Share to:

 

ยูโรปา (ดาวบริวาร)

ยูโรปา
ภาพถ่ายสี โดยยานกาลิเลโอ
ภาพดาวบริวารยูโรปาซีกด้านหลังทิศทางโคจร สีตามธรรมชาติ (โดยประมาณ) ถ่ายจากยานกาลิเลโอ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2539
การค้นพบ
ค้นพบโดย:กาลิเลโอ กาลิเลอี
ไซมอน มาริอุส
ค้นพบเมื่อ:8 มกราคม พ.ศ. 2152 อาจจะเป็นชื่อทวีปยุโรปที่มีชื่อที่คล้ายเคียงกัน
ชื่ออื่น ๆ:Jupiter II
ลักษณะของวงโคจร[1]
ต้นยุคอ้างอิง 8 มกราคม พ.ศ. 2547
ระยะจุดใกล้ศูนย์กลางวงโคจรที่สุด:664 862 กม.[2]
ระยะจุดไกลศูนย์กลางวงโคจรที่สุด:676 938 กม.[2]
รัศมีวงโคจรเฉลี่ย:670 900 กม.[3]
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.009[3]
คาบการโคจร:3.551 181 วัน (บนโลก) [3]
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
13.740 กม./ว.[3]
ความเอียง:0.470° (กับแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี)
1.791° (กับระนาบสุริยวิถี) [3]
ดาวบริวารของ:ดาวพฤหัสบดี
ลักษณะทางกายภาพ
รัศมีเฉลี่ย:1560.8±0.5 กม. (0.245 ของรัศมีโลก) [3]
พื้นที่ผิว:3.09×107 กม.2 (0.061 ของโลก) [4]
ปริมาตร:1.593×1010 กม.3 (0.015 ของโลก) [4]
มวล:(4.799844±0.000013)×1022 กก. (0.008 ของโลก) [3]
ความหนาแน่นเฉลี่ย:3.013±0.005 ก./ซม.3 [3]
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
1.314 ม./ว.2 (0.134 ก.) [2]
อัตราส่วนโมเมนต์ความเฉื่อย:0.346±0.005 [5] (โดยประมาณ)
ความเร็วหลุดพ้น:2.025 กม./ว.[2]
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
คาบหมุนสมวาร [6]
ความเอียงของแกน:0.1° [7]
อัตราส่วนสะท้อน:0.67 ± 0.03 [8]
อุณหภูมิพื้นผิว:
   พื้นผิว
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
≈50 K102 K125 K [9]
โชติมาตรปรากฏ:5.29 [8] (ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์)
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
0.1 µPa (10-12 บาร์) [10]
องค์ประกอบ:ออกซิเจน

ยูโรปา (อังกฤษ: Europa, /jʊəˈroʊpə/, บุพบท: Europan) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1610) โดย กาลิเลโอ กาลิเลอี (เชื่อว่าในเวลาเดียวกันนั้น ไซมอน มาริอุส ก็ค้นพบด้วยเช่นเดียวกัน) ชื่อของดาวมาจากนางกษัตริย์ในตำนานปกรณัมกรีกคือยูโรปา (กรีกโบราณ: Εὐρώπη) ผู้ได้แต่งงานกับเทพซูสและได้เป็นราชินีแห่งครีต ยูโรปาเป็นดาวบริวารดวงเล็กที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ของกาลิเลโอ‎ทั้ง 4 ดวง

ยูโรปามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,000 กิโลเมตร มีบรรยากาศที่เบาบางประกอบไปด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งและมีความเรียบมากนี้ประกอบไปด้วยรอยแตกและเส้นริ้วบาง ๆ โดยมีหลุมอุกกาบาตอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พื้นผิวที่เรียบและดูใหม่นี้เองที่ทำให้เกิดสมมติฐานว่า มีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยสมมติฐานนี้เสนอว่าแรงดึงดูดที่มีมากของดาวพฤหัสบดีสร้างความร้อนให้กับยูโรปา

