Share to:

 

ปลาแมกเคอเรล

ปลาแมกเคอเรล
การประมงพาณิชย์ทั่วโลก หน่วยเป็นล้านตัน
ตามรายงานของ FAO ปี 1950-2009[1] (เขียว) ปลาแมกเคอเรลในวงศ์ปลาอินทรี (น้ำเงิน) ปลาแมกเคอเรลนอกวงศ์ปลาอินทรี

ปลาแมกเคอเรล (อังกฤษ: mackerel ฟังการออกเสียง) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลหลายสปีชีส์โดยมากจากวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) แต่ปลาคล้ายปลาแมกเคอเรลในวงศ์ปลาหางแข็ง, วงศ์ Hexagrammidae และวงศ์ Gempylidae ก็เรียกว่าปลาแมกเคอเรลด้วย เป็นปลาพบทั้งในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อน ทั้งตามชายฝั่งและนอกชายฝั่งในมหาสมุทร ปลาแมกเคอเรลสปีชีส์ต่าง ๆ ปกติจะมีลายแนวตั้งที่หลังและมีหางเป็นง่าม ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า จึงไม่จัดเป็นปลาแมกเคอเรล

ปลาอาจอยู่แยกเป็นกลุ่มต่าง ๆ แบ่งโดยภูมิประเทศ ปลาบางส่วนอพยพเป็นฝูงใหญ่ไปตามชายฝั่งเพื่อหาที่วางไข่อันเหมาะสมในน้ำค่อนข้างตื้น หลังวางไข่แล้ว ปลาก็จะกลับไปตามทางที่ตนมาโดยเป็นกลุ่มเล็กลงไปยังที่หาอาหาร บ่อยครั้งใกล้ ๆ กับบริเวณน้ำผุดขึ้น (upwelling) จากที่นั้น ปลาอาจจะย้ายไปดยู่นอกฝั่งในน้ำลึกกว่าแล้วใช้เวลาในฤดูหนาวโดยไม่ค่อยทำอะไร ปลาฝูงอื่น ๆ อาจอพยพข้ามมหาสมุทร

ปลาแมกเคอเรลเล็ก ๆ เป็นเหยื่อของปลาล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่า รวมทั้งปลาแมกเคอเรลที่ใหญ่กว่าและปลาคอดแอตแลนติก[2] ฝูงนกทะเล วาฬ โลมา ฉลาม และปลาที่ใหญ่กว่าเช่น ปลาทูน่าและปลากระโทง จะตามฝูงปลาแมกเคอเรลไปเพื่อโจมตีพวกมันโดยวิธีที่ซับซ้อนและเป็นการร่วมมือกัน เนื้อปลาแมกเคอเรลมีกรดไขมันโอเมกา-3 สูง ดังนั้น มนุษย์ก็จึงล่ามันมาก สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ในปี 2009 มีการประมงปลาทางพาณิชย์ถึง 5 ล้านตัน[1] ส่วนคนจับปลาเป็นกีฬาก็ชื่นชอบความช่างสู้ของปลา king mackerel (Scomberomorus cavalla)[3]

สปีชีส์

มีปลากว่า 30 สปีชีส์ โดยหลักอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ที่ปกติเรียกว่าปลาแมกเคอเรล คำภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1300 ว่า "mackerel" หมายความว่า "มีเครื่องหมาย" หรือ "ด่างพร้อย" ได้มาจากคำฝรั่งเศสเก่า (Old French) คือ maquerel ซึ่งหมายถึง "แมงดา" หรือ "ผู้จัดหา" (หญิงเพื่อจุดประสงค์ทางเพศ) แม้นี่จะเชื่อมกับลักษณะของปลาได้อย่างไม่ชัดเจนแต่ปลาก็วางไข่อย่างขะมักเขม้นเป็นฝูง ๆ ใกล้ฝั่งและแนวคิดในสมัยกลางเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์ก็ค่อนข้างสร้างสรรค์[4]

วงศ์ปลาอินทรี

ปลาจากวงศ์ปลาอินทรี 21 สปีชีส์เรียกอย่างสามัญว่า ปลาแมกเคอเรล สปีชีส์ต้นแบบ (type species) ของปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีก็คือปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก Scomber scombrus ปลา Atlantic chub mackerel (Scomber colias) และปลาแมกเคอเรลแปซิฟิก (Scomber colias) เคยเชื่อว่าเป็นสปีชีส์ย่อยของสปีชีส์เดียวกัน แต่ในปี 1999 นักวิชาการใช้หลักฐานทางโมเลกุลและทางสัณฐานแยกสปีชีส์เหล่านั้นออกจากกัน[5] ปลาแมกเคอเรลเล็กกว่าและมีวงจรชีวิตสั้นกว่าปลาที่เป็นญาติใกล้ชิดกันคือ ปลาทูน่า ซึ่งก็อยู่ในวงศ์เดียวกัน[6][7]

Scombrini เป็นปลาแมกเคอเรล "แท้"

ปลาแมกเคอเรลแท้อยู่ในเผ่า Scombrini (ปลาแมกเคอเรลแท้)[8] เป็นเผ่าที่มีปลา 7 สปีชีส์ แต่ละสปีชีส์อยู่ในสกุลหนึ่งหรือสองสกุล คือ Scomber หรือ Rastrelliger (ปลาทู)[9][10]

