ประเทือง ปานลักษณ์
นายประเทือง ปานลักษณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 3 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ประวัติประเทือง ปานลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่กิ่งอำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร (เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน[note 1]) เป็นบุตรของนายสุดจิตต์ กับนางถวิล ปานลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2512[3][4] ประกาศนียบัตรพัฒนาผู้จัดการระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การทำงานประเทือง ปานลักษณ์ เป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ระหว่างปี 2513 - 2526 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ (อยู่ในกลุ่มภาคเหนือ ร่วมกับนายบุญชู ตรีทอง นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายมนตรี ด่านไพบูลย์) และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 นายประเทือง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย ประเทือง ปานลักษณ์ เคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535[5] และมีผลงานสำคัญอาทิ การผลักดันโครงการระบบส่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาในจังหวัดลำพูน การก่อสร้างโกดังเก็บสินค้า และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. โดยสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัด (งบ ส.ส.) ในสมัยนั้น ประเทือง ปานลักษณ์ เป็นนักการเมืองที่ริเริ่มในการตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการสร้างถนนคู่ขนานกับทางรถไฟจากเชียงใหม่ ไฟยังลำพูน[6] จนเป็นที่มาของถนนเลียบทางรถไฟในปัจจุบัน ถึงแก่อนิจกรรมนายประเทือง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
หมายเหตุ
อ้างอิง
|