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 นาซาได้รายงานการตรวจพบแร่ธาตุที่คล้ายกับดิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟิลโลซิลิเกต) ซึ่งปะปนอยู่กับอินทรียวัตถุบนเปลือกน้ำแข็งของยูโรปา นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลยังตรวจพบพลูมไอน้ำคล้ายกับพลูมที่ตรวจพบในเอนเซลาดัส ดาวบริวารของดาวเสาร์

ปฏิบัติการของยานสำรวจกาลิเลโอได้ส่งข้อมูลของยูโรปากลับมาเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มียานอวกาศลำใดที่ลงสำรวจในดาวบริวารดวงนี้ แต่ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจของยูโรปาก็ทำให้มันเป็นเป้าหมายของปฏิบัติการอันทะเยอทะยานหลายปฏิบัติการ ปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์น้ำแข็งดาวพฤหัส (JUICE) ขององค์การอวกาศยุโรปนั้นมีกำหนดการในปี พ.ศ. 2565[11] ส่วนนาซาก็ได้วางแผนส่งหุ่นยนต์ปฏิบัติการบนยูโรปาราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2020[12]

การค้นพบและตั้งชื่อ

ยูโรปาและดวงบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีอีกสามดวงได้แก่ ไอโอ แกนีมีด และ คาลลิสโต ถูกค้นพบในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1610) โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี[13] และไซมอน มาริอุส ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามสตรีชนชั้นสูงชาวฟินิเชียในเทพปกรณัมกรีกชื่อ ยูโรปา ผู้เป็นราชินีของครีตและถูกซูสเกี้ยวพาราสี

กาลิเลโอค้นพบยูโรปาและดวงจันทร์กาลิเลี่ยนดวงอื่นครั้งแรกโดยใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงกำลังขยาย 20 เท่าที่มหาวิทยาลัยปาโดวาในวันที่ 7 มกราคม อย่างไรก็ตามกาลิเลโอยังไม่สามารถแยกไอโอกับยูโรปาได้เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องต่ำเกินไป ดาวบริวารทั้งสองจึงถูกบันทึกเป็นจุดแสงจุดหนึ่งเท่านั้น ไอโอกับยูโรปาถูกค้นพบว่าเป็นคนละดวงได้ในวันต่อมา[13]

ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามคนรักของซูสเหมือนกับดวงจันทร์แกลิเลี่ยนดวงอื่น ซึ่งในที่นี้คนรักนั้นคือ ยูโรปา ลูกสาวของกษัตริย์แห่งไทร์ โดยผู้ที่เสนอหลักการตั้งชื่อนี้คือ ไซมอน มาริอุส ที่เชื่อว่าน่าจะค้นพบดาวบริวารกาลิเลี่ยนทั้งสี่ด้วยเช่นกัน (แม้ว่ากาลิเลโอจะกล่าวหาว่าไซมอนเลียนแบบเขา) มาริอุสได้เสนอหลักการตั้งชื่อนี้ให้กับ โยฮันเนส เคปเลอร์[14][15]

ในบทเรียนดาราศาสตร์ยุคแรก ๆ ยูโรปาถูกเรียกว่าดาวบริวารดวงที่สองของดาวพฤหัสบดี หรือ Jupiter II (ละติน: Iuppiter II, ยูปิเตอร์ เซกูนโด) ส่วนชื่อยูโรปาไม่ได้ถูกพูดถึงโดยทั่วไปจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[16]

การโคจรและการหมุนรอบตัวเอง

ภาพเคลื่อนไหวแสดงการสั่นพ้องของวงโคจรของดวงจันทร์ยูโรปา รวมทั้งดวงจันทร์ไอโอและดวงจันทร์แกนิมีด

ยูโรปาโคจรรอบดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลาเพียงสามวันครึ่งด้วยรัศมีวงโคจรประมาณ 670,000 กิโลเมตร และมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร เพียง 0.009 วงโคจรจึงมีลักษณะค่อนข้างกลม โดยมีความเอียงของวงโคจรอ้างอิงจากระนาบเส้นศูนย์สูตรฟ้าเล็กน้อย คือประมาณ 0.470 องศาเท่านั้น[17] ยูโรปาการหมุนรอบตัวเองแบบสมวาร คือมีคาบการหมุนรอบตัวเองเท่ากับคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสบดีเหมือนดาวบริวารกาลิเลียนดวงอื่นๆ ดวงจันทร์ยูโรปาจึงหันหน้าเข้าหาดาวพฤหัสบดีเพียงด้านเดียวเสมอ ทำให้มีจุดๆหนึ่งบนดวงจันทร์ยูโรปาที่สามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ จุดจอมฟ้าพอดี เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านจุดๆนี้ถูกกำหนดให้เป็นเส้นเมริเดียนปฐมของดวงจันทร์ยูโรปา อย่างไรก็ตามผลการค้นคว้าได้ระบุว่าการหมุนของดวงจันทร์ยูโรปาอาจไม่ใช่การหมุนสมวาร เพราะดวงจันทร์ยูโรปาหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดการกระจายที่ไม่สมดุลของมวลภายในดวงจันทร์ยูโรปา และการมีน้ำในรูปของเหลวอยู่ระหว่างเปลือกน้ำแข็งและแกนหินข้างใน[18]

วงโคจรที่เบี้ยวไปเล็กน้อยของดวงจันทร์ยูโรปา เกิดจากการรบกวนทางแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กาลิเลียนดวงอื่น ทำให้จุดที่มองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ จุดจอมฟ้าของยูโรปาแกว่งไปเล็กน้อย เมื่อดวงจันทร์ยูโรปาเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยูโรปาขยายตัวในทิศทางเข้าหาและออกจากดาวพฤหัสบดี เมื่อยูโรปาเคลื่อนห่างจากดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะลดลง ทำให้ยูโรปากลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นทรงกลมกว่า นอกจากนี้ดวงจันทร์ไอโอที่ส่งอิทธิพลกับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของยูโรปาอยู่ตลอดเวลา[19]ก็ทำให้เกิดแรงไทดัลขึ้น ทั้งสองปรากฏการณ์นี้ทำให้ภายในยูโรปาเปลี่ยนแปลงและเกิดความร้อน และอาจส่งผลให้มีมหาสมุทรอยู่ในรูปของเหลวได้[19][20]

นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์รอยแตกบนพื้นผิวน้ำแข็ง อันเป็นเอกลักษณ์ของยูโรปาว่าเกิดจากการที่ดวงจันทร์ดวงนี้เคยหมุนรอบตัวเองตามแกนที่เอียงมาก่อน หากสมมติฐานนี้เป็นจริง แกนที่เคยเอียงนี้จะสามารถอธิบายลักษณะพิเศษต่าง ๆ บนดวงจันทร์ดวงนี้ได้หลายอย่าง เช่น ร่างแหของรอยร้าวขนาดมหึมาบนยูโรปาเป็นร่องรอยของความเค้นของพื้นผิวที่เกิดจากคลื่นขนาดยักษ์ของมหาสมุทรภายในดวงจันทร์ เนื่องจากการเอียงของยูโรปาส่งอิทธิพลต่อการคำนวณและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในพื้นผิวน้ำแข็ง, ปริมาณความร้อนที่มหาสมุทรภายในสร้างขึ้น หรือแม้กระทั่งระยะเวลาที่มหาสมุทรเป็นของเหลว พื้นผิวของดวงจันทร์จำเป็นต้องยืดออกเพื่อทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกนั่นเอง[21]

ลักษณะทางกายภาพ

เมื่อเปรียบเทียบยูโรปา (ซ้ายล่าง) กับดวงจันทร์ (ซ้ายบน) และโลก (ขวา) ตามมาตราส่วนโดยประมาณ

ยูโรปามีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเล็กน้อย คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,100 กิโลเมตร (1,900 ไมล์) มันเป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นอันดับที่หกและวัตถุที่ใหญ่เป็นอันดับที่สิบห้าของระบบสุริยะ แม้ว่ายูโรปาจะมีมวลน้อยที่สุดในบรรดาดวงจันทร์กาลิเลี่ยนของดาวพฤหัส แต่ก็มีมวลมากกว่าดาวบริวารอื่น ๆ ในระบบสุริยะที่เล็กกว่ามันรวมกัน[22] ความหนาแน่นของยูโรปาบ่งบอกถึงองค์ประกอบพื้นฐานที่เป็นหินซิลิเกต คล้ายกันกับองค์ประกอบพื้นฐานของดาวเคราะห์ชั้นใน