ปลาแมกเคอเรลแท้ (เผ่า Scombrini)
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ยาวสุด
(ซม.)
ยาวทั่วไป
(ซม.)
หนักสุด
(กก.)
อายุมากสุด ระดับใน
โซ่อาหาร
Fish
Base
FAO สถานะ IUCN
ปลาทู Rastrelliger brachysoma
(Bleeker, 1851)
34.5 20 2.72 [11] [12] Data deficientData deficient[13]
ปลาทูปากจิ้งจก R. faughni
(Matsui, 1967)
20 0.75 3.4 [14] Data deficient Data deficient[15]
ปลาลัง R. kanagurta
(Cuvier, 1816)
35 25 4 ปี 3.19 [16] [17] Data deficient Data deficient[18]
ปลาซาบะ[19]
(Blue mackerel)
Scomber australasicus
(Cuvier, 1832)
44 30 1.36 4.2 [20] Least concern Least concern[21]
Atlantic chub mackerel S. colias
(Gmelin, 1789)
3.91 [22] Least concern Least concern[23]
Chub mackerel S. japonicus
(Houttuyn, 1782)
64 30 2.9 18 ปี 3.09 [24] [25] Least concern Least concern[26]
ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก S. scombrus
(Linnaeus, 1758)
66 12 ปี (ตะวันตก)
18 ปี (ตะวันออก)
3.65 [27] [28] Least concern Least concern[5]

Scomberomorini เป็นปลาแมกเคอเรลสแปนิช

ปลาแมกเคอเรลสแปนิช (Spanish mackerel) อยู่ในเผ่า Scomberomorini ซึ่งเป็นเผ่าพี่น้อง (sister tribe) ของปลาแมกเคอเรลแท้[29] เผ่านี้มีปลา 21 สปีชีส์โดย 18 สปีชีส์อยู่ในสกุล Scomberomorus (ปลาอินทรี)[30] 2 สปีชีส์อยู่ในสกุล Grammatorcynus[31] และสปีชีส์เดียวคือปลาวาฮูอยู่ในสกุลมีชนิดเดียวคือ Acanthocybium[32]

ปลาแมกเคอเรลสแปนิช (เผ่า Scomberomorini)
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ยาวสุด
(ซม.)
ยาวทั่วไป
(ซม.)
หนักสุด
(กก.)
อายุมากสุด ระดับใน
โซ่อาหาร
Fish
Base
FAO สถานะ IUCN
ปลาวาฮู Acanthocybium solandri
(Cuvier in Cuvier and Valenciennes, 1832)
250 170 83 4.4 [33] Least concern Least concern[34]
ปลาแมกเคอเรลฉลาม (Shark mackerel) Grammatorcynus bicarinatus
(Quoy & Gaimard, 1825)
112 13.5 4.5 [35] Least concern Least concern[36]
Double-lined mackerel G. bilineatus
(Rüppell, 1836)
100 50 3.5 4.18 [37] Least concern Least concern[38]
Serra Spanish mackerel Scomberomorus brasiliensis
(Collette, Russo & Zavala-Camin, 1978)
3.31 [39] Least concern Least concern[40]
King mackerel S. cavalla
(Cuvier, 1829)
184 70 45 14 ปี 4.5 [41] [42] Least concern Least concern[43]
ปลาอินทรีบั้ง S. commerson
(Lacepède, 1800)
240 120 4.5 [44] [45] Near threatened Near threatened[46]
Monterey Spanish mackerel S. concolor
(Lockington, 1879)
4.24 [47] Vulnerable Vulnerable[48]
ปลาอินทรีจุด S. guttatus
(Bloch & Schneider, 1801)
76 55 4.28 [49] [50] Data deficient Data deficient[51]
ปลาแมกเคอเรลเกาหลี (Korean mackerel) S. koreanus
(Kishinouye, 1915)
150 60 15 4.2 [52] Least concern Least concern[53]
Streaked Spanish mackerel S. lineolatus
(Cuvier, 1829)
80 70 4.5 [54] Least concern Least concern[55]
ปลาแมกเคอเรลสแปนิชแอตแลนติก (Atlantic Spanish mackerel) S. maculatus
(Mitchill, 1815)
91 5.89 5 ปี 4.5 [56] [57] Least concern Least concern[58]
Papuan Spanish mackerel S. multiradiatus
Munro, 1964
35 0.5 4.0 [59] Least concern Least concern[60]
Australian spotted mackerel S. munroi
(Collette & Russo, 1980)
104 10.2 4.3 [61] Near threatened Near threatened[62]
Japanese Spanish mackerel S. niphonius
(Cuvier, 1832)
100 7.1 4.5 [63] [64] Data deficient Data deficient[65]
Queen mackerel S. plurilineatus
Fourmanoir, 1966
120 12.5 4.2 [66] Data deficient Data deficient[67]
Queensland school mackerel S. queenslandicus
(Munro, 1943)
100 80 12.2 4.5 [68] Least concern Least concern[69]
Cero mackerel S. regalis
(Bloch, 1793)
183 7.8 4.5 [70] Least concern Least concern[71]
Broadbarred king mackerel S. semifasciatus
(Macleay, 1883)
120 10 ปี 4.5 [72] Least concern Least concern[73]
Pacific sierra S. sierra
(Cuvier, 1832)
99 60 8.2 4.5 [74] Least concern Least concern[75]
ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร S. sinensis
(Cuvier, 1832)
247 100 4.5 [76] Data deficient Data deficient[77]
West African Spanish mackerel S. tritor
(Cuvier, 1832)
4.26 [78] Least concern Least concern[79]

ปลาแมกเคอเรลอื่น ๆ

อนึ่ง ปลาสปีชีส์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายปลาแมกเคอเรลในวงศ์ปลาหางแข็ง, วงศ์ Hexagrammidae และวงศ์ Gempylidae ปกติก็จะเรียกว่าปลาแมกเคอเรลด้วย มีกระทั่งความสับสนระหว่าง Pacific jack mackerel (Trachurus symmetricus) กับ Chilean jack mackerel (Trachurus murphyi) ที่จับกันมากกว่า เคยเชื่อว่าทั้งสองเป็นสปีชีส์เดียวกัน แต่ปัจจุบันจัดเป็นสปีชีส์ต่างหาก ๆ[80]

ปลาแมกเคอเรลสปีชีส์อื่น ๆ
วงศ์ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ยาวสุด
(ซม.)
ยาวทั่วไป
(ซม.)
หนักสุด
(กก.)
อายุมากสุด (ปี) ระดับใน
โซ่อาหาร
Fish
Base
FAO สถานะ IUCN
วงศ์ปลาอินทรี
Gasterochisma
Butterfly mackerel Gasterochisma melampus (Richardson, 1845) 175 153 4.4 [81] Least concern Least concern[82]
วงศ์ปลาหางแข็ง
Jack mackerel
Atlantic horse mackerel Trachurus trachurus (Linnaeus, 1758) 70 22 2.0 3.64 [83] [84] Not assessed
Blue jack mackerel T. picturatus (Bowdich, 1825) 60 25 3.32 [85] Data deficient Data deficient[86]
Cape horse mackerel T. capensis (Castelnau, 1861) 60 30 3.47 [87] [88] Not assessed[89]
Chilean jack mackerel T. murphyi (Nichols, 1920) 70 45 16 3.49 [90] [91] Data deficient Data deficient[92]
Cunene horse mackerel T. trecae (Cadenat, 1950) 35 2.0 3.49 [93] [94] Not assessed
Greenback horse mackerel T. declivis (Jenyns, 1841) 64 42 25 3.93 [95] [96] Not assessed[97]
Japanese horse mackerel T. japonicus (Temminck & Schlegel, 1844) 50 35 0.66 12 3.4 [98] [99] Not assessed
Mediterranean horse mackerel T. mediterraneus (Steindachner, 1868) 60 30 3.59 [100] [101] Not assessed
Pacific jack mackerel T. symmetricus (Ayres, 1855) 81 55 30 3.56 [102] Least concern Least concern[103]
Yellowtail horse mackerel T. novaezelandiae (Richardson, 1843) 50 35 25 4.5 [104] Not assessed
Gempylidae
Snake mackerel
Black snake mackerel Nealotus tripes (Johnson, 1865) 25 15 4.2 [105] Not assessed
Blacksail snake mackerel Thyrsitoides marleyi (Fowler, 1929) 200 100 4.19 [106] Not assessed
Snake mackerel Gempylus serpens (Cuvier, 1829) 100 60 4.35 [107] Not assessed
Violet snake mackerel Nesiarchus nasutus (Johnson, 1862) 130 80 4.33 [108] Not assessed
* White snake mackerel Thyrsitops lepidopoides (Cuvier, 1832) 40 25 3.86 [109] Not assessed
Hexagrammidae ปลาฮกเกะ (Okhotsk atka mackerel) Pleurogrammus azonus (Jordan & Metz, 1913) 62 1.6 12 3.58 [110] [111] Not assessed
Atka mackerel P. monopterygius (Pallas, 1810) 56.5 2.0 14 3.33 [112] Not assessed
ภาพนิ่งมีปลาแมกเคอเรล เลมอน และมะเขือเทศ โดยฟินเซนต์ ฟัน โคค ปี 1886

คำภาษาอังกฤษว่า "mackerel" ยังใช้เป็นคำวิเศษณ์สำหรับชื่อสามัญของปลาอื่น ๆ บางครั้งเพื่อบ่งว่าปลามีลายแนวตั้งคล้ายกับปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรี ปลารวมทั้ง

  • Mackerel icefish—Champsocephalus gunnari
  • Mackerel pike—Cololabis saira
  • ปลาทูแขกDecapterus macarellus
  • Mackerel shark—มีหลายสปีชีส์
  • Shortfin mako shark—Isurus oxyrinchus
  • Mackerel tuna—Euthynnus affinis
  • Mackerel tail goldfish—Carassius auratus

โดยนัยเดียวกัน ชื่อก็ยังใช้ในสัตว์อื่น ๆ เช่น แมวลาย คือ mackerel tabby cat[113] และในวัตถุไม่มีชีวิตอื่น ๆ เช่น รูปเมฆที่ออกลาย ๆ คือ mackerel sky[114][115]

ลักษณะ

เหมือนปลาในวงศ์ปลาอินทรีอื่น ๆ ปลาแมกเคอเรล เช่น ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกว่ายน้ำได้เก่งมาก และสามารถหดครีบเข้าไปในร่องที่ตัวเพื่อทำให้ตัวเพรียวขึ้น มีหางเป็นง่าม ตัวเล็กและบางกว่าปลาทูน่า[116][117]

ปลาแมกเคอเรลโดยมากอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี โดยปลาทูน่าและปลาโบนิโต (bonito, ปลาเผ่า Sardini) ก็รวมอยู่ในวงศ์ด้วย โดยทั่วไปแล้ว ปลาแมกเคอเรลจะเล็กและบางกว่าปลาทูน่า แต่มีลักษณะอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กัน ถ้ามีเกล็ด ก็จะเล็กมาก เหมือนกับปลาทูน่าและโบนิโต ปลาแมกเคอเรลกินจุมาก สามารถว่ายน้ำได้เร็วและคล่องแคล่ว สามารถทำให้ตัวเพรียวโดยหดครีบเข้าไปในร่องตามตัว เหมือนกับปลาอินทรีอื่น ๆ ตัวเป็นรูปทรงกระบอก มีครีบเล็ก ๆ ตามหลังและท้องโดยอยู่หลังครีบหลัง (dorsal fin) และครีบก้น (anal fin) แต่ไม่เหมือนกับปลาทูน่าที่ใหญ่กว่า ครีบเหล่านี้ค่อนข้างบาง[116] สปีชีส์ต้นแบบของแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีก็คือปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกสปีชีส์ Scomber scombrus ซึ่งมีสีเขียว-น้ำเงินเลื่อมพรายที่หลังและสีเงินที่ท้อง มีลายหยักเกือบเป็นแนวตั้งตลอดตัวบนหลัง[27][118]

ลายเด่นที่หลังปลาอาจดูเหมือนจะเพื่อพรางตัวไม่ให้แตกต่างกับพื้นหลังรอบ ๆ ปลา แต่จริง ๆ ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะปลาอยู่ในเขตต่ำลึกกลาง ๆ (midwater pelagic) ซึ่งไม่ปรากฏพื้นหลัง[119] แต่ปลามีรีเฟล็กซ์ตามมองวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ (optokinetic reflex) เป็นระบบการเห็นที่ไวต่อลายซึ่งกำลังเคลื่อนที่[120] เพราะถ้าปลาจะอยู่เป็นฝูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องมีกลไกลช่วยวางตัวให้เข้ากับปลาใกล้ ๆ และให้ว่ายน้ำเร็วเท่ากัน ลายของปลาใกล้ ๆ จึงเป็น "schooling marks" (สัญญาณฝูง) ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณให้รู้ถึงตำแหน่งโดยเปรียบเทียบ[119][121]

