Share to:

 

เซลีนี (ยานอวกาศ)

เซลีนี
COSPAR ID2007-039A
SATCAT no.32054แก้ไขบนวิกิสนเทศ
 

ยานอวกาศเซลีนี (อังกฤษ: SELENE; กรีก: Σελήνη หมายถึง ดวงจันทร์) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คางุยะ (ญี่ปุ่น: かぐやโรมาจิKaguyaทับศัพท์: ชื่อองค์หญิงคางุยะ ผู้ที่มาจากดวงจันทร์ตามตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น) เป็นยานอวกาศลำที่สองของญี่ปุ่น ที่ส่งขึ้นสู่ดวงจันทร์ ชื่อเซลีนีย่อมาจาก Selenological and Engineering Explorer หรือ ยานสำรวจทางวิศวกรรมและศึกษาดวงจันทร์ ยานถูกปล่อยขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในศูนย์ศึกษาอวกาศทะเนะงะชิมะ (種子島宇宙センター, Tanegashima Space Center) จังหวัดคะโงะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเวลา 01:31:01 น. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 (UTC) แล่นเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน ยานสำรวจลำนี้มีภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในเชิงธรณีวิทยา ทั้งการกำเนิด วิวัฒนาการ และสภาพของดวงจันทร์ โดยตัวยานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ยานโคจรหลัก และดาวเทียมอีกสองดวงที่มีชื่อว่า "โอกินะ" และ "โออุนะ" ซึ่งมีน้ำหนักเพียงดวงละ 53 กิโลกรัม ยานเซลีนีปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นและถูกปรับวงโคจรให้เข้าชนดวงจันทร์ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:25 น. (UTC) บริเวณใกล้หลุมอุกกาบาตกิลล์ (Gill)[1] รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจทั้งสิ้น 1 ปี 8 เดือน การส่งยานอวกาศครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการส่งยานอวกาศของโครงการสำรวจดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดรองจากโครงการอะพอลโล[2]

จุดมุ่งหมาย

ภารกิจหลักของยานสำรวจดวงจันทร์ลำนี้คือ

  • ศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิด พัฒนาการทางธรณีวิทยาและสภาพภูมิศาสตร์ของดวงจันทร์
  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพบนพื้นผิวดวงจันทร์
  • ทดลองการส่งคลื่นวิทยุบนวงโคจรของดวงจันทร์

อุปกรณ์

ยานเซลีนีได้ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการสำรวจทั้งสิ้น 13 ตัว ดังนี้[3]

อ้างอิง

  1. KAGUYA Lunar Impact, องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA).
  2. "SELENE: The largest lunar mission since the Apollo program". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-24. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
  3. Kaguya (SELENE), JAXA.
  4. LISM [TC, MI, SP], JAXA

แหล่งข้อมูลอื่น

0

Kembali kehalaman sebelumnya