โครงการอวกาศโซเวียตโครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี ค.ศ. 1991 ในช่วงเวลาหกสิบปี ค.ศ.ของโครงการมีความสำเร็จในหลายอย่างอาทิ เป็นผู้บุกเบิกขีปนาวุธข้ามทวีป อาร์-7 ,ดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ,ไลก้า สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2, มนุษย์คนแรกในอวกาศ ยูริ กาการิน ใน วอสตอค 1, ผู้หญิงคนแรกในอวกาศ วาเลนตีนา เตเรชโควา ใน วอสตอค 6, มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ อเล็กซี ลีโอนอฟ ใน วอสฮอด 2, การลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรก ลูนา 2, การถ่ายภาพด้านมืดของดวงจันทร์ ลูนา 3 เป็นต้น ต้นแบบจรวดและโครงการอวกาศโซเวียตได้มีต้นแบบจากโครงการจรวดลับของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2[1][2]โครงการใหญ่เริ่มหลังจากปี ค.ศ. 1955 และอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีหลายอย่างของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี บางครั้งเรียกว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการสำรวจอวกาศ[3][4] เซอร์ไก โคโรเลฟเป็นหัวหน้าสถาปนิกของกลุ่มการออกแบบจรวดแต่ก็มีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย โคโรเลฟ, Mikhail Yangel, Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei ต่างจากคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกาที่มีองค์การในการออกแบบจรวดเดียวคือนาซา เพราะสถานะโครงการอวกาศของโซเวียตเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ คือจะประกาศแต่ความประสบความสำเร็จในบางครั้ง ส่วนความล้มเหลวบางครั้งก็เก็บเป็นความลับ (อาทิ การตายของไลก้า, อุบัติเหตุโซยุส 1, จรวดเอ็น 1 เป็นต้น) ในท้ายที่สุดเป็นผลมาจากนโยบายกลัสนอสต์ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ข้อเท็จจริงมากมายเกี่ยวกับโครงการอวกาศไม่เป็นลับอีกต่อไป ทั้งการตายของวลาดีมีร์ โคมารอฟ (ใน อุบัติเหตุโซยุส 1) และ ยูริ กาการิน (ในภารกิจในการบินทดสอบเครื่องเจ็ท) ในระหว่างปี ค.ศ. 1966 และ ปี ค.ศ. 1968 ความล้มเหลวของการพัฒนาโครงการจรวดเอ็น 1 ตั้งใจที่จะใช้ไปดวงจันทร์ซึ่งระเบิดไม่นานหลังจากปล่อย หลัง การล่มสลายของสหภาพโซเวียต, รัสเซีย และยูเครน ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการอวกาศของโซเวียตต่อโดยตั้งเป็นองค์การที่รู้จักในชื่อ รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส ในรัสเซีย[5] และ องค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศยูเครน (NSAU) ในยูเครน ต้นกำเนิดการพัฒนาก่อนสงครามทฤษฎีของ การสำรวจอวกาศ มีพื้นฐานใน จักรวรรดิรัสเซีย ก่อน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยงานเขียนของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี (1857-1935) ที่เผยแพร่เอกสารเป็น ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และ 20 และในปี ค.ศ. 1929 มีการแนะนำแนวคิดของ จรวดหลายตอน ด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการทดลองเริ่มขึ้นโดยสมาชิกของกลุ่มการศึกษาปฏิกิริยาขับเคลื่อนจรวด GIRD (ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1931) ในปี ค.