ปลา เช่น Pacific jack mackerel ปกติจะมีลายแนวตั้งที่ด้านข้างซึ่งเป็น "schooling marks" คือตัวช่วยให้อยู่รวมกันเป็นฝูงได้[119]

ลายของปลาแมกเคอเรลบางชนิดมีชั้นเกล็ดบาง ๆ ที่สะท้อนแสง ในปี 1998 นักชีววิทยาบางท่านอ้างว่า เกล็ดบาง ๆ เหล่านี้ให้ข้อมูลเพิ่มแก่ปลาอื่น ๆ ว่าปลากำลังเคลื่อนตัวอย่างไร เพราะเมื่อปลาเปลี่ยนทิศทางเทียบกับปลาอีกตัวหนึ่ง แสงสะท้อนที่ส่งไปยังปลาอีกตัวหนึ่งก็จะเปลี่ยนไปด้วย ความไวทิศทางเช่นนี้ทำให้ปลาได้ "ความได้เปรียบอย่างพอสมควรในการตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่เป็นฝูงหรือกินอาหาร"[122]

ปลาแมกเคอเรลเป็นตั้งแต่ปลาเหยื่อขนาดเล็ก (forage fish) จนถึงปลาที่ตกเป็นกีฬาซึ่งใหญ่กว่า (game fish) ปลาตามชายฝั่งมักจะตัวเล็ก[123] king mackerel เป็นตัวอย่างปลาแมกเคอเรลที่ใหญ่กว่า ปลาโดยมากเลือดเย็น แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้าง คือปลาบางสปีชีส์มีอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่า ปลากระดูกแข็งเลือดอุ่นล้วนอยู่ในอันดับย่อยปลาทูน่า (Scombroidei) ซึ่งรวม butterfly kingfish (Gasterochisma melampus) อันเป็นปลาแมกเคอเรลรูปแบบดึกดำบรรพ์[124]

ปลาแมกเคอเรลว่ายน้ำเก่ง ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกว่ายน้ำได้เร็ว 0.98 เมตร/วินาที (3.5 กม./ชม.) อย่างต่อเนื่อง (sustained) และเร็ว 5.5 เมตร/วินาที (19.8 กม./ชม.) ในระยะสั้น ๆ (burst)[125][126] เทียบกับ chub mackerel ที่ว่ายน้ำได้เร็ว 0.92 เมตร/วินาที (3.3 กม./ชม.) อย่างต่อเนื่อง และ 2.25 เมตร/วินาที (8.1 กม./ชม.) ในระยะสั้น ๆ[116]

การกระจายตัว

ปลา king mackerel ว่ายน้ำอพยพไปเรื่อย ๆ ที่ความเร็ว 10 กม./ชม.[127][128]

ปลาแมกเคอเรลโดยมากอยู่ในพื้นที่จำกัด[116]

  • ปลาแมกเคอเรลสแปนิชแอตแลนติก (Scomberomorus maculatus) อยู่ทางฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือเริ่มตั้งแต่เคปค้อดซึ่งอยู่ใต้คาบสมุทรยูกาตัน มีกลุ่มประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามเขตภูมิภาค เมื่อใกล้ถึงฤดูร้อน กลุ่มหนึ่งจะอพยพเป็นฝูงใหญ่ไปทางทิศเหนือตามชายฝั่งจากรัฐฟลอริดาเพื่อไปวางไข่ในน้ำตื้นที่ชายฝั่งนิวอิงแลนด์ แล้วก็จะกลับไปอยู่ในน้ำลึกของฟลอริดาในหน้าหนาว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอพยพเป็นฝูงใหญ่ตามชายฝั่งจากประเทศเม็กซิโกไปวางใข่ในน้ำตื้นในอ่าวเม็กซิโกตามชายฝั่งของรัฐเท็กซัส แล้วก็จะกลับไปอยู่ในน้ำลึกของเม็กซิโกในหน้าหนาว[57] ปลาสองกลุ่มนี้บริหารจัดการต่างกัน แม้จะเหมือนกับทางพันธุกรรม[58]
  • ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก (Scomber scombrus) เป็นปลาชายฝั่งที่พบในแอตแลนติกเหนือเท่านั้น แต่กลุ่มในมหาสมุทรด้านตะวันตกจะเป็นอิสระจากกลุ่มประชากรด้านตะวันออก กลุ่มด้านตะวันออกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทะเลเหนือ (North Sea) กลุ่มใต้ (southern) และกลุ่มตะวันตก (western) แต่ละกลุ่มมีรูปแบบอพยพที่ต่างกัน การผสมพันธุ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ด้านมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออกจะเกิดในที่หากินทางด้านทิศเหนือ แต่กลุ่มแอตแลนติกตะวันออกและตะวันตกจะไม่ผสมพันธุ์กัน[5][129][130][131][132]
  • สปีชีส์ชายฝั่งที่สามัญอีกสปีชีส์หนึ่งคือ chub mackerel (Scomber japonicus) ไม่มีอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกแต่อยู่กระจายไปทั่วในซีกโลกทั้งสองในมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปแบบการอพยพค่อนข้างคล้ายกับปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก คือในซีกโลกเหนือ ปลาจะอพยพไปทางทิศเหนือในฤดูร้อนไปยังที่ทำกิน และอพยพไปทางทิศใต้ในฤดูหนาวเพื่อวางไข่ในน้ำที่ตื้นกว่า ในซีกโลกใต้ รูปแบบการอพยพก็จะกลับกัน หลังจากวางไข่ ปลาบางกลุ่มจะอพยพลึกลงไปตามลาดทวีปแล้วอยู่ในฤดูหนาวโดยไม่ค่อยทำอะไร[24]
  • ปลา Chilean jack mackerel (Trachurus murphyi) ซึ่งเป็นปลาแมกเคอเรลที่ตกมากสุด จะพบในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ตั้งแต่ออสเตรเลียตะวันตกจนถึงชายฝั่งของประเทศชิลีและเปรู[90] ส่วนสปีชีส์พี่น้องกัน (sister species) คือ Pacific jack mackerel (Trachurus symmetricus) จะพบในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ Chilean jack mackerel จะอยู่ตามชายฝั่งบริเวณที่น้ำผุดขึ้น (upwelling) แต่ก็อพยพข้ามมหาสมุทรด้วย จำนวนของมันอาจต่างกันมากขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทร[92] โดยสภาพอากาศเอลนีโญจะมีผลเป็นพิเศษ

