Share to:

 

ธวัชชัย อนามพงษ์

ธวัชชัย อนามพงษ์
ธวัชชัย ใน พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2531, 2550–2561)
ประชากรไทย (2531–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2548)
ชาติไทย (2548–2550)
รวมพลังประชาชาติไทย (2561)
พลังประชารัฐ (2561–2564)
ภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกณิกา อนามพงษ์

ธวัชชัย อนามพงษ์ (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 8 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลผลิตเกษตรกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 อดีตประธานสภาจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี

ประวัติ

ธวัชชัย อนามพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ที่ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลบ้านป่าแดง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนท่าใหม่ "พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล"

ด้านครอบครัว สมรสกับนางกณิกา อนามพงษ์ มีบุตรชายคือ นายแสนคม อนามพงษ์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี เขต 3 พรรคเพื่อไทย

งานการเมือง

ธวัชชัย อนามพงษ์ เป็นสมาชิกสภาจัหวัด และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดัยชาติ โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535 (มีนาคม) ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง แต่ในปี พ.ศ. 2535 (กันยายน) เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เขาย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 รวมถึงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2544 เป็นสมัยที่ 5-6 และเมื่อพรรคชาติพัฒนา ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทยแล้ว เขาจึงอยู่ในสังกัดพรรคไทยรักไทยไปด้วย

ในปี 2548 เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งแต่แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย คือ นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ

เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 7 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงในปี พ.ศ. 2554 และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการส่งเสริมผลผลิตเกษตรกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

กระทั่ง พ.ศ. 2561 นายธวัชชัยให้สัมภาษณ์ว่าได้ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์มาสังกัด พรรครวมพลังประชาชาติไทย[1] แต่ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ [2][3] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]

ในปี พ.ศ. 2564 ได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. อดีตสส.ประชาธิปัตย์ ย้ายค่ายซบ 'รวมพลังประชาชาติไทย'
  2. ปชป.แตกแล้ว'ประมวล'ทิ้งประชาธิปัตย์ หันซบภูมิใจไทย
  3. “ธวัชชัย” เคือง “มาร์ค” ซบ พปชร.
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
Kembali kehalaman sebelumnya