ศ. 1920 และ 1930 ผู้บุกเบิกเช่น เซอร์ไก โคโรเลฟ – ผู้ที่ฝันในการเดินทางไป ดาวอังคาร[6]: 5 และมีฟรีดริช แซนเดอวิศวกรชาวเยอรมัน-รัสเซียร่วมทำงานอยู่ด้วย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1933, GIRD เปิดตัวจรวดเชื้อเพลิงเหลวโซเวียตแรก GIRD-09[7] และในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1933 เปิดตัวจรวดเชื้อเพลิงไฮบริด GIRD-X ต่อมาในปี ค.ศ. 1940–41 การวิจัยด้านการขับเคลื่อนปฏิกิริยา ทำเกิดการพัฒนาและการผลิตของเครื่องยิงจรวดคัตยูช่า[8]และจรวดหลายตอน ในเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930 เทคโนโลยีจรวดโซเวียตสามารถเทียบกับเยอรมนีได้แต่ได้เกิดดนโยบายการล้าง: "ศัตรูของประชาชน" วิศวกรชั้นนำหลายคนถูกประหารและเซอร์ไก โคโรเลฟ และคนอื่น ๆ ถูกขังอยู่ในกูลัก[6]: 10–14 แม้ว่าจรวดคัตยูช่าเป็นที่มีประสิทธิภาพมากใน แนวรบด้านตะวันออก ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง ในการบุกเมืองฟอร์พ็อมเมิร์น (Peenemünde) วิศวกรรัสเซียประหลาดใจที่ได้พบกับจรวดวี-2และเทคโนโลยีในเมือง Mittelwerk หลังจากวันชัยในทวีปยุโรป ทหารอเมริกันได้แอบนำนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชั้นนำมากที่สุดและจรวดวี-2 100 ลำกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษแต่โซเวียตได้ประโยชน์อย่างมากจากบันทึกนักวิทยาศาสตร์ เยอรมันและแบบร่างจรวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับจรวดจำนวนมากและฐานการผลิตจรวดวี-2[6]: 20, 25, 27, 29–31, 56 ภายใต้การดูแลของ ดมีตรี อุสตีนอฟ โคโรเลฟ และคนอื่น ๆ การตรวจสอบแบบร่างจรวด โดยได้ความช่วยเหลือจากวิทยาศาสตร์ด้านจรวดชาวเยอรมัน Helmut Gröttrup และคนอื่น ๆ ที่ถูกจับจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1950[6]: 30, 80–82 ในที่สุดก็สามารถถอดแบบจรวดวี-2 มาสร้างเป็นจรวดอาร์-1 ได้สำเร็จแต่มันก็ไม่สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ โคโรเลฟ ได้ออกแบบมาทุ่มเทให้กับของเหลวเชื้อเพลิงจรวดแข็งที่เขาเคยทดสอบด้วยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ในที่สุดก็สามารถสร้างจรวดอาร์-7 ที่มีกำลังพอติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ และสามารถยิงข้ามทวีปได้ ซึ่งทดสอบประสบความสำเร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957 สปุตนิกและวอสตอคโครงการอวกาศของโซเวียตถูกผูกติดอยู่กับ "แผนห้าปี" และต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากกองทัพโซเวียต แต่โคโรเลฟก็ยังมีความฝันในการสำรวจอวกาศ ถึงแม้เจ้าที่ทหารโซเวียตคิดว่าเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เหมือนชาวอเมริกัน โดยเฉพาะตอนที่สหภาพโซเวียตสามารถจุดระเบิด RDS-1 ระเบิดปรมาณูแรกของโซเวียต ซึ่งทางกองทัพคิดจะใช้จรวดอาร์-7 ในการทัพมากกว่า อย่างไรก็ตามจรวดโซเวียตลูกแรกก็เปิดตัวให้ทั้งโลกรู้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955 จรวดอาร์-7 มีกำลังพอรับหัวรบขนาด 5ตันได้ ไม่เพียงที่มีประสิทธิภาพสำหรับขีปนาวุธนิวเคลียร์ แต่ยังสามารถใส่ยานพาหนะในการเดินทางอวกาศได้ด้วย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955 สหรัฐฯ มีแผนการที่จะเปิดตัวดาวเทียมดวงแรก ในอีกสองปีข้างหน้า ยิ่งทำให้ โคโรเลฟ มีแรงจูงใจให้ผู้นำโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ สนับสนุนแผนการของเขา เพื่อที่ทำลายความตั้งใจของชาวอเมริกัน[6]: 148–151 ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1956 แผนการสร้างโลกโคจรดาวเทียม (สปุตนิก) ได้รับการอนุมัติ ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 ดาวเทียมทรงกลม ทำด้วยอะลูมิเนียมหนัก 84 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดอาร์-7 จากฐานยิงในทะเลทรายกือซึลกุม ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ คาซัคสถาน ทั่วทุกมุมโลกตะลึงกับการปล่อย หลังการนั้นโคโรเลฟเริ่มแผนการใหม่ในโครงการสปุตนิก 2 ในการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจของมนุษย์[9]มีการฝึกกับสุนัขทั้งสามตัว ไว้ในการรับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับ สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ไลก้าได้ถูกรับเลือก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 จากฐานยิงในทะเลทรายกือซึลกุม ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ คาซัคสถาน โลกตะลึงอีกครั้ง ในการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียต ได้กล่าวว่าเป็นความสำเร็จในการส่งสิ่งมีชีวิตตัวแรกในอวกาศ แต่ความจริงแล้วไลก้าได้ตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานเนื่องจากความร้อนภายในยานสูง[10]ซึ่งเป็นความล้มเหลวในระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) [11]แต่ก่อนหน้านั้นได้มีรายงานอย่างกว้างขวางว่ามันขาดออกซิเจนตายอย่างสงบในวันที่หก[12] หลังจากความสำเร็จของสปุตนิก โคโรเลฟ ซึ่งบัดนี้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนว่า"หัวหน้าสถาปนิกจรวดอวกาศ"[6]: 168–169 เข้าร่วมระดมทุนเพื่อเร่งบรรจุโครงการส่งคนไปนอกโลก หลังสปุตนิก 2 ถูกปล่อยพร้อมความล้มเหลวในระบบยังชีพ วิศวกรได้ปรับปรุงแก้ไขในสปุตนิก 4 ในที่สุดพร้อมส่งสุนัขขึ้นไปในอวกาศอีกครั้งในสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1959 พร้อมกับหมาพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) กับ หนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1959 หลังประสบความสำเร็จวิศวกรมีความมั่นใจมากในความพร้อมส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ ทางกองทัพก็ได้อาสาสมัครที่ผ่านการสอบคือยูริ กาการินที่มีประสบการณ์ในกองทัพอากาศโซเวียตมาเป็นนักบิน ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ถูกปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) ก่อนลงจอดอย่างปลอดภัยเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย หลังจากวอสตอค 1 มีการปล่อยอีก 5 ลำ ตลอดโครงการวอสตอค (1961–1963) โดย วอสตอค 6 เป็นลำสุดท้ายในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1963 มีวาเลนตีนา เตเรชโควาซึ่งเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก จากแผนการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตในการให้ความสำคัญแก่สตรี การแข่งขันภายในทางฝั่งสหรัฐฯ แม้จะมีความสำเร็จของ สปุตนิก ระหว่างปี ค.ศ. 1957–1961 และ วอสตอค ระหว่างปี ค.