กรดไขมันโอเมกา-3 ' (อังกฤษ : Omega-3 fatty acid, ω-3 fatty acid, n -3 fatty acid [ 1] )
เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fatty acid, PUFA)[ 2] [ 3]
ปลายข้างหนึ่งเป็นกรดคาร์บอกซิลิก (-COOH) ซึ่งจัดว่าเป็นต้นของโซ่ ดังนั้นจึงเรียกว่า อัลฟา ปลายอีกข้างเป็นเมทิล (methyl, -CH3 ) ซึ่งจัดว่าเป็นหางโซ่ ดังนั้น จึงเรียกว่า โอเมกา
วิธีการตั้งชื่อกรดไขมันอย่างหนึ่งก็คือโดยตำแหน่งของพันธะคู่ แรกนับจากหางโซ่ คือจากปลายโอเมกา (ω-) หรือปลาย n-
ดังนั้น กรดไขมันโอเมกา-3 จึงมีพันธะคู่ระหว่างอะตอม คาร์บอน ตำแหน่งที่สามกับสี่นับจากหางโซ่
แต่ระบบการตั้งชื่อสากลคือ IUPAC จะนับจากปลายที่เป็นคาร์บอกซิล
กรดไขมันโอเมกา-3 สามอย่างในร่างกายมนุษย์คือ กรดลิโนเลนิกอัลฟา (α-linolenic acid, ALA) ที่พบในน้ำมันพืช ,
eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) โดยทั้งสองพบอย่างสามัญในน้ำมันสัตว์/พืชทะเล[ 2]
สาหร่ายทะเลและแพลงก์ตอนพืช เป็นแหล่งหลักของกรดไขมันโอเมกา-3
ส่วนน้ำมันพืชที่มี ALA รวมทั้งวอลนัต , เมล็ดพืชที่ทานได้, น้ำมันเมล็ด Salvia sclarea (clary sage ในวงศ์กะเพรา ), น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ , น้ำมันต้น Plukenetia volubilis (Sacha Inchi), น้ำมันต้น Echium plantagineum (Echium) และน้ำมันกัญชง
น้ำมันสัตว์ที่มี EPA และ DHA รวมทั้งปลา , น้ำมันปลา , ไข่ จากไก่ ที่ได้อาหาร มี EPA และ DHA, น้ำมันปลาหมึก และน้ำมันเคย
แต่การทานอาหารเสริม เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ดูเหมือนจะไม่มีผลต่อความเสี่ยงตาย มะเร็ง และโรคหัวใจ [ 4] [ 5]
อนึ่ง งานศึกษาอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลาไม่ให้หลักฐาน สนับสนุนว่า สามารถป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือมีผลต่อโรคหลอดเลือด[ 6] [ 7]
กรดไขมันโอเมกา-3 สำคัญต่อเมแทบอลิซึม ปกติ[ 8]
แม้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะไม่สามารถสังเคราะห์กรดนี้ได้ แต่ก็ได้ ALA ที่มีโซ่สั้นกว่า (มีคาร์บอน 18 อะตอมและพันธะคู่ 3 คู่) จากอาหาร แล้วใช้สร้างกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ยาวว่าและสำคัญกว่า คือ EPA (มีคาร์บอน 20 อะตอมและพันธะคู่ 5 คู่) ซึ่งก็ใช้สร้าง DHA ที่สำคัญสุด[ 8]
แต่สมรรถภาพการสร้างกรดไขมันดโซ่ยาวจาก ALA อาจแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น[ 9]
กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นโครงสร้างทางไขมัน ที่สำคัญในสมอง และจอประสาทตา [ 10]
ในอาหารที่ถูกกับอากาศ กรดไขมันไม่อิ่มตัวไม่อิ่มตัวจะไวต่อกระบวนการออกซิเดชัน และการเหม็นหืน[ 11]
ผลต่อสุขภาพ
การทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 ดูเหมือนจะไม่ลดความเสี่ยงตายเพราะเหตุทั้งหมด[ 4] [ 12] [ 6]
มะเร็ง
การบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ของสัตว์ทะเลไร้หลักฐานที่ดีว่าช่วยลดความเสี่ยง มะเร็ง[ 8] [ 13]
โดยอาจยกเว้นมะเร็งเต้านม[ 8] [ 14] [ 15]
