ฐิติมา ฉายแสง
ฐิติมา ฉายแสง (เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[1] และเป็นน้องสาวของจาตุรนต์ ฉายแสง ประวัติฐิติมา ฉายแสง มีชื่อเล่นว่า เปิ้ล เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503[2] ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรสาวของนายอนันต์ และนางเฉลียว ฉายแสง เป็นน้องสาวของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรี ปัจจุบันสมรสกับปรีชา บุณยกิดา มีบุตร 2 คน ฐิติมา ฉายแสง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ด้านศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ และด้านบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทอร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา การทำงานฐิติมา ฉายแสง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวนายจาตุรนต์ ฉายแสง ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 ในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รวมถึงมีบทบาทในการอภิปรายในสภา จนกระทั่งได้รับฉายาจากนายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ว่า "นางมารร้าย"[3] ในวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2553 นางฐิติมา ฉายแสง เข้าร่วมการชุมนุม กับกลุ่ม นปช.[4] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ แต่พรรคถูกยุบเสียก่อน จึงทำให้เธอหมดสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง จึงลงพื้นที่ช่วยหาเสียงให้นายกิตติชัย เรืองสวัสดิ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 ฉะเชิงเทรา พรรคอนาคตใหม่ โดยให้สัมภาษณ์ว่า เพราะพรรคอนาคตใหม่ มีจุดยืนประชาธิปไตยที่แน่วแน่ ประกอบกับพื้นที่ที่ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ลงสมัครเป็นเขตพื้นที่เมือง ซึ่งมีนักศึกษาเยอะ วัยรุ่นเยอะ มีมหาวิทยาลัย มีโรงเรียนใหญ่ๆ หลายแห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนของคนรุ่นใหม่[6] ฐิติมากลับเข้าพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในรอบ 12 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|