โครงสร้างภายใน

เชื่อกันว่ายูโรปามีโครงสร้างชั้นนอกที่ประกอบไปด้วยน้ำหนาประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) โดยที่ด้านบนของชั้นเป็นเปลือกน้ำแข็ง และมีน้ำซึ่งอยู่ในสถานะของเหลวอยู่ข้างใต้ ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากยานอวกาศกาลิเลโอเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่ายูโรปามีสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี แสดงว่ายูโรปามีโครงสร้างบางอย่างที่นำกระแสไฟฟ้าได้อยู่ใต้เปลือกชั้นนอก[23] ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นมหาสมุทรน้ำเค็ม เปลือกน้ำแข็งส่วนหนึ่งผ่านการหมุนมาแล้วเกือบ 80° โดยประมาณ (เกือบจะเป็นการพลิกกลับหัว) ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากหากชั้นน้ำแข็งยึดติดกับชั้นแมนเทิลอย่างแน่นหนา[24] ยูโรปาน่าจะมีแกนกลางเป็นโลหะเหล็ก[25]

ลักษณะพื้นผิว

สีตามธรรมชาติโดยประมาณ (ซ้าย) และสีที่ได้รับการปรับแต่งแล้ว (ขวา) ภาพซีกด้านนำทิศทางโคจร

ยูโรปาเป็นหนึ่งในวัตถุที่เรียบที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพขนาดใหญ่เช่นภูเขาหรืออุกกาบาตอยู่ไม่มาก[26] อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีกล่าวว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรของยูโรปานั้นถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่มีลักษณะแหลมเรียกว่า เพนิเทนเทส (Penitentes) สูงราว 10 เมตร ซึ่งเกิดจากการที่บริเวณดังกล่าวมีดวงอาทิตย์อยู่ในทิศเหนือศีรษะโดยตรง น้ำแข็งจึงละลายในแนวดิ่ง[27] ร่างแหของเส้นที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นผิวของยูโรปาส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอลบีโด (albedo features) ที่ชี้ให้เห็นถึงภูมิประเทศที่ต่ำ ยูโรปามีหลุมอุกกาบาตอยู่ไม่มากเพราะพื้นผิวของมันค่อนข้างแข็งแรงและยังใหม่อยู่[28][29] เปลือกน้ำแข็งของยูโรปาทำให้อัตราส่วนสะท้อนของมันอยู่ที่ 0.64 ทำให้มันเป็นหนึ่งในดาวบริวารที่มีอัตราการสะท้อนแสงมากที่สุดในบรรดาดาวบริวารทั้งหมด[17][29] ซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นได้ถึงพื้นผิวที่ใหม่และมีพลัง โดยพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปามีอายุประมาณ 20 ถึง 180 ล้านปีเมื่อคำนวณจากความถี่ของการถูกดาวหางพุ่งชน[30] อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถอธิบายถึงลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปาทั้งหมดได้โดยสมบูรณ์[31]

ระดับการแผ่รังสีบนพื้นผิวของยูโรปามีค่าเทียบเท่ากับการได้รับปริมาณรังสี 5,400 มิลลิซีเวอร์ต (540 เรม) ต่อวัน[32] ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถทำให้มนุษย์เกิดอาการเจ็บป่วยร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในหนึ่งวัน[33]

ลิเนียบนดวงจันทร์ยูโรปาโดยยานอวกาศกาลิเลโอ
ภาพโมเสกจากยานอวกาศกาลิเลโอแสดงให้เห็นถึงลักษณะของลิเนีย, เนิน, หลุมบ่อ และภูมิประเทศที่ยุ่งเหยิงชื่อ โคนามารา เคออส (Conamara Chaos)