แต่การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมไม่มีหลักฐานพอว่ามีผลต่อมะเร็งต่าง ๆ[ 5] [ 16]
และผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยังไม่สามารถสรุปได้[ 8] [ 15]
คือความเสี่ยงจะลดลงเมื่อมี DPA (Docosapentaenoic acid) ที่สูงขึ้น แต่สำหรับมะเร็งที่โตเร็ว ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อค่ารวมของ EPA กับ DHA สูงขึ้น[ 17]
สำหรับคนไข้ มะเร็งระยะหลัง ๆ และมีอาการผอมแห้ง (cachexia) การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมอาจมีประโยชน์ เพราะเพิ่มความอยากอาหาร น้ำหนัก และคุณภาพชีวิต[ 18]
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด
หลักฐานโดยทั่วไปไม่สนับสนุนประโยชน์ของการทานกรดไขมันโอเมก้า 3[ 19] เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (รวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และหัวใจล้มแบบฉับพลัน [sudden cardiac death]) หรือโรคหลอดเลือดสมอง [ 4] [ 20] [ 21] [ 22]
งานวิเคราะห์อภิมาน ปี 2018 ไม่พบหลักฐานว่า การทานกรดไขมันโอเมกา-3 หนึ่งกรัม ต่อวัน ของคนไข้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันความตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดที่ไม่ถึงตาย หรือป้องกันปัญหาหลอดเลือดอื่น ๆ[ 6]
การทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมมากกว่าหนึ่งกรัมต่อวันอย่างน้อยปีหนึ่งอาจช่วยป้องกันความตายเพราะโรคหัวใจ การตายฉับพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดสำหรับคนไข้ที่มีประวัติโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[ 23]
แต่ไม่มีผลต้านการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือความตายเพราะเหตุทั้งหมดในประชากรกลุ่มนี้[ 23]
แม้การทานปลาซึ่งมีกรดไขมันโอเมกา-3 โซ่ยาวดูเหมือนจะลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง[ 24]
แต่การทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมก็ไม่พบว่ามีประโยชน์ต่อการเกิดเส้นเลือดมาเลี้ยงใหม่ (revascularization) หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ และไม่มีผลต่ออัตราการรับเข้า รพ. เพราะหัวใจวาย[ 25]
อนึ่ง งานศึกษาน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมไม่สามารถยืนยันข้ออ้างว่า มันช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[ 7]
หลักฐานแสดงว่า กรดไขมันโอเมกา-3 ลดความดันโลหิต (ทั้งช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว) เล็กน้อยสำหรับทั้งคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงและบุคคลปกติ[ 26]
หลักฐานบางส่วนแสดงว่า บุคคลที่มีปัญหาหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดดำขอด อาจได้ประโยชน์จากการบริโภค EPA และ DHA ซึ่งอาจกระตุ้นให้เลือดเดินและสลายโปรตีน fibrin ที่มีบทบาทในการจับลิ่มเลือดและการก่อแผลเป็น[ 27] [ 28]
กรดไขมันโอเมกา-3 ลดไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดแต่ก็ไม่เปลี่ยนระดับคอเลสเตอรอล แบบไม่ดี (LDL cholesterol ) หรือระดับคอเลสเตอรอล แบบดี (HDL cholesterol ) อย่างสำคัญในเลือด[ 29] [ 30]
สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA ) มีจุดยืนในปี 2011 ว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์ ที่เฉียดสูง คือที่ระหว่าง 150-199 mg/dL อาจลดได้ด้วยการทาน EPA และ DHA 0.5-1.0 กรัมต่อวัน
ส่วนไตรกลีเซอไรด์ที่จัดว่าสูงระหว่าง 200-499 mg/dL อาจได้ประโยชน์จากการทาน 1-2 กรัม/วัน
และที่มากกว่า 500 mg/dL อาจรักษาในการดูแลของแพทย์ด้วยการทานผลิตภัณฑ์ที่มีขนาด 2-4 กรัม/วัน [ 31]
ALA ไม่ได้มีผลดีต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจเหมือนกับ EPA และ DHA[ 32]
ส่วนผลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fatty acid) แบบโอเมกา-3 ต่อโรคหลอดเลือดสมองไม่ชัดเจน แต่อาจดีสำหรับหญิง[ 33]
การอักเสบ
งานปริทัศน์เป็นระบบ ปี 2013 พบหลักฐานเบื้องต้นถึงประโยชน์ในการลดระดับความอักเสบในผู้ใหญ่สุขภาพดีและบุคคลที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพว่ามีกลุ่มอาการเมแทบอลิซึม (metabolic syndrome)[ 34]
การบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 จากอาหารทะเลรลดตัวบ่งชี้การอักเสบในเลือด เช่น C-reactive protein, interleukin 6 และ TNF alpha[ 35]
สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ งานปริทัศน์เป็นระบบงานหนึ่งพบหลักฐานที่คงเส้นคงวาว่า ไขมัน n−3 PUFAs มีผลเล็กน้อยต่อาการต่าง ๆ เช่น "ข้อบวมและเจ็บ, ข้อแข็งตอนเช้า, ความเจ็บและปัญหาของโรคโดยทั่วไป" เมื่อใช้ร่วมกับยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID)[ 36]
วิทยาลัยวิทยารูมาติกอเมริกัน (American College of Rheumatology) กล่าวว่า การใช้น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์เล็กน้อย แต่อาจใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก่อนเห็นผล อาจมีผลข้างเคียง ทางกระเพาะลำไส้ และอาหารเสริมอาจมีปรอท หรือวิตามินเอ ในระดับที่เป็นพิษ
ส่วนศูนย์สุขภาพแบบผสมผสานแห่งชาติสหรัฐ (ฺNCCIH ) ได้สรุปว่า "ไม่มีอาหารเสริมใดที่แสดงประโยชน์ที่ชัดเจนต่อข้ออักเสบรูมาตอยด์" แต่มีหลักฐานเบื้องต้นว่า น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์ แต่ก็จำต้องศึกษาเพิ่มขึ้น[ 37]
ปัญหาทางพัฒนาการ
แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ให้ใช้เป็นการรักษาหลักสำหรับโรคซนสมาธิสั้น (ADHD ) โรคออทิซึม และปัญหาทางพัฒนาการอื่น ๆ[ 38] [ 39]
ก็มีการให้เด็กที่มีปัญหาเหล่านี้ทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริม[ 38]
ส่วนงานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งสรุปว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ปรับปรุงอาการ ADHD เล็กน้อย[ 40]
งานปริทัศน์แบบคอเคลนในเรื่อง PUFA (แต่อาจไม่ใช่แบบโอเมกา-3) เป็นอาหารเสริมพบว่า "มีหลักฐานน้อยว่า การทาน PUFA เป็นอาหารเสริมมีประโยชน์ต่ออาการ ADHD ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่"[ 41]