ศ. 1961–1964 ของโซเวียตก็ไม่สามรถทำลายความตั้งใจของสหรัฐฯได้ และยังทำให้เกิดความสามัคคีในภายทำให้เกิดองค์การนาซาขึ้นมา ทำให้สามารถไล่ตามทันเทคโนโลยีอวกาศโซเวียตได้ ผิดกับโซเวียตที่เริ่มมีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย เซอร์ไก โคโรเลฟ, Mikhail Yangel, Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei โคโรเลฟ วางแผนที่จะก้าวไปข้างหน้ากับโครงการโซยุซ และจรวด N1 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสถานีอวกาศถาวรและการสำรวจดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม ดมีตรี อุสตีนอฟ กำกับให้เขาเห็นความสำคัญกับภารกิจใกล้โลกมากกว่าในโครงการวอสฮอด (แก้ไขจากโครงการวอสตอค) เช่นเดียวกับในภารกิจส่งดาวเทียมไปยังดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง คือดาวศุกร์ และ ดาวอังคารมากกว่าจะส่งคนไปที่เหล่านั้น Yangel เคยได้รับการช่วยเหลือจาก โคโรเลฟ แต่ด้วยการสนับสนุนของทหาร เขาจึงมีสำนักของตัวเองในปี ค.ศ. 1954 ในการทำงานหลักในโครงการอวกาศของทหาร เรื่องนี้มีทีมงานออกแบบเครื่องยนต์จรวดใช้ เชื้อเพลิงไฮเพอร์โบลิก ตั้งแต่เหตุจรวดระเบิดที่ Nedelin ในปี ค.ศ. 1960 Yangel ได้รับคำสั่งการพัฒนา ICBM คล้ายกับจรวด N1 ของโคโรเลฟ สำหรับการใช้งานทั้งทหารและเที่ยวบินขนส่งสินค้าขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสถานีอวกาศในอนาคต Glushko เป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบเครื่องยนต์จรวด แต่เขามักจะมีปัญหากับ โคโรเลฟ และปฏิเสธที่จะพัฒนาเครื่องยนต์ก๊าซของจรวด N1 Chelomei ได้รับประโยชน์จากสนับสนุนจากครุสชอฟ[6]: 418 และในปี ค.ศ. 1960 ได้รับงานในการพัฒนาจรวดที่จะส่งยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ และประจำสถานีอวกาศทหาร ด้วยประสบการณ์น้อย ทำให้โครงการพัฒนาของเขาล่าช้า ความคืบหน้าของโครงการอพอลโลทำให้หัวหน้านักออกแบบแต่ละคนตกใจ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1964 กว่าสามปีหลังจากที่สหรัฐประกาศจะไปดวงจันทร์ก่อนปี ค.ศ. 1970 ในที่สุดสหภาพโซเวียตก็ตัดสินใจที่จะแข่งขันไปดวงจันทร์ โดยกำหนดเป้าหมายไปถึงดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งครบรอบ 50 ปี ของการปฏิวัติเดือนตุลาคมหรืออาจเลื่อนไปถึงปี ค.ศ. 1968 [6]: 406–408, 420 ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการพัฒนาช่วงแรกของโครงการอวกาศของโซเวียตกว่า 30 โครงการสำหรับจรวดนำส่งและยานอวกาศ โดยหลังการสิ้นอำนาจของครุสชอฟในปี ค.ศ. 1964 โคโรเลฟ ได้รับมอบการควบคุมโครงการอวกาศอย่างสมบูรณ์ หลังยุคโคโรเลฟโคโรเลฟ เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1966 มะเร็งลำไส้ใหญ่ และจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและเลือดออกอย่างรุนแรง Kerim Kerimov[13] ที่เคยเป็นสถาปนิกในการออกแบบของ วอสตอค 1[14] ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการอวกาศโซเวียต และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องนาน 25 ปี (ค.ศ. 1966-1991) เขาดูแลทุกขั้นตอนของการพัฒนา ทั้งการดำเนินงานขององค์ประกอบของยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม และสถานีอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม หนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Kerimov คือการเปิดตัวของสถานีอวกาศเมียร์ ในปี ค.ศ. 1986 ส่วนสำนักงาน OKB-1 ของโคโรเลฟ Vasily Mishin ได้เข้ามาสานต่อ Mishin โดยไม่มีอำนาจทางการเมืองเหมือนโคโรเลฟ และยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันจากหัวหน้านักออกแบบอื่น ๆ ภายใต้ความกดดัน Mishin ได้รับการอนุมัติการเปิดตัวของเที่ยวบินโซยุส 1 ในปี ค.