มีปลา jack mackerel 3 สปีชีส์ที่พบในทะเลชายฝั่งรอบ ๆ นิวซีแลนด์ คือ Greenback horse mackerel, Chilean jack mackerel และ Pacific jack mackerel ซึ่งมักจับด้วยอวนล้อมจับมีสายมาน (purse seine) แต่บริหารเหมือนกับเป็นปลากลุ่มเดียวโดยมีสปีชีส์หลายสปีชีส์[133]

มีปลาแมกเคอเรลบางพันธุ์ที่อพยพขึ้น ๆ ลง ๆ คือ snake mackerel จะอยู่ในน้ำลึกช่วงกลางวันและขึ้นมาบนผิวน้ำหากินเวลากลางคืน เป็นการอพยพที่เรียกว่า diel vertical migration ปลาที่ยังไม่โตเต็มที่ก็ทำอย่างเดียวกันแต่ในทิศทางตรงกันข้าม คือ อยู่ใกล้ผิวน้ำช่วงกลางวันแล้วไปอยู่ในน้ำลึกช่วงกลางคืน[134] สปีชีส์นี้กินหมึก กุ้งกั้งปูที่ผิวน้ำ ปลาตะเกียง ปลานกกระจอก ปลาวงศ์ Scomberesocidae และปลาแมกเคอเรลอื่น ๆ[135] ในนัยตรงกันข้าม ปลาทูน่าและปลากระโทงก็จะล่ามันกิน[136]

วงจรชีวิต

นกทะเล Gannet สกุล Morus และนกทะเลอื่น ๆ กำลังกินปลาแมกเคอเรล

ปลาแมกเคอเรลสืบพันธุ์โดยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ลงในน้ำ ซึ่งต้องทำใกล้ผิวน้ำเพราะไข่ของตัวเมียลอยน้ำ ตัวเมียจะวางไข่ระหว่าง 300,000-1,500,000 ฟอง[116] ไข่และตัวอ่อนของปลาจะลอยตัวเป็นอิสระในน้ำทะเล ตัวอ่อนและปลายังไม่โตจะกินแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) เมื่อโตขึ้นจะมีฟันคม จึงสามารถล่าสัตว์พวกกุ้งกั้งปู เช่น โคพีพอด (copepod), ปลาเหยื่อ (forage fish), กุ้ง และหมึก แต่มันก็จะเป็นเหยื่อของสัตว์ผิวน้ำรวมทั้งปลาทูน่า, billfish (ปลาในอันดับ Istiophoriformes), สิงโตทะเล, ฉลาม และนกวงศ์กระทุง[25][42][137]

ที่ชายฝั่งประเทศมาดากัสการ์ ปลาฉลามสปินเนอร์ (spinner shark, spinner shark) จะเฝ้าตามฝูงปลาแมกเคอเรลที่กำลังอพยพ[138] วาฬบรูด้าก็จะกินปลาด้วยถ้าหาเจอ โดยมีวิธีกินหลายอย่างรวมทั้งเฉี่ยวกินที่ผิวน้ำ (skimming the surface) อ้าปากพุ่งไปข้างหน้า (lunging) และร่วมกันสร้างกำแพงฟองอากาศล้อมปลาแล้วกิน (bubble net)[139]

การประมง

การจับปลาแมกเคอเรลทั่วโลกเป็นตันตามรายงานของ FAO ปี 1950-2009
↑ ปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรี[1]
↑ ปลาแมกเคอเรลที่ไม่ใช่วงศ์ปลาอินทรี[1]
ปลาเศรษฐกิจหลัก ๆ
chub mackerel เป็นปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีที่ตกมากที่สุด
Chilean jack mackerel ตกมากเกินไปจนกระทั่งกลุ่มประชากรอาจจะล้ม รูปนี้แสดงปลาทั้งฝูงราว 400 ตันถูกดักอยู่ในอวนล้อมมีสายมาน

ปลา Chub mackerel สปีชีส์ Scomber japonicus เป็นปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีที่จับมากที่สุด เป็นปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีครึ่งหนึ่งที่จับได้[1] สับสนได้ง่ายกับปลาแมกเคอเรลแอตแลนติก Chub mackerel อพยพเป็นระยะทางยาวไกลในมหาสมุทรและข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สามารถจับได้ด้วยอวนลอย (drift net) และอวนลาก (trawl) ที่เหมาะสม แต่ปกติจะจับด้วยอ้วนล้อม (surround net) มากที่สุดช่วงกลางคืนโดยล่อไฟ[140]

ปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีที่จับได้ที่เหลือจะเป็นปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกกับปลาแมกเคอเรลวงศ์ปลาอินทรีพันธุ์อื่น ๆ โดยสองกลุ่มนี้จับได้เท่ากัน ในกลุ่มปลาวงศ์ปลาอินทรี ปลา 75% ที่จับได้มาจากปลาสองพันธุ์[1] Chilean jack mackerel เป็นปลาแมกเคอเรลไม่ใช่ปลาอินทรีที่จับได้มากที่สุดโดยจับมากเท่า ๆ กับ chub mackerel[1][91] สปีชีส์นี้จับมากเกิน และประชากรปลาเสี่ยงว่าจะหมดไปอย่างรวดเร็ว[141][142]

