Share to:

 

บุญเลิศ ไพรินทร์

บุญเลิศ ไพรินทร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

บุญเลิศ ไพรินทร์ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือที่เป็นที่รู้จักในนาม "โหร ส.ว."

ประวัติ

บุญเลิศ ไพรินทร์ หรือ ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ที่ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของนายจ้อย และนางพิศ ไพรินทร์ จบการศึกษาจากโรงเรียนแผนใหม่บางคล้า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแจ้ง), โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้นได้ทุนของจังหวัดศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากนั้นได้จบปริญญาตรีที่วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร และมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ และปริญญาเอก ด้านพฤติกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอร์เจีย สหรัฐ

การทำงาน

บุญเลิศ ไพรินทร์ เคยทำงานเป็นข้าราชการระดับ 10 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รวมทั้งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี โดยมีอีกบทบาทหนึ่ง คือ เป็นนักโหราศาสตร์ที่มักจะทำนายดวงชะตาของบ้านเมืองเสมอ ๆ ด้วย จนได้รับฉายาว่า "โหร ส.ว."[1]

ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต สังกัดพรรคพลังประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งประกอบด้วย อำเภอเมือง และอำเภอบางคล้า (เฉพาะบางตำบล) ซึ่งได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนน 32,647 ชนะคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม คือ นางสาวฐิติมา ฉายแสง น้องสาวของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่ได้คะแนน 27,679[2]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. โหรสว.ชี้ดวงอภิสิทธิ์รุ่ง-ทักษิณร่วงเก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
  2. พลิกล็อก!!!! สองพี่น้อง ฐิติมา-วุฒิพงศ์ ฉายแสง ปิ๋ว สอบตก สส.ฉะเชิงเทรา จากโอเคเนชั่น
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาและเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
Kembali kehalaman sebelumnya