ศ. 1967 ภารกิจการเปิดตัวกับปัญหาในออกแบบที่เป็นที่ทราบโดยทั่ว จบลงด้วยการไม่ทำงานของร่มทำให้แคปซูลกระแทกกับพื้น ฆ่าวลาดีมีร์ โคมารอฟ เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่มีการเสียชีวิตจากโครงการอวกาศโซเวียต หลังจากเหตุการ Mishin อยู่ภายใต้แรงกดดันและมีปัญหาเรื่องติดสุรา โซเวียตพบกับพ่ายแพ้ในการส่งคนโครงรอบดวงจันทร์โดยอพอลโล 8 ในปี ค.ศ. 1968 แต่ Mishin ก็มีปัญหาหนักสุดในพัฒนาจรวด N1 เขาหวังว่ามีเวลาพอที่จะทำให้ เอ็น-1 สามารถทำงานได้และส่งไปมนุษย์บนดวงจันทร์เป็นชาติแรก มีความสำเร็จกับเที่ยวบินร่วมกันของโซยุส 4 และ 5 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ที่ผ่านการทดสอบนัดพบ, เชื่อมต่อและการถ่ายโอนลูกเรือที่จะใช้สำหรับการลงจอด และ แอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) ได้รับการทดสอบในวงโคจรของโลกประสบความสำเร็จ แต่หลังจากนั้นจบลงด้วยความล้มเหลวของจรวด N1 ผู้สนับสนุนยกเลิกการสนับสนุนพร้อมความล้มเหลวในการไปดวงจันทร์ หลังจากความล้มเหลว ดมีตรี อุสตีนอฟได้อนุมัติสถานีอวกาศทหารซัสยุสซึ่งเป็นการตอบโต้โครงการสถานีอวกาศสกายแล็บของสหรัฐฯ Mishin ยังคงมีอำนาจควบคุมโครงการสถานีอวกาศซัสยุส ในปี ค.ศ. 1971 เกิดเหตุร้ายแรงเมื่อสถานีอวกาศซัสยุส 1 ไม่สามารถเปิดทางเข้าได้และโซยุส 11 เกิดรอยแยกบนแคปซูลฆ่าลูกเรือทั้งหมดเมื่อกลับมายังโลก Mishin ถูกลบชื่อออกจากหลายโครงการที่เขาควบคุม Chelomei ได้ฟื้นโครงการสถานีอวกาศซัสยุส หลังจากโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซผู้นำโซเวียตตัดสินใจแนวทางการจัดการใหม่และในปี ค.ศ. 1974 จรวด N1 ถูกยกเลิกและ Mishin ถูกไล่ออก มีการสร้างสำนักงาน NPO Energia แทน OKB-1 โดยมี Glushko เป็นหัวหน้านักออกแบบ แม้จะล้มเหลวในการไปดวงจันทร์ สหภาพโซเวียตก็ประสบความสำเร็จในการนำส่งหุ่นสำรวจอัตโนมัติ ลูโนฮอด 1–2 และยานสำรวจลูนา 15–24 ได้นำตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมา นอกจากนี้มีความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในโครงการสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การสำรวจดาวศุกร์ และดาวหางฮัลเลย์ใน เวเนรา และ เวกา ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม รายการของโครงการและความสำเร็จโครงการทั้งหมดที่สมบรูณ์สปุตนิก (1956–1959)เป็นโครงการอวกาศแรกของโซเวียต แบ่งเป็นการพัฒนาดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 3 และการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและการพัฒนาระบบยังชีพในยานอวกาศ สปุตนิก 2 สปุตนิก 4 สปุตนิก 5 ลูนา (1959–1976)เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ของโซเวียต มีทั้งหมด 24 ลำอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยดาวเทียมสำรวจ ลูนา 1-9, ยานสำรวจ ลูนา 10-14, ยานสำรวจและเก็บตัวอย่างหิน ลูนา 15-16, 18-20 และ 22-24 และยานขนส่งหุ่นสำรวจ ลูนา 17 กับ ลูโนฮอด 1 และลูนา 21 กับ ลูโนฮอด 2 แม้จะมีโครงการมากกว่านั้นแต่ส่วนใหญ่ล้มเหลวตั้งแต่อยู่ในวงโคจรโลก[15]ประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการลูนาเป็นประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ วอสตอค (1961–1963)เป็นโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและพวกเขากลับได้อย่างปลอดภัย การแข่งขันโครงการเมอร์คิวรีของประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในส่งมนุษย์อวกาศคนแรกที่ ยูริ กาการินใน วอสตอค 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 แคปซูลวอสตอคได้รับการพัฒนาจากโครงการดาวเทียมจารกรรมเซนิต ใช้จรวดอาร์-7 ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ในการส่ง ในการออกแบบที่เป็นข้อมูลลับจนกระทั่งเที่ยวบินครั้งแรกของโครงการวอสตอคของกาการินเปิดเผยต่อสาธารณชน โปรแกรมดำเนินการมี 6 ลำระหว่างปี ค.