ส่วนงานปริทัศน์อีกงานหนึ่งพบว่า "ไม่มีหลักฐานพอเพื่อสรุปเรื่องการใช้ PUFA สำหรับเด็กที่ผิดปกติในการเรียนรู้ (learning disorder)"[ 42]
งานปริทัศน์อีกงานหนึ่งระบุว่า หลักฐานไม่สามารถสรุปเรื่องการใช้กรดไขมันโอเมกา-3 สำหรับความผิดปกติทางพฤติกรรมและทางประสาทจิตเวชที่ไม่ใช่ประสาทเสื่อม (behavior and non-neurodegenerative neuropsychiatric disorders) เช่น ADHD และโรคซึมเศร้า [ 43]
น้ำมันปลาอาจมีประโยชน์เล็กน้อยต่อความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด [ 44] [ 45]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2015 ในเรื่องผลของการทานกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมเมื่อตั้งครรภ์ ไม่ลดอัตราการเกิดก่อนกำหนด หรือทำให้ได้ผลที่ดีขึ้นในหญิงที่คลอดลูกเดี่ยวโดยไม่เคยมีลูกเกิดก่อนกำหนดมาก่อน[ 46]
งานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมานปี 2016 กลับได้ข้อสรุปตรงกันข้าม คือ กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลป้องกันการเกิดก่อนกำหนด[ 47]
สุขภาพจิต
มีหลักฐานบ้างว่า กรดไขมันโอเมกา-3 สัมพันธ์กับสุขภาพจิต [ 48]
รวมทั้งอาจใช้เป็นการรักษาเพิ่มสำหรับช่วงซึมเศร้าของโรคอารมณ์สองขั้ว [ 49]
แต่อาหารเสริมคือ EPA ก็มีประโยชน์สำคัญสำหรับเฉพาะคราวซึมเศร้า แต่ไม่ใช่สำหรับคราวฟุ้งพล่าน (mania) ซึ่งอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกรดไขมันโอเมกา-3 กับอารมณ์ซึมเศร้า [ 49]
มีหลักฐานเบื้องต้นด้วยว่า อาหารเสริมคือ EPA ช่วยในกรณีโรคซึมเศร้า [ 50]
ความสัมพันธ์ระหว่างไขมันโอเมกา-3 กับโรคซึมเศร้าอาจมีเหตุจากว่า ผลิตผลของการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการอักเสบ (เช่น prostaglandin E3) ซึ่งสัมพันธ์กับความซึมเศร้า[ 51]
ความสัมพันธ์กับการควบคุมการอักเสบได้พบในทั้งสภาพแวดล้อมที่ทำเทียมขึ้น (in vitro)[ 52]
และในร่างกาย (in vivo) โดยรวมงานวิเคราะห์อภิมานด้วย[ 34]
กลไกการออกฤทธิ์ต่อกระบวนการอักเสบโดยเฉพาะของกรดไขมันโอเมกา-3 ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[ 53]
อย่างไรก็ดี มีปัญหาการตีความวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เพราะปัญหาการระลึกได้ของผู้ร่วมการทดลอง (participant recall) และความแตกต่างอย่างเป็นระบบในเรื่องอาหาร[ 54]
มีข้อโต้แย้งถึงประสิทธิผลของกรดไขมันโอเมกา-3 คืองานวิเคราะห์อภิมานหลายงานแสดงผลต่าง ๆ กันซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยความเอนเอียงในการตีพิมพ์ [ 55] [ 56]
การทดลองรักษาแบบสั้น ๆ ยังมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับประสิทธิผลของกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อรักษาอาการซึมเศร้า ซึ่งแสดงความเอนเอียงเช่นนี้อีกด้วย[ 56]
งานศึกษาปี 2013 สรุปไว้ว่าดังนี้ "แม้หลักฐานซึ่งแสดงประโยชน์ของการรักษารูปแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะจะยังสรุปไม่ได้ สิ่งที่ได้ค้นพบก็แสดงนัยว่า อาจเป็นไปได้เพื่อยืดเวลาหรือป้องกันการกลายเป็นโรคจิต (psychosis)
ควรทำงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้พิสูจน์อย่างสรุปได้ถึงประโยชน์ที่อาจได้จากการรักษาทางจิตวิยาสำหรับบุคคลที่เสี่ยงสูงต่อโรคจิต"[ 57]
ความชราภาพทางประชาน
งานศึกษาทางวิทยาการระบาด ไม่สามารถสรุปผลของกรดไขมันโอเมกา-3 ต่อกลไกของโรคอัลไซเมอร์ [ 58]
มีหลักฐานในเบื้องต้นถึงผลดีต่อปัญหาทางอ่อน ๆ ประชาน แต่ไม่มีหลักฐานว่ามีผลต่อบุคคลที่สุขภาพดีหรือมีภาวะสมองเสื่อม [ 59] [ 60] [ 61]
การทำงานของสมองและสายตา
การทำงานของสมอง และสายตาต้องอาศัยการทาน DHA จากอาหารเพื่อสนับสนุนการทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเฉพาะเนื้อเทา (ในสมอง) ซึ่งมีเยื่อหุ้มเซลล์มาก[ 62] [ 63]
DHA เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งมีมากที่สุดในสมองเพราะเป็นองค์ประกอบทางโครงสร้างหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [ 64]
ยังศึกษากันอยู่ว่ามันอาจเป็นสารอาหารจำเป็นที่มีบทบาทในพัฒนาการทางประสาท ทางประชาน และของโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disorders)[ 62]
โรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (Atopic diseases)
ผลของการทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่และโซ่ยาวคือ LCPUFA เพื่อป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic diseases รวมทั้ง allergic rhinoconjunctivitis, atopic dermatitis และ allergic asthma) ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ
ดังนั้น จนถึงปี 2013 จึงยังไม่สามารถกล่าวได้ว่า การทานกรดไขมัน n−3 มีผลป้องกันหรือรักษาอย่างชัดเจน หรือว่าการทานกรดไขมัน n-6 มีผลสนับสนุนโรคภูมิแพ้กรรมพันธุ์[ 65]
ความเสี่ยงขาด
คนไข้โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) บ่อยครั้งทานกรดไขมันโอเมกา-3 น้อยเกิน เพราะต้องงดทานอาหารซึ่งมีโปรตีนสูงแต่ก็มีกรดไขมันโอเมกา-3 มากด้วย[ 66]
โรคหืด
จนถึงปี 2015 ยังไม่มีหลักฐานว่าการทานอาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ช่วยป้องกันปัญหาโรคหืดในเด็ก[ 67]
เคมี
โครงสร้างทางเคมีของ eicosapentaenoic acid (EPA)
โครงสร้างทางเคมีของ docosahexaenoic acid (DHA)
กรดไขมันโอเมกา-3 มีพันธะคู่ หลายคู่ คู่แรกอยู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนตำแหน่งที่ 3 กับ 4 จากปลายโซ่
กรดไขมันที่มีโซ่สั้นจะมีคาร์บอน 18 อะตอมหรือน้อยกว่า เทียบกับที่มีโซ่ยาวซึ่งจะมี 20 อะตอมหรือมากกว่า
กรดไขมันโอเมกา-3 สามรูปแบบที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายมนุษย์รวมทั้งกรดลิโนเลนิกอัลฟา (18:3, n -3; ALA), eicosapentaenoic acid (20:5, n -3; EPA) และ docosahexaenoic acid (22:6, n -3; DHA)[ 68]
โดยมีพันธะคู่ 3 คู่, 5 คู่ และ 6 คู่ในโซ่ที่มีคาร์บอน 18 อะตอม, 20 อะตอม และ 22 อะตอมตามลำดับ
