ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ (อังกฤษ: Moon landing conspiracy theories) อ้างว่า โครงการอะพอลโลและการลงจอดบนดวงจันทร์ที่สืบเนื่องบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการหลอกลวงที่นาซาและสมาชิกองค์การอื่นจัดฉากขึ้น มีหลายปัจเจกบุคคลและกลุ่มได้อ้างการสมคบคิดดังกล่าวมาตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1970 การอ้างที่โดดเด่นที่สุด คือ การลงจอดที่มีมนุษย์โดยสารไปด้วยทั้งหกครั้ง (ระหว่าง ค.ศ. 1969-1972) เป็นเรื่องกุ และนักบินอวกาศของอะพอลโลสิบสองคนมิได้เดินบนดวงจันทร์ นักทฤษฎีสมคบคิดมีพื้นฐานข้ออ้างจากความคิดที่ว่า นาซาและองค์การอื่นทำให้สาธารณะหลงผิดเชื่อว่า การลงจอดเกิดขึ้นโดยการผลิต ทำลายหรือยุ่งกับหลักฐาน รวมทั้งภาพถ่าย เทปการวัดและส่งข้อมูลทางไกล การสื่อสัญญาณ ตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ และกระทั่งพยานปากสำคัญบางคน นักทฤษฎีสมคบคิดได้จัดการรักษาความสนใจของสาธารณะเอาไว้กับทฤษฎีของพวกตนมาได้นานกว่า 40 ปี แม้จะมีหลักฐานจากฝ่ายที่สามเกี่ยวกับการลงจอดและการหักล้างในรายละเอียดต่อข้ออ้างการหลอกลวงนี้[1] การสำรวจความคิดเห็นในหลายสถานที่ได้แสดงว่า ชาวอเมริกันระหว่าง 6% ถึง 20% ที่ถูกสำรวจ เชื่อว่า การลงจอดโดยมีมนุษย์โดยสารไปด้วยนั้นเป็นการกุขึ้น แม้แต่ใน พ.ศ. 2547 เครือข่ายโทรทัศน์รายใหญ่อย่างฟ็อกซ์ ยังออกอากาศสารคดีชื่อ Conspiracy Theory: Did We Land on the Moon? (ทฤษฎีสมคบคิด: เราลงจอดบนดวงจันทร์จริงหรือ) โดยอ้างว่า นาซากุการลงจอดครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 เพื่อชนะการแข่งขันด้านอวกาศ[2] ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ภาพถ่ายจุดลงจอดของอะพอลโลความละเอียดสูงที่ถ่ายโดยอวกาศยาน LPOC สามารถจับภาพส่วนลงจอดและรอยเท้าที่นักบินอวกาศหลงเหลือไว้ได้[3][4] ใน พ.ศ. 2555 มีการเผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงธงอะพอลโลที่ยังตั้งอยู่บนดวงจันทร์[5][6] การกล่าวอ้างว่า ภาพ อะพอลโล 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นั้น ไม่ได้ถ่ายบนดวงจันทร์ แต่ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนพื้นโลก ความคิดนี้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ออกฉาย ภาพยนตร์นั้นว่าองค์การนาซาได้หลอกลวงชาวโลกโดยสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม มีข้อพิสูจน์หลายอย่างว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอะพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยไปดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ รัมสไตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์ ข้อกล่าวอ้างถึงแรงจูงใจในการสร้างภาพการสร้างภาพของโครงการอะพอลโล 11 ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกในทางด้านเทคโนโลยีจากคนอื่นทั่วโลก และชาวสหรัฐอเมริกาเอง และยังทำให้ประเทศอื่นเชื่อว่า สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีอื่นรวมทั้งอาวุธต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ได้นำออกมาแก่สื่อมวลชน และได้รับชัยชนะเหนือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำยานอวกาศขึ้นสำรวจอวกาศก่อนหน้านี้ สาเหตุหลายอย่างที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างข่าวลือในการเหยียบดวงจันทร์ของสหรัฐอเมริกา
ข้อกล่าวหาและข้อโต้แย้งเรื่องภาพถ่ายภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ที่มีการอ้างว่าถ่ายทำบนดวงจันทร์ ได้ถูกกล่าวหาว่าถ่ายทำบนโลก 1. สัญลักษณ์กากบาทสำหรับระบุตำแหน่งในบางรูปภาพปรากฏที่หลังวัตถุ แทนที่จะอยู่ด้านหน้า
2. คุณภาพของภาพถ่ายดีอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าจะถ่ายในอวกาศ
3. ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ โดยขณะเดียวกันนักบินไม่ได้มีการกล่าวถึงการมองเห็นดวงดาวในยานอวกาศ จากภาพถ่ายของหลายโครงการสำรวจอวกาศ
4. สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก
5. พื้นหลังของภาพที่ถูกรายงานว่าถ่ายจากคนละสถานที่กลับเหมือนกัน
6. จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ
เรื่องการสื่อสาร
อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
|