ศ. 1961 และปี ค.ศ. 1963 เที่ยวบินที่นานที่สุดกินเวลาเกือบห้าวันและมีการปล่อยยานคู่กันระหว่างวอสตอค 3 กับวอสตอค 4[16] ซึ่งมากกว่าโครงการเมอร์คิวรีที่มีเที่ยวบินที่นานที่สุด 34 ชั่วโมง เวเนรา (1961–1981)เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ของโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1961–1984 มีทั้งหมด 10 ลำที่ประสบความสำเร็จลงจอดบนดาวศุกร์และส่งข้อมูลจากพื้นผิวของดาว โดยในช่วงแรกเป็นการสำรวจภายนอกโดย เวเนรา 1–2 จากการสำรวจชั้นบรรยากาศ และการพยายามลงจอดใน เวเนรา 3–8 และลงจอดสำเร็จในเวเนรา 9 ซึ่งสามารถทนได้ถึง 23 นาทีก่อนที่จะถูกทำลาย ในระยะหลังเวเนรา 15 ได้มีการใช้ระบบเรดาร์ในการทำแผนที่บนดาวศุกร์ วอสฮอด (1964–1965)หลังประสบความสำเร็จ วอสตอค ได้มีการพัฒนาใหม่ในโครงการวอสฮอด ในปี ค.ศ. 1964–1965 ซึ่งปรับเปลี่ยนแคปซูล วอสตอค ให้ใหญ่ขึ้นสามารถจุนักบินได้สองถึงสามคน จรวดขนาดใหญ่ขึ้นและระบบยังชีพทีดีขึ้นจนไม่ต้องสวมชุดอวกาศในยาน วอสตอค 1 เป็นการทดลองให้นักบินสามคนไม่ชุดอวกาศผลประสบความสำเร็จด้วยดี วอสตอค 2 ได้มีการพัฒนาประตูยานให้เปิดปิดจากภายในยานได้เพื่อใช้สำหรับภารกิจนอกยานโดย อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ[17] โซยุซ (1963–ปัจจุบัน)เป็นโครงการยานอวกาศพัฒนาโดยสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1960 โดยในตอนแรกจะถูกนำไปใช้ในโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยมีการทดสอบการนัดพบและเทียบท่า เพื่อใช้สำหรับการต่อแอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) หลังความล้มเหลวของโครงการ เอ็น 1-แอล 3 โซยุซได้ถูกนำไปใช้ในการเทียบท่าขนส่งคนและสิ่งของยังชีพต่าง ๆ ในแก่สถานีอวกาศทั้งสถานีอวกาศซัสยุส สถานีอวกาศเมียร์ และสถานีอวกาศนานาชาติในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนามาถึงปัจจุบันทั้งหมด 4 รุ่น ซอนด์ (1964–1970)เป็นโครงการยานอวกาศไร้คนขับจากการดำเนินการในช่วงปี ค.ศ. 1964–1970 แบ่งเป็นโครงการ 3 เอ็มวี เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ (ซอนด์ 1) ดาวอังคาร (ซอนด์ 2) และดวงจันทร์ (ซอนด์ 3) และโครงการทดสอบโซยุซ 7 เค-แอล 1/แอล 1 เอ็ส เป็นโครงการทดสอบยานโซยุซ (ไร้ตัวเชื่อมต่อ) ในการเดินทางไปดวงจันทร์ โดยในการทดสอบ ซอนด์ 5 ได้ส่ง เต่ารัสเซียโคจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เอ็น 1-แอล 3 (ทศวรรษ 1960–1970)เป็นโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยใช้ยานอวกาศ โซยุซ แอลเค-แลนเดอร์ และจรวด เอ็น 1 ในการไปดวงจันทร์[18] โดยมีความสำเร็จกับเที่ยวบินร่วมกันของโซยุส 4 และ 5 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ที่ผ่านการทดสอบนัดพบ, เชื่อมต่อและการถ่ายโอนลูกเรือที่จะใช้สำหรับการลงจอดและ แอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) ได้รับการทดสอบในวงโคจรของโลกประสบความสำเร็จแต่หลังจากนั้นจบลงด้วยความล้มเหลวของจรวดเอ็น1 ที่เกิดระเบิดไม่นานหลังทะยานขึ้น ซัสยุส (1971-1986)เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สถานีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ 2 สถานีทางการทหาร ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ค.