ลักษณะทางพื้นผิวที่โดดเด่นที่สุดบนยูโรปาคือ ลิเนีย (lineae) หรือ ลายเส้นยาวจำนวนมากที่ครอบคลุมไปทั่วดาว จากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดพบว่าขอบของรอยแตกมีการเคลื่อนที่อย่างสัมพันธ์กัน แถบเส้นที่มีขนาดใหญ่ที่มีระยะทางมากกว่า 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) มักจะเกิดริ้วลายที่มืดขนานกันไป[34] สมมติฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดกล่าวว่าลิเนียบนยูโรปา อาจเกิดจากการปะทุอย่างต่อเนื่องของน้ำแข็งที่อุ่นกว่าภายใต้พื้นผิวดวงจันทร์[35] คล้ายกันกับการเกิดของเทือกเขาสมุทรบนโลก รอยแตกหักแบบต่าง ๆ เหล่านี้มีสาเหตุมาจากการปะทุขึ้นโดยการแปรผันของแรงไทดัลซึ่งกระทำโดยดาวพฤหัส เนื่องจากยูโรปาถูกตรึงไว้ด้วยปรากฏการณ์ไทดัลล็อกกับดาวพฤหัสบดีอย่างเป็นระเบียบ และดังนั้นจึงรักษาทิศทางในการหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวพฤหัสบดีอยู่เสมอ รูปแบบความเครียดจึงควรมีรูปแบบที่ชัดเจนและคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตามมีเพียงรอยแตกที่อายุน้อยที่สุดของยูโรปาที่สอดคล้องกับรูปแบบที่คาดการณ์ไว้ รอยแตกอื่น ๆ ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในทิศทางที่ต่างกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ว่าพื้นผิวของยูโรปา หมุนเร็วกว่าภายในเล็กน้อย เหตุที่เป็นไปได้คือเนื่องจากมหาสมุทรใต้พื้นผิว โดยกลไกที่แยกตัวออกจากชั้นพื้นผิวของยูโรปา จากชั้นแมนเทิลที่เป็นหิน และผลกระทบของแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีบนเปลือกน้ำแข็งชั้นนอกของยูโรปา[36] การเปรียบเทียบภาพถ่ายยานอวกาศวอยเอจเจอร์ และกาลิเลโอ นั้นให้ความเป็นไปได้มากที่สุดในสมมติฐานของการเลื่อนไถลของชั้นผิวดาวนี้ การเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบของเปลือกนอกแข็งที่สัมพันธ์กับภายในของยูโรปา ใช้เวลาอย่างน้อย 12,000 ปี[37] การศึกษาภาพของวอยเอจเจอร์ และกาลิเลโอ ได้เปิดเผยหลักฐานการมุดตัวของพื้นผิวของยูโรปา ซึ่งบอกว่ารอยแตกมีความคล้ายคลึงกับแนวสันเขาในมหาสมุทร[38][39] ดังนั้นแผ่นเปลือกน้ำแข็งจึงมีความคล้ายคลึงกับแผ่นเปลือกธรณีภาคบนโลก ซึ่งจะม้วนตัวกลับลงไปในชั้นหินหลอมเหลวภายใน ขณะเดียวกันหลักฐานการแพร่กระจายของเปลือกที่แถบ[38] และการบรรจบกันที่พื้นที่อื่น[39] นับเป็นหลักฐานแรกของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ในดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก[40]

คุณสมบัติทางธรณีวิทยาอื่น ๆ

จุดพื้นที่สีคล้ำราบเรียบอาจเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำที่เป็นของเหลว ถูกปลดปล่อยทะลุผ่านพื้นผิวเมื่อน้ำแข็งมีอุณหภูมิสูงขึ้นและแตกออก พื้นที่ลักษณะขรุขระยุ่งเหยิงปะทุนูนขึ้น (เรียกว่าพื้นที่ของ "ความโกลาหล"; โคโนมารา เคออส, Conamara Chaos) จะถูกสร้างขึ้นจากแผ่นเปลือกที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยที่มีสีเข้มหลายชิ้นก่อตัวเรียงเป็นชั้น ๆ จะปรากฏเหมือนภูเขาน้ำแข็งในทะเลเยือกแข็ง[41]

สมมติฐานอีกทางหนึ่งชี้ให้เห็นว่า รอยนูน (lenticulae) แท้จริงแล้วเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ของความโกลาหล และที่อ้างว่าเป็นหลุม จุดและโดม เป็นการสังเคราะห์ข้อสรุปที่เกิดจากการตีความภาพที่มีความละเอียดต่ำจากยานกาลิเลโอในระยะแรกมากจนเกินไป ความหมายก็คือน้ำแข็งนั้นบางเกินไปที่จะรองรับแบบจำลองการก่อตัวของรอยนูนของชั้นเปลือก ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของหินหนืด

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "JPL HORIZONS solar system data and ephemeris computation service". Solar System Dynamics. NASA, Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 คำนวณจากค่าพารามิเตอร์พื้นฐานอื่น
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "Overview of Europa Facts". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1997-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
  4. 4.0 4.1 ใช้ค่ารัศมีเฉลี่ย
  5. Showman, A. P.; Malhotra, R. (1 October 1999). "The Galilean Satellites". Science. 286 (5437): 77–84. doi:10.1126/science.286.5437.77. PMID 10506564.
  6. See Geissler et al. (1998) in orbit section for evidence of non-synchronous orbit.
  7. Bills, Bruce G. (2005). "Free and forced obliquities of the Galilean satellites of Jupiter". Icarus. 175: 233–247. doi:10.1016/j.icarus.2004.10.028.
  8. 8.0 8.1 Yeomans, Donald K. (2006-07-13). "Planetary Satellite Physical Parameters". JPL Solar System Dynamics. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
  9. McFadden, Lucy-Ann; Weissman, Paul; Johnson, Torrence (2007). The Encyclopedia of the Solar System (2 ed.). Elsevier. p. 432. ISBN 9780080474984.
  10. McGrath (2009). "Atmosphere of Europa". ใน Pappalardo, Robert T.; McKinnon, William B.; Khurana, Krishan (บ.ก.). Europa. University of Arizona Press. ISBN 0-816-52844-6.
  11. Amos, Jonathan (May 2, 2012). "Esa selects 1bn-euro Juice probe to Jupiter". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
  12. Borenstein, Seth (March 4, 2014). "NASA plots daring flight to Jupiter's watery moon". AP News.
  13. 13.0 13.1 "Planet and Satellite Names and Discoverers". USGS.
  14. "Simon Marius (January 20, 1573 – December 26, 1624)". Students for the Exploration and Development of Space. University of Arizona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
  15. Marius, S. (1614). Mundus Iovialis anno M.DC.IX Detectus Ope Perspicilli Belgici.; Simon Marius, where he attributes the suggestion to Johannes Kepler
  16. Marazzini, Claudio (2005). "I nomi dei satelliti di Giove: da Galileo a Simon Marius (The names of the satellites of Jupiter: from Galileo to Simon Marius)". Lettere Italiane. 57 (3): 391–407.
  17. 17.0 17.1 "Europa, a Continuing Story of Discovery". Project Galileo. NASA, Jet Propulsion Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 1997. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
  18. Geissler, P. E.; Greenberg, R.; Hoppa, G.; Helfenstein, P.; McEwen, A.; Pappalardo, R.; Tufts, R.; Ockert-Bell, M.; Sullivan, R.; Greeley, R.; Belton, M. J. S.; Denk, T.; Clark, B. E.; Burns, J.; Veverka, J. (1998). "Evidence for non-synchronous rotation of Europa". Nature. 391 (6665): 368–70. Bibcode:1998Natur.391..368G. doi:10.1038/34869. PMID 9450751. S2CID 4426840.
  19. 19.0 19.1 Showman, Adam P.; Malhotra, Renu (1997). "Tidal Evolution into the Laplace Resonance and the Resurfacing of Ganymede" (PDF). Icarus. 127 (1): 93–111. Bibcode:1997Icar..127...93S. doi:10.1006/icar.1996.5669.
  20. "Tidal Heating". geology.asu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2006.
  21. Cook, Jia-Rui C. (September 18, 2013). "Long-stressed Europa Likely Off-kilter at One Time". jpl.nasa.gov.
  22. มวลของยูโรปา: 48×1021 กก. มวลของไทรทันรวมกับดวงจันทร์ที่เล็กกว่า: 39.5×1021 กก.)
  23. Phillips, Cynthia B.; Pappalardo, Robert T. (20 May 2014). "Europa Clipper Mission Concept:". Eos, Transactions American Geophysical Union. 95 (20): 165–167. doi:10.1002/2014EO200002. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
