ปราสาทสระกำแพงน้อยปราสาทหินสระกำแพงน้อย ตั้งอยู่ภายในวัดสระกำแพงน้อย ติดกับถนนสายอุทุมพรพิสัย-ศรีสะเกษ (หมายเลข 226) ในเขตตำบลขยุง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะปราสาทปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นปรางค์เดี่ยวสร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ 11 เมตร ศิลปะการก่อสร้างแบบขอม ใช้เป็นเทวสถานสำหรับบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ
โบราณสถานแห่งนี้ เป็นอโรคยาศาล หรืออโรคยศาลา (โรงพยาบาล) หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1761) ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ตัวปรางค์ประธาน ยังค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ขาดการบูรณะ ส่วนโคปุระหรือกำแพงแก้วพังทลาย แต่ยังมีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งทับหลัง และโครงสร้างอื่น ๆ แต่ยังไม่ได้รับบูรณะและปรับแต่ง ในปัจจุบันน้ำในสระอโนดาตนี้ถูกใช้ในทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ[1] การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทสระกำแพงน้อย ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับปราสาทอีกหลายแห่งในจังหวัดขุขันธ์ (ชื่อในขณะนั้น)[2] การใช้งานน้ำจากสระน้ำบริเวณปราสาทสระกำแพงน้อยถูกนำมาใช้ในพระราชพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้นำน้ำจากสระน้ำบริเวณปราสาทสระกำแพงน้อยไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542, และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อสรงมูรธาภิเษกและอภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์[4] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำน้ำไปใช้ในพระราชพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้พลีกรรมตักน้ำจากสระน้ำบริเวณปราสาทสระกำแพงน้อย โดยวีรศักดิ์ วิจิตรแสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีพลีกรรม[4] อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปราสาทสระกำแพงน้อย
|