ปลาแมกเคอเรลที่เล็กกว่ามีพฤติกรรมคล้ายปลาเฮร์ริง ดังนั้น ก็จะจับโดยวิธีเดียวกัน[143] ปลาเช่นนี้ ซึ่งอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ สามารถจับได้ด้วยอวนล้อมมีสายมาน (purse seining) เรือลำมหึมาอาจใช้เครื่องบินหาฝูงปลา แล้วเรือก็จะเข้าไปหาปลาโดยใช้ระบบโซนาร์ที่ทันสมัยเพื่อตรวจดูรูปร่างของฝูงปลา แล้วก็จะล้อมใช้เรือสำรองที่วิ่งได้เร็วซึ่งปล่อยอวนล้อมมีสายมานเมื่อวิ่งล้อมฝูงปลา[144][145]

เรือลากสายเบ็ด (troller) ที่เหมาะสมก็สามารถจับปลาแมกเคอเรลอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกันเมื่อปลาว่ายอยู่ตามผิวน้ำ โดยสายเบ็ดอาจลากด้วยเครื่องม้วนไฟฟ้าหรือไฮดรอลิก[146] อุปกรณ์เรียกปลา (Fish aggregating device) ก็อาจใช้เรียกปลาแมกเคอเรลเช่นกัน[147]

การบริหารประชากรปลา

มีการจับปลาเกินในทะเลเหนือทำให้ระบบนิเวศถึงความไม่สมดุลจนกระทั่งคนงานต้องเสียงานเพราะมีปลาไม่พอ[148]

ปลาแมกเคอเรลแอตแลนติกบนน้ำแข็งในร้านขายปลา

เขตตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐรวมอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติกด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่เคยจับปลา king mackerel และ atlantic Spanish mackerel มากเกินในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนมีกฎหมายจำกัดการจับปลารวมทั้งขนาดปลา บริเวณจับปลา และจำนวนปลาทั้งสำหรับผู้จับปลาเป็นพาณิชย์และเป็นกีฬา อวนติดตา (Gillnet) ก็ห้ามไม่ให้ใช้ในน่านน้ำรัฐฟลอริดา จนกระทั่งประชากรปลาได้กลับคืนมาในปี 2001[149]

เป็นอาหาร

ปลาแมกเคอเรลเป็นอาหารสำคัญที่บริโภคทั่วโลก[150] เพราะมีไขมันสูง จึงเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ดี[151] เนื้อปลาเสียเร็วโดยเฉพาะในเขตร้อน ซึ่งอาจทำให้อาหารเป็นพิษ (scombroid food poisoning) ดังนั้น จึงควรรับประทานในวันที่จับได้ ยกเว้นถ้าถนอมไว้อย่างถูกต้อง[152]

การถนอมปลาไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนการอัดปลากระป๋องและการแช่เย็นในคริสต์ทศวรรษที่ 19 การหมักเกลือและการรมควันเป็นวิธีหลักที่ใช้[153] ในประวัติประเทศอังกฤษ ปลาจะไม่ผ่านการถนอมอาหาร แต่จะกินสด ๆ เท่านั้น แต่ปลาเสียก็เป็นเรื่องสามัญ ทำให้มีนักเขียนถึงกับกล่าวไว้ว่า "มีการพูดถึงปลาแมกเคอเรลเหม็นในวรรณกรรมอังกฤษมากกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด"[143] ในประเทศฝรั่งเศส ปลามักจะหมักเกลือ จึงสามารถขายได้ทั่วประเทศ[143]