ศ. 1971–1986 และอีก 2 สถานีล้มเหลวในการส่ง อวกาศของซัสยุส ออกแบบมาเพื่อดำเนินการวิจัยในปัญหาในระยะยาวของการอยู่อาศัยในอวกาศและความหลากหลายของดาราศาสตร์, ชีววิทยา และการทดลองต่าง ๆ ปูทางสำหรับโมดูลสถานีอวกาศในปัจจุบัน บูรัน (1974–1993)การพัฒนาของโครงการกระสวยอวกาศในสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดความกังวลมากในสหภาพโซเวียต ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อุสตีนอฟ รับรายงานจากนักวิเคราะห์ของเขาว่ากระสวยอวกาศสหรัฐอาจถูกนำมาปรับใช้ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ตามพื้นที่เหนือดินแดนของสหภาพโซเวียต อุสตีนอฟ จึงกังวลเกี่ยวกับกระสวยอวกาศสหรัฐจึงมีการให้การพัฒนากระสวยอวกาศโซเวียต พัฒนาโดยหัวหน้านักออกแบบ เกลบ โลซีโน-โลซินสกี แห่งบริษัทจรวดอีเนอร์เจีย บูรันตั้งใจให้ใช้ได้ทั้งในโหมดอัตโนมัติและมีคนบังคับ การปล่อยบูรันขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกและครั้งเดียวนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3:00 UTC ของวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 [19]โครงการถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1993 อินเตอร์คอสมอส (1978–1988)เป็นโครงการอวกาศร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตและกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอและประเทศอื่นเช่น อัฟกานิสถาน, คิวบา, มองโกเลีย และเวียดนาม และกลุ่มประเทศขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เช่น อินเดีย และซีเรีย และประเทศโลกเสรีอย่าง ฝรั่งเศส เป็นต้น เวกา (1984–1985)เป็นความร่วมมือระหว่าง สหภาพโซเวียต, ออสเตรีย, บัลแกเรีย, ฮังการี, สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน, โปแลนด์, สโลวาเกีย, ฝรั่งเศส, และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1984 มีภารกิจสองส่วนคือการสำรวจดาวศุกร์ด้วยบอลลูนตรวจอากาศ กับการสำรวจหางฮัลเลย์ โครงการมีทั้งหมด 2 ลำ ยานอวกาศทั้งสองปล่อยในวันที่ 15 และ 21 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1984 ตามลำดับ โฟบอส (1988)เป็นโครงการสำรวจดาวอังคารและดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส โฟบอส 1 ถูกปล่อยในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 และโฟบอส 2 ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 โฟบอส 1 ประสบความล้มเหลวในการนำเส้นทางไปดาวอังคาร โฟบอส 2 เข้าวงโคจรดาวอังคาร ได้เข้าสำรวจดาวอังคาร และดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส แต่การติดต่อได้หายไปก่อนขั้นการสำรวจตอนสุดท้าย เมียร์ (1986–2001)เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี ค.ศ. 1996 สถานีอวกาศเมียร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2001 การบุกเบิกสองวันหลังจากที่ สหรัฐอเมริกา ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างดาวเทียม, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 สหภาพโซเวียตประกาศความตั้งใจที่จะทำเช่นเดียวกัน โดยสปุตนิก 1 เปิดตัววันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหน้าและคนตื่นตะลึงทั่วทุกมุมโลก[20] โครงการอวกาศของโซเวียตที่เป็นผู้บุกเบิกสิ่งต่าง ๆ ในการสำรวจอวกาศ:
ความล้มเหลวและอุบัติเหตุโครงการอวกาศของโซเวียตได้มีประสบการณ์กับอุบัติเหตุร้ายแรงและความล้มเหลวจำนวนหลายครั้ง[35] ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 เกิดภัยพิบัติ Nedelin ความหายนะมาจากจรวดเชื้อเพลิงถูกทดสอบใน Launchpad เกิดระเบิด ฆ่าบุคลากรหลายทางเทคนิค, วิศวกรการบินและอวกาศ และช่างเทคนิคเป็นจำนวนมาก ส่วนนักบินอวกาศคนแรกที่เสียชีวิตอย่างเป็นทางการในระหว่างการฝึกที่เกิดขึ้นวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1961 เกิดไฟไหม้ในห้องปรับความดันที่มีออกซิเจนสูงทำให้ไฟแรงขึ้นทำให้ Valentin Bondarenko เสียชีวิตในกองเพลิง ในวอสฮอด 2 อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศเกือบเสียชีวิตจากรอยรั่วบนชุดทำให้ชุดของเขามีแรงดันสูง แต่เขาก็สามารถปรับแรงดันได้ทำให้เขารอดชีวิตมา ในปี ค.ศ. 1967 โซยุส 1 การไม่ทำงานของร่มสำหรับลงจอดทำให้แคปซูลกระแทกกับพื้นฆ่า วลาดีมีร์ โคมารอฟ นี้เป็นครั้งแรกที่เสียชีวิตมีการตายจากโครงการอวกาศโซเวียต หลังจากนั้นยูริ กาการินก็เสียชีวิตพร้อมกับนักบินผู้ช่วยในการทดสอบเครื่องเจ็ท มิก-15 ตก ตามมาด้วยความล้มเหลวของการพัฒนาโครงการจรวด เอ็น 1 ตั้งใจที่จะใช้ไปดวงจันทร์ซึ่งระเบิดไม่นานหลังจากปล่อย ส่วน สหรัฐอเมริกาเอาชนะในการแข่งขันลงจอดบนดวงจันทร์ใน อะพอลโล 11 บน 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 อีก 4 ปีต่อมา โซยุส 11 เกิดรอยแยกบนแคปซูลทำให้ไม่มีอากาศในการหายใจลูกเรือทั้งหมด Vladislav Volkov, Georgi Dobrovolski และ Viktor Patsayev เสียชีวิตเมื่อกลับมายังโลก วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1975 โซยุส 18a ได้กลับมายังโลกแต่เกิดความผิดผลาดในระบบนำทางทำให้เลยจุดลงจอดหลายพันไมล์ เกือบเข้าชายแดนประเทศจีน แคปซูลกระแทกภูเขาไถลลื่นไปตามทางลาดชันและเกือบตกหน้าผา; โชคดีที่สายร่มชูชีพเกี่ยวกับต้นไม้ไว้ มีผู้บาดสาหัส 2 คน และความผิดพลาดในระบบนำทางอีกครั้งในโซยุส 23 วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เลยจุดลงจอด แคปซูลตกลงสู่ทะเลสาบน้ำแข็งโชคดีที่ช่วยเหลือได้ทันท่วงที และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1980 จรวดวอสตอคระเบิดขณะกำลังเติมเชื้อเพลิงทำให้เจ้าหน้าที่ 48 คนเสียชีวิต[36] มีครั้งหนึ่งที่เกือบจะบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระดับโลก ในคอสมอส 434 ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1971 เมื่อกลับเข้าสู่ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1981 รัฐบาลออสเตรเลียตกใจกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทีอยู่ในยาน และคิดว่าสหโซเวียตได้ส่งอาวุธนิวเคลียร์มาโจมตี กระทรวงต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในออสเตรเลียยอมรับว่าคอสมอส 434 ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองโครงการลงจอดบนดวงจันทร์ N1-L3 ในอดีต ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1983 โซยุส T-10-1 เกิดการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เกิดเปลวเพลิง แคปซูลลูกเรือถูกดีดตัวออกมาทันก่อนจรวดระเบิดในสองวินาทีต่อมา[6]: 736 นอกจากนี้ยังมีบัญชีที่หายไปซึ่งเป็นบัญชีลับที่มีการปกปิดผู้เสียชีวิตตลอดของโครงการอวกาศของโซเวียต อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|