Share to:

 

ทิวเขาบรรทัด

ทิวเขาบรรทัด
ทิวเขาพนมกระวาน
จุดสูงสุด
ยอดพนมอาออรัล
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,740 เมตร (5,709 ฟุต)
พิกัด12°00′N 103°15′E / 12.000°N 103.250°E / 12.000; 103.250
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว300 กม. (186 ไมล์) NW/SE
กว้าง70 กม. (43 ไมล์) NE/SW
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ทิวเขาบรรทัดตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
ทิวเขาบรรทัด
ทิวเขาบรรทัด
ทิวเขาพนมกระวานในกัมพูชา
ทิวเขาบรรทัดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทิวเขาบรรทัด
ทิวเขาบรรทัด
ทิวเขาบรรทัด (ประเทศไทย)
ประเทศกัมพูชาและประเทศไทย
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคแคมเบรียน[1]
ประเภทหินMetaconglomerate

ทิวเขาบรรทัด หรือ ทิวเขาพนมกระวาน (เขมร: ជួរភ្នំក្រវាញ, Chuŏr Phnum Krâvanh, อังกฤษ: Cardamom Mountains) เป็นทิวเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชาและทางทิศตะวันออกของประเทศไทย ทิวเขาส่วนใหญ่อยู่ในเขตแดนของประเทศกัมพูชา จุดสูงสุดอยู่ที่พนมอาออรัล (1,740 เมตร) อำเภอออรัล จังหวัดกำปงสปือ ประเทศกัมพูชา ยอดสูงสุดในไทยชื่อ เขาบรรทัด สูง 1,230 ม. นอกจากนี้ในไทยยังมีเขาสำคัญ คือ เขาแก้ว เขาทับกะได และเขาตาบาด

ทิวเขาเริ่มต้นที่ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านแนวเส้นแบ่งเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน กับ อำเภอขลุง เข้าอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด จนถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด จากนั้นทอดยาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เข้าหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด[2] ส่วนในกัมพูชา ผ่านจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา เข้าอำเภอวาลแวง จังหวัดโพธิสัตว์ จากนั้นเป็นแนวทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ใกล้กับทิวเขาด็อมเร็ย[3]

ทิวเขาบรรทัดเป็นชายแดนไทย–กัมพูชา[4] มีช่องเขาหลายแห่งที่เป็นรู้จักกันดีในทางประวัติศาสตร์อย่าง ช่องเรือแตก บริเวณเมืองปราจีนบุรี ซึ่งเมื่อเทียบกับช่องเขาในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคงเป็นหนึ่งในสามช่องเขาคือ ช่องสะแกราด ช่องบุกขนุน หรือช่องตะโก[5]

ข้อมูลของเวิลด์ไวลด์ไลฟ์ออนไลน์ระบุว่า ป่าในทิวเขาพนมกระวานเป็นป่าดิบชื้น กินพื้นที่โดยรวม 44,200 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรวมของพันธุ์สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 100 ชนิด แต่มีสัตว์หลายชนิดที่กำลังอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอันได้แก่ ช้างเอเชีย เสือดาว กระทิง กวาง เก้ง สมเสร็จ และชะนี สันนิษฐานว่าเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือสุมาตราและแรดชวา[6]

อ้างอิง

  1. "Cambodia Ecological Zonation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 3 (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : เดอะ เบสท์ เพรส แอนด์ ครีเอชั่น, 2560. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2563)
  3. Cardamom and Elephant Mountains (Cambodia) It does snow in these mountain rangesเก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-22. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.
  5. "ดงพญาไฟ". โคราชคนอีสาน.
  6. "กัมพูชาพบช้างป่าเอเชีย ออกกฎคุ้มครองพื้นติดไทย". ผู้จัดการออนไลน์.
Kembali kehalaman sebelumnya