  24. Cowen, Ron (7 June 2008). "A Shifty Moon". Science News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2014-07-13.
  25. Kivelson, Margaret G.; Khurana, Krishan K.; และคณะ (2000). "Galileo Magnetometer Measurements: A Stronger Case for a Subsurface Ocean at Europa". Science. 289 (5483): 1340–1343. Bibcode:2000Sci...289.1340K. doi:10.1126/science.289.5483.1340. PMID 10958778.
  26. "Europa: Another Water World?". Project Galileo: Moons and Rings of Jupiter. NASA, Jet Propulsion Laboratory. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
  27. Ice blades threaten Europa landing
  28. Arnett, Bill (November 7, 1996). "Europa". astro.auth.gr.
  29. 29.0 29.1 Hamilton, Calvin J. "Jupiter's Moon Europa". solarviews.com.
  30. Schenk, Paul M.; Chapman, Clark R.; และคณะ (2004). Chapter 18: Ages and Interiors: the Cratering Record of the Galilean Satellites. Jupiter: The Planet, Satellites and Magnetosphere. Cambridge University Press. pp. 427 ff. ISBN 0-521-81808-7.
  31. "High Tide on Europa". Astrobiology Magazine. astrobio.net. 2007. สืบค้นเมื่อ 20 October 2007.
  32. Ringwald, Frederick A. (29 February 2000). "SPS 1020 (Introduction to Space Sciences)". California State University, Fresno. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-20. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) September 20, 2009 at the WebCite
  33. The Effects of Nuclear Weapons, Revised ed., US DOD 1962, pp. 592–593
  34. Geissler, P.E.; Greenberg, R.; Hoppa, G.; McEwen, A.; Tufts, R.; Phillips, C.; Clark, B.; Ockert-Bell, M.; Helfenstein, P.; Burns, J.; Veverka, J.; Sullivan, R.; Greeley, R.; Pappalardo, R.T.; Head, J.W.; Belton, M.J.S.; Denk, T. (September 1998). "Evolution of Lineaments on Europa: Clues from Galileo Multispectral Imaging Observations". Icarus. 135 (1): 107–126. Bibcode:1998Icar..135..107G. doi:10.1006/icar.1998.5980. S2CID 15375333.
  35. Figueredo, Patricio H.; Greeley, Ronald (February 2004). "Resurfacing history of Europa from pole-to-pole geological mapping". Icarus. 167 (2): 287. doi:10.1016/j.icarus.2003.09.016.
  36. Hurford, T.A.; Sarid, A.R.; Greenberg, R. (January 2007). "Cycloidal cracks on Europa: Improved modeling and non-synchronous rotation implications". Icarus. 186 (1): 218–233. Bibcode:2007Icar..186..218H. doi:10.1016/j.icarus.2006.08.026.
  37. Kattenhorn, Simon A. (2002). "Nonsynchronous Rotation Evidence and Fracture History in the Bright Plains Region, Europa". Icarus. 157 (2): 490–506. Bibcode:2002Icar..157..490K. doi:10.1006/icar.2002.6825.
  38. 38.0 38.1 Schenk, Paul M.; McKinnon, William B. (May 1989). "Fault offsets and lateral crustal movement on Europa: Evidence for a mobile ice shell". Icarus. 79 (1): 75–100. Bibcode:1989Icar...79...75S. doi:10.1016/0019-1035(89)90109-7.
  39. 39.0 39.1 Kattenhorn, Simon A.; Prockter, Louise M. (7 September 2014). "Evidence for subduction in the ice shell of Europa". Nature Geoscience. 7 (10): 762–767. Bibcode:2014NatGe...7..762K. doi:10.1038/ngeo2245.
  40. Dyches, Preston; Brown, Dwayne; Buckley, Michael (8 September 2014). "Scientists Find Evidence of 'Diving' Tectonic Plates on Europa". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
  41. Goodman, Jason C. (2004). "Hydrothermal plume dynamics on Europa: Implications for chaos formation" (PDF). Journal of Geophysical Research. 109 (E3): E03008. Bibcode:2004JGRE..109.3008G. doi:10.1029/2003JE002073. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya