Share to:

 

สุรพล โทณะวณิก

สุรพล โทณะวณิก
สุรพล โทณะวณิก
สุรพล โทณะวณิก
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 (98 ปี)
สุรพล โทณะวณิก
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
คู่สมรสนงลักษณ์ โรจนพรรณ
ศรินศิริ โทณะวณิก
อาชีพนักประพันธ์เพลง, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2495–ปัจจุบัน
สังกัดกมลสุโกศล
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2540 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ประพันธ์)

สุรพล โทณะวณิก (เกิด 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469) เป็นนักประพันธ์เพลงไทยสากล และเพลงแปลง นักเขียนเรื่องสั้น นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย และยังเคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ มีผลงานประพันธ์เพลงที่สร้างชื่อเสียงคือเพลง "ใครหนอ" และยังมีผลงานประพันธ์เพลงร่วมกับ เอื้อ สุนทรสนาน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเพลง "ยามรัก" สุรพล โทณะวณิก ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ประพันธ์) ประจำปี พ.ศ. 2540

ประวัติ

สุรพล โทณะวณิก เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของขุนประทนต์คดี (หลี โทณะวณิก) และนางน้อย โทณะวณิก มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 6 ปี จึงกลายเป็นเด็กเร่ร่อนจนอายุ 13 ปี ได้ติดตามพระครูคุณรสศิริขันธ์ เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ไปอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์จนเรียนจบชั้น ม.3 แล้วย้ายไปอยู่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะย้ายกลับมากรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2492 สุรพล โทณะวณิก ทำงานที่โรงละครเวิ้งนครเกษม ได้รู้จักครูเพลง นักดนตรี และนักแสดงในวงการหลายท่านก่อนจะได้ไปช่วยงานกับ สุวัฒน์ วรดิลก และ ศักดิ์เกษม หุตาคม และได้ทำงานเขียนเรื่องสั้นให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายยี่ห้อ เช่น "เพลินจิต", "แสนสุข", "วันอาทิตย์", "ชาวกรุง" เป็นนักข่าวอาชญากรรม และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์

สุรพล โทณะวณิก เริ่มประพันธ์เพลงครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2495 มีผลงานเพลงบันทึกแผ่นเสียงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "ใครขโมยกางเกง" และ "ใครขโมยกระโปรง" ขับร้องโดย วิเชียร ภู่โชติ - ประชุม พุ่มศิริ "ลาแล้วแก้วตา", "บัวน้อยคอยรัก" และ "ในโลกแห่งความฝัน" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง "ใครหนอ", "ฟ้ามิอาจกั้น" และ "รักไม่รู้ดับ" ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์ "ยามรัก" (ประพันธ์ร่วมกับ เอื้อ สุนทรสนาน) และ "แม่เนื้ออุ่น" ขับร้องโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ "ท่าเตียน", "กลัวทำไมจน" และ "แตกดังโพละ" ขับร้องโดย มีศักดิ์ นาครัตน์

ผลงานเพลงในยุคหลัง เช่นเพลง "ลมรัก" และ "อยากลืมกลับจำ" ในปี พ.ศ. 2524 ขับร้องโดย เดอะฮอตเปปเปอร์ซิงเกอร์ (ผุสดี เอื้อเฟื้อ และ รุ่งพิรุณ เมธารมณ์) ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2526

สุรพล โทณะวณิก เคยมีผลงานกำกับภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2515 - 2516 เรื่อง ไอ้แกละเพื่อนรัก (2515) นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี นัยนา ชีวานันท์ และ อีหนู หรือ 13 สาว 11 บริสุทธิ์ (2516) นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล

สุรพล โทณะวณิก ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ประเภทคำร้อง และ ทำนองชนะเลิศ จากเพลง "ใครหนอ" ในปี พ.ศ. 2507 และเพลง "เพชรตัดเพชร" ในปี พ.ศ. 2509 จากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับการเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล - ประพันธ์) ประจำปี พ.ศ. 2540 และ ในปี พ.ศ. 2553 สุรพล โทณะวณิก ได้รับรางวัลเกียรติยศผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต จากในโครงการเพชรในเพลง กรมศิลปากร ครั้งที่ 7 จากเพลง ใครหนอ ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์ ได้รับในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

  • สาวน้อย (2501)
  • เขาชื่อกานต์ (2516) รับบทเป็น "สำเริง"

ผลงานกำกับภาพยนตร์

  • ไอ้แกละเพื่อนรัก (2515)
  • อีหนู (13 สาว 11 บริสุทธิ์) (2516)

เพลงประกอบภาพยนตร์

เมื่อครั้ง "เมืองไทย ภัทรถาวงศ์" นักค้นคว้าเพลงประกอบภาพยนตร์ และทีมงานหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มาสัมภาษณ์และได้ทำบัญชีรายชื่อเพลงประกอบภาพยนตร์ให้ตรวจทานเพื่อความถูกต้อง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
  • สามรักในปารีส (2499)
  • ไฟชีวิต (2499)
  • สุดหล้าฟ้าเขียว (2499)
  • ดาวประดับใจ (2500)
  • ยอดเยาวมาลย์ (2500)
  • เปียดื้อ (2500)
  • ม่วยจ๋า (2501)
  • โม่งแดง (2501)
  • เห่าดง (2501)
  • เลือดทาแผ่นดิน (2502)
  • ดวงใจที่รัก (2502)
  • สี่คิงส์ (2502)
  • แม่ (2502)
  • รอยเสือ (2502)
  • คนองปืน (2502)
  • น้ำตาทมิฬ (2503)
  • เสือเฒ่า (2503)
  • พสุธาที่ข้ารัก (2504)
  • อีก้อย (2504)
  • เสือเก่า (2506)
  • มือเสือ - ภาพยนตร์ประเทศเยอรมันนี (2506)
  • วันปืน (2507)
  • เลือดแค้น (2507)
  • ราชสีห์กรุง (2507)
  • ชายชาตรี (2507)
  • จอมใจ (2508)
  • เดือนร้าว (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • เพชรตัดเพชร (2509)
  • คนเหนือคน (2510)
  • แมวไทย (2511)
  • เจ้าหญิง (2512)
  • เมืองแม่หม้าย (2512)
  • แก้วสารพัดนึก (2514)
  • ดวง (2514)
  • รักกันหนอ (2514)
  • คนใจบอด (2514)
  • วิมานสลัม (2514)
  • วิวาห์พาฝัน (2514)
  • ไอ้แกละเพื่อนรัก (2515)
  • ตามรักตามล่า (2515)
  • เจ้าลอย (2515)
  • ระเริงชล (2515)
  • 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (2515)
  • โอ้รัก - ภาพยนตร์ประเทศอินโดนีเซีย (2515)
  • เขาชื่อกานต์ (2516)
  • ทอง (2516)
  • ท่าเตียน (2516)
  • เทพธิดาโรงแรม (2517)
  • คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
  • โซ่เกียรติยศ (2518)
  • ฝ้ายแกมแพร (2518)
  • เผ็ด (2518)
  • หัวใจราชสีห์ (2518)
  • แซ่บ (2519)
  • ขุนศึก (2519)
  • สันดานชาย (2519)
  • เสาร์ 5 (2519)
  • หงส์ทอง (2520)
  • ถล่มมาเฟีย (2520)
  • เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง (2520)
  • รักเต็มเปา (2521)
  • สิงห์สะเปรอะ (2521)
  • โตไม่โตซัดดะ (2521)
  • เท่งป๊ะต๊ะติ๊งโหน่ง (2521)
  • นักรักรุ่นกะเตาะ (2522)
  • คลื่นเสน่หา (2523)
  • ผ่าปืน (2523)
  • แม่แตงร่มใบ (2525)
  • ชมพู่แก้มแหม่ม (2529)

บทความบางข้อเขียนเกี่ยวกับ "สุรพล โทณะวณิก" ในบทเพลงประกอบภาพยนตร์ โดย "เมืองไทย ภัทรถาวงศ์" คัดลอกบางส่วนจาก "จดหมายข่าวหอภาพยนตร์" ฉบับที่ 22 เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2557

คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ต "วันดวลเพลง" ระหว่างสองศิลปินแห่งชาติ "ชาลี อินทรวิจิตร" - "สุรพล โทณะวณิก" ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2541)
  • คอนเสิร์ต "พลังแห่งรัก ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ณ ศาลาเฉลิมกรุง (วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545)
  • คอนเสิร์ต "เชิดชูครูเพลง สุรพล โทณะวณิก" ณ ศาลาเฉลิมกรุง (วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต "ใครหนอ 2 สุรพล โทณะวณิก" ณ ศาลาเฉลิมกรุง (วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต บันทึกแผ่นดิน ศิลปินแห่งชาติ "สุรพล โทณะวณิก" ตอน อยากบอกฟ้าดินว่า..รักไม่รู้ดับ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต "เพื่อครู" 2 ศิลปินแห่งชาติ "ชาลี อินทรวิจิตร" - "สุรพล โทณะวณิก" ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2563)

ผลงานการเขียนเพลง

อ้างอิง

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya