมเฮ (ปูซาน), ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน (ควังจู), ท่าอากาศยานนานาชาติยังยัง
- เวียดนาม - ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง, ท่าอากาศยานนานาชาตินอยไบ (ฮานอย)
ข้อตกลงเที่ยวบินร่วม
ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ทำข้อตกลงการทำการบินร่วม กับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
อ้างอิง
- ↑ "foot_01.gif เก็บถาวร 2015-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." TransAsia Airways. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2011. "Address: 9F, No. 139, Cheng-Chou Rd., Taipei 103, R.O.C"
- ↑ "09-guestbook.aspx เก็บถาวร 2014-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." TransAsia Airways. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2011. "地址:台北市大同區103鄭州路139號9樓"
- ↑ "foot_01.gif เก็บถาวร 2015-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." TransAsia Airways. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2011. "台北市鄭州路139號9樓"
- ↑ Shu-fen, Wang and Maia Huang (23 January 2014). "Taiwan's first low-cost airline to be named 'V air'". Central News Agency.
- ↑ Lee, Hsin-Yin (9 August 2016). "V Air to end operations on Oct. 1 (update)". Central News Agency.
- ↑ Lee, Hsin-yin (21 November 2016). "TransAsia Airways to suspend operations: CAA (update)". Focus Taiwan.
- ↑ Hung, Faith (22 November 2016). Gibbs, Edwina (บ.ก.). "After plane crashes, Taiwan's TransAsia seeks to wind down operations". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-21. สืบค้นเมื่อ 2016-11-26.
- ↑ Chen, Ted; Chen, Wei-han (23 November 2016). "TransAsia shuts down". Taipei Times.
แหล่งข้อมูลอื่น