เหมือนกับกรดไขมันที่มีตามธรรมชาติโดยมาก พันธะคู่จะอยู่ในรูปแบบ ซิส (cis) คือมีไฮโดรเจน 2 อะตอมอยู่ในด้านเดียวกันที่พันธะคู่
พันธะคู่แต่ละคู่จะไม่อยู่ติดกันเพราะมี methylene bridge คั่นอยู่ในระหว่าง ดังนั้น จึงมีพันธะเดี่ยวสองอันคั่นระหว่างพันธะคู่ที่อยู่ใกล้ ๆ กันสองคู่
รายการกรดไขมันโอเมกา-3
ตารางต่อไปนี้แสดงชื่อต่าง ๆ ของกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งสามัญที่สุดในธรรมชาติ
ชื่อสามัญ
ชื่อลิพิด
ชื่อเคมี
Hexadecatrienoic acid (HTA)
16:3 (n -3)
all -cis -7,10,13-hexadecatrienoic acid
α-Linolenic acid (ALA)
18:3 (n -3)
all -cis -9,12,15-octadecatrienoic acid
Stearidonic acid (SDA)
18:4 (n -3)
all -cis -6,9,12,15-octadecatetraenoic acid
Eicosatrienoic acid (ETE)
20:3 (n -3)
all -cis -11,14,17-eicosatrienoic acid
Eicosatetraenoic acid (ETA)
20:4 (n -3)
all -cis -8,11,14,17-eicosatetraenoic acid
Eicosapentaenoic acid (EPA)
20:5 (n -3)
all -cis -5,8,11,14,17-eicosapentaenoic acid
Heneicosapentaenoic acid (HPA)
21:5 (n -3)
all-cis -6,9,12,15,18-heneicosapentaenoic acid
Docosapentaenoic acid (DPA), Clupanodonic acid
22:5 (n -3)
all -cis -7,10,13,16,19-docosapentaenoic acid
Docosahexaenoic acid (DHA)
22:6 (n -3)
all -cis -4,7,10,13,16,19-docosahexaenoic acid
Tetracosapentaenoic acid
24:5 (n -3)
all -cis -9,12,15,18,21-tetracosapentaenoic acid
Tetracosahexaenoic acid (Nisinic acid)
24:6 (n -3)
all -cis -6,9,12,15,18,21-tetracosahexaenoic acid
รูปแบบ
กรดไขมันโอเมกา-3 มีอยู่สองรูปแบบในธรรมชาติ คือเป็นไตรกลีเซอไรด์ หรือฟอสโฟลิพิด
ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันโอเมกา-3 พร้อมกับกรดไขมันอื่น ๆ จะมีพันธะโคเวเลนต์ กับกลีเซอรอล (glycerol)
คือจะมีโซ่กรดไขมัน 3 สายเชื่อมกับกลีเซอรอล
ส่วนรูปแบบฟอสโฟลิพิดจะมีโซ่กรดไขมันสองสายเชื่อมติดกับหมู่ฟอสเฟต ด้วยกลีเซอรอล
ไตรกลีเซอไรด์สามารถแปลงเป็นกรดไขมันอิสระหรือเป็นเอสเทอร์แบบเมทิล (methyl) หรือเอทิล (ethyl)
ชีวเคมี
หน่วยขนส่ง (Transporter)
DHA ในรูปแบบของ lysophosphatidylcholine จะขนส่งไปยังสมองโดยโปรตีนขนส่งที่เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane transport protein) คือ MFSD2A ซึ่งแสดงออก เท่านั้นที่เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelium) ของตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (BBB )[ 69] [ 70]
กลไกการออกฤทธิ์
กรดไขมัน "จำเป็น" ได้ชื่อจากการพบว่า มันจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กและสัตว์วัยเยาว์
กรดไขมันโอเมกา-3 คือ DHA หรือ docosahexaenoic acid มีเป็นจำนวนมากในสมองมนุษย์[ 71]
ซึ่งสร้างด้วยกระบวนการเติมพันธะคู่ให้กรดไขมัน (desaturation) แต่มนุษยก์กลับไร้เอนไซม์ที่จำเป็น คือ desaturase ในกระบวนการนี้ ซึ่งออกฤทธิ์โดยเติมพันธะคู่เข้าที่ตำแหน่ง ω6 และ ω3 [ 71]
ดังนั้น กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่แบบ ω