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ข้อมูลจาก FAO Species Fact Sheets
  2. Daan, N. (December 1973). "A quantitative analysis of the food intake of North Sea cod, Gadus Morhua". Netherlands Journal of Sea Research. 6 (4): 479–517. doi:10.1016/0077-7579(73)90002-1.
  3. King mackerel. Merriam-Webster's Collegiate Dictionary (11th ed.). Merriam Webster. 2008. p. 688. ISBN 9780877798095.
  4. "Mackerel". Online Etymology Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
  5. 5.0 5.1 5.2 Collette B; และคณะ (2011). "Scomber scombrus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  6. Juan-Jorda, MJ; Mosqueira, I; Cooper, AB; Freire, J; Dulvy, NK (2011). "Global population trajectories of tunas and their relatives". Proceedings of the National Academy of Sciences. 108 (51): 20650–20655. doi:10.1073/pnas.1107743108. PMID 22143785.
  7. "Tuna and mackerel populations have reduced by 60% in the last century". ScienceDaily. 2012-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-07.
  8. "Scombrini". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  9. "Scomber". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  10. "Rastrelliger". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  11. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Rastrelliger brachysoma" in FishBase. March 2012 version.
  12. "Species Fact Sheet: Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-18. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  13. Collette B; และคณะ (2011). "Rastrelliger brachysoma". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  14. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Rastrelliger faughni" in FishBase. March 2012 version.
  15. Collette B; และคณะ (2011). "Rastrelliger faughni". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  16. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Rastrelliger kanagurta" in FishBase. March 2012 version.
  17. "Species Fact Sheet: Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1817)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  18. Collette B; และคณะ (2011). "Rastrelliger kanagurta". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  19. ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์, ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. "Mackerel / ปลาแมกเคอเรล". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-03.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomber australasicus" in FishBase. March 2012 version.
  21. Collette B; และคณะ (2011). "Scomber australasicus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  22. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomber colias" in FishBase. March 2012 version.
  23. Collette B; และคณะ (2011). "Scomber colias". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  24. 24.0 24.1 Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomber japonicus" in FishBase. March 2012 version.
  25. 25.0 25.1 "Species Fact Sheet: Scomber japonicus (Houttuyn, 1782)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  26. Collette B; และคณะ (2011). "Scomber japonicus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  27. 27.0 27.1 Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomber scombrus" in FishBase. March 2012 version.
  28. "Species Fact Sheet: Scomber scombrus (Linnaeus, 1758)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  29. "Scomberomorini". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  30. "Scomberomorus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  31. "Grammatorcynus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  32. "Acanthocybium". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  33. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Acanthocybium solandri" in FishBase. December 2012 version.
  34. Collette B; และคณะ (2011). "Acanthocybium solandri". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.
  35. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Grammatorcynus bicarinatus" in FishBase. March 2012 version.
  36. Collette B, Fox W, Nelson R (2011). "Grammatorcynus bicarinatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  37. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Grammatorcynus bilineatus" in FishBase. March 2012 version.
  38. Collette B; และคณะ (2011). "Grammatorcynus bilineatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  39. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus brasiliensis" in FishBase. March 2012 version.
  40. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus brasiliensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  41. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus cavalla" in FishBase. March 2012 version.
  42. 42.0 42.1 "Species Fact Sheet: Scomberomorus cavalla (Cuvier, 1829)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  43. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus cavalla". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  44. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus commerson" in FishBase. March 2012 version.
  45. "Species Fact Sheet: Scomberomorus commerson (Lacepède, 1800)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  46. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus commerson". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  47. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus concolor" in FishBase. March 2012 version.
  48. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus concolor". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  49. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus guttatus" in FishBase. March 2012 version.
  50. "Species Fact Sheet: Scomberomorus guttatus (Bloch & Schneider, 1801)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  51. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus guttatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  52. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus koreanus" in FishBase. December 2012 version.
  53. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus koreanus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  54. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus lineolatus" in FishBase. March 2012 version.
  55. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus lineolatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  56. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus maculatus" in FishBase. March 2012 version.
  57. 57.0 57.1 "Species Fact Sheet: Scomberomorus maculatus (Mitchill, 1815)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  58. 58.0 58.1 Collette B; และคณะ (2011). "Scomber maculatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  59. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus multiradiatus" in FishBase. March 2012 version.
  60. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus multiradiatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  61. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus munroi" in FishBase. March 2012 version.
  62. Collette B; และคณะ (2011). "Scomber munroi". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  63. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus niphonius" in FishBase. March 2012 version.
  64. "Species Fact Sheet: Scomberomorus niphonius (Cuvier, 1831)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  65. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus niphonius". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  66. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus plurilineatus" in FishBase. December 2012 version.
  67. Collette B; และคณะ (2011). "Rastrelliger plurilineatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  68. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus queenslandicus" in FishBase. March 2012 version.
  69. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus queenslandicus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  70. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus regalis" in FishBase. December 2012 version.
  71. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus regalis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  72. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus semifasciatus" in FishBase. March 2012 version.
  73. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus semifasciatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  74. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus sierra" in FishBase. December 2012 version.
  75. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus sierra". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  76. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus sinensis" in FishBase. December 2012 version.
  77. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus sinensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  78. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Scomberomorus tritor" in FishBase. March 2012 version.
  79. Collette B; และคณะ (2011). "Scomberomorus tritor". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  80. Poulin, E; Cárdenas, L; Hernández, CE; Kornfield, I; Ojeda, FP (2004). "Resolution of the taxonomic status of Chilean and Californian jack mackerels using mitochondrial DNA sequence". Journal of Fish Biology. 65 (4): 1160–1164. doi:10.1111/j.0022-1112.2004.00514.x.
  81. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Gasterochisma melampus" in FishBase. December 2012 version.
  82. Collette, B.; Boustany, A.; Carpenter, K.E.; Di Natale, A.; Fox, W.; Graves, J.; Juan Jorda, M.; Miyabe, N.; Nelson, R.; Oxenford, H.; และคณะ (2011). "Gasterochisma melampus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  83. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus trachurus" in FishBase. March 2012 version.
  84. "Species Fact Sheet: Trachurus trachurus (Linnaeus, 1758)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  85. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus picturatus" in FishBase. March 2012 version.
  86. Smith-Vaniz B, Robertson R, Dominici-Arosemena A (2011). "Trachurus picturatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  87. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus capensis" in FishBase. March 2012 version.
  88. "Species Fact Sheet: Trachurus capensis (Castelnau, 1861)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  89. "Species Phallomedusa solida (Martens, 1878)". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Australian Biological Resources Study. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  90. 90.0 90.1 Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus murphyi" in FishBase. March 2012 version.
  91. 91.0 91.1 "Species Fact Sheet: Trachurus murphyi (Nichols, 1920)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  92. 92.0 92.1 Smith-Vaniz B, Robertson R, Dominici-Arosemena A (2010). "Trachurus murphyi". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  93. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus trecae" in FishBase. March 2012 version.
  94. "Species Fact Sheet: Trachurus trecae (Cadenat, 1949)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  95. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus declivis" in FishBase. March 2012 version.
  96. "Species Fact Sheet: Trachurus declivis (Jenyns, 1841)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-30. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  97. "Phallomedusa solida (Martens, 1878)". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Australian Biological Resources Study. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  98. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus japonicus" in FishBase. March 2012 version.
  99. "Species Fact Sheet: Trachurus japonicus (Temminck & Schlegel, 1844)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  100. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus mediterraneus" in FishBase. March 2012 version.
  101. "Species Fact Sheet: Trachurus mediterraneus (Steindachner, 1868)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  102. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus symmetricus" in FishBase. March 2012 version.
  103. Smith-Vaniz B, Robertson R, Dominici-Arosemena A (2011). "Trachurus symmetricus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  104. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Trachurus novaezelandiae" in FishBase. March 2012 version.
  105. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Nealotus tripes" in FishBase. March 2012 version.
  106. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Thyrsitoides marleyi" in FishBase. March 2012 version.
  107. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Gempylus serpens" in FishBase. March 2012 version.
  108. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Nesiarchus nasutus" in FishBase. March 2012 version.
  109. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Thyrsitops lepidopoides" in FishBase. March 2012 version.
  110. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Pleurogrammus azonus" in FishBase. March 2012 version.
  111. "Species Fact Sheet: Pleurogrammus azonus (Jordan & Metz, 1913)". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  112. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Pleurogrammus monopterygius" in FishBase. March 2012 version.
  113. "Glossary of definitions of cat terms for the breeder". Cats online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-07.
  114. Downing, L. L. (2013). Metereology of Clouds. p. 154.
  115. Ahrens, C. Donald; Henson, Robert (2015). Metereology Today. Cengage Learning. p. 153.
  116. 116.0 116.1 116.2 116.3 116.4 "FAO Fact Sheet: Biological characteristics of tuna". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06.
  117. "Species Fact Sheet: Atlantic mackerel (Scomber scombrus)". Nova Scotia Fisheries and Aquaculture. 2007-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14.
  118. "Atlantic mackerel". FishWatch. National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  119. 119.0 119.1 119.2 Denton, EJ; Rowe, DM (1998). "Bands against stripes on the backs of mackerel, Scomber scombrus L."" (PDF). Proc. R. Soc. Lond. B. 265: 1051–1058.
  120. Shaw, E; Tucker, A (1965). "The optomotor reaction of schooling carangid fishes". Animal Behaviour. 13 (2–3): 330–336. doi:10.1016/0003-3472(65)90052-7.
  121. Bone, Q; Moore, RH (2008). Biology of Fishes. Taylor & Francis Group. pp. 418–422. ISBN 978-0-415-37562-7.
  122. Rowe, DM; Denton, EJ (1997). "The physical basis of reflective communication between fish, with special reference to the horse mackerel, Trachurus trachurus". Phil. Trans. R. Soc. Lond. B. 352 (1353): 531–549. doi:10.1098/rstb.1997.0037. PMC 1691948.
  123. Lal, BV; Fortune, K (2000). The Pacific Islands: An encyclopedia. University of Hawaii Press. p. 8.
  124. Block, BA; Finnerty, JR (1993). "Endothermy in fishes: a phylogenetic analysis of constraints, predispositions, and selection pressures". Environmental Biology of Fishes. 40 (3): 283–302. doi:10.1007/BF00002518.
  125. Wardle, CS; He, P (1988). "Burst swimming speeds of mackerel, Scomber scombrus". Journal of Fish Biology. 32 (3): 471–478. doi:10.1111/j.1095-8649.1988.tb05382.x.
  126. Wardle, CS; He, P (1988). "Endurance at intermediate swimming speeds of Atlantic mackerel, Scomber scombrus L., herring, Clupea harengus L., and saithe, Pollachius virens L". Journal of Fish Biology. 33 (2): 255–266. doi:10.1111/j.1095-8649.1988.tb05468.x.
  127. "Pelagic species". Pelagic Freezer-trawler Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22.
  128. "Mackerel". Institute of Marine Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
  129. Uriarte, A; Alvarez, P; Iversen, S; Molloy, J; Villamor, B; Martíns, MM; Myklevoll, S (September 2001). Spatial pattern of migration and recruitment of North East Atlantic mackerel (PDF). ICES Annual Science Conference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-04.
  130. "Northeast Atlantic mackerel stocks". The FishSite. 2010-04-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
  131. "Atlantic mackerel (Scomber scombrus)". The Norwegian Ministry of Fisheries and Coastal Affairs. 2011-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-19.
  132. Walsh, M; Reid, DG; Turrell, WR (1995). "Understanding mackerel migration off Scotland: Tracking with echosounders and commercial data, and including environmental correlates and behaviour". Journal of Marine Science. 52 (6): 925–939. doi:10.1006/jmsc.1995.0089.
  133. "Jack Mackerel". NZ Forest and Bird. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-13.
  134. Burton, R. (2002). International Wildlife Encyclopedia. Marshall Cavendish. ISBN 978-0-7614-7266-7.
  135. McEachran, J.D. & Fechhelm, J.D. (2005). Fishes of the Gulf of Mexico: Scorpaeniformes to Tetraodontiformes. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-70634-7.
  136. Peterson, R.T.; Eschmeyer, W.N.; Herald, E.S. (1999). A Field Guide to Pacific Coast Fishes: North America. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0-618-00212-2.
  137. "Forage species". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
  138. Compagno, L.J.V. (1984). Sharks of the World: An Annotated and Illustrated Catalogue of Shark Species Known to Date. Rome: Food and Agricultural Organization. pp. 466–468. ISBN 978-92-5-101384-7.
  139. "Bryde's Whale (Balaenoptera edeni)". Noaa Fisheries, Office of Protected Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
  140. "Chub mackerel". Sicilian Fish on the Road. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
  141. "In mackerel's plunder, hints of epic fish collapse". The New York Times. 2012-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21.
  142. "Lords of the fish". iWatch News. 2012-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20.
  143. 143.0 143.1 143.2 Clapham, JH; Postan, MM; Rich, EE (1941). The Cambridge economic history of Europe. CUP Archive. pp. 166–168. ISBN 978-0-521-08710-0.
  144. "Fishing vessel types: Purse seiners". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
  145. Gabriel, O; von Brandt, A; Lange, K; Dahm, E; Wendt, T (2005). Seining in fresh and sea water. Fish catching methods of the world. Wiley-Blackwell. pp. 431–448. ISBN 9780852382806.
  146. "Fishing Vessel type: Trollers". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03.
  147. "The FAD FAQ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
  148. Clover, Charles (2004). The End of the Line: How overfishing is changing the world and what we eat. London: Ebury Press. ISBN 0-09-189780-7.
  149. "FISHERY COUNTRY PROFILE: THE UNITED STATES OF AMERICA" (PDF). FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-18.
  150. Croker, Richard Symonds (1933). The California mackerel fishery. Division of Fish and Game of California. pp. 9–10.
  151. Jersey Seafood Nutrition and Health, State of New Jersey Department of Agriculture, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01, สืบค้นเมื่อ 2012-04-06
  152. "Scombrotoxin (Histamine)". Food Safety Watch. November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13.
  153. Croker (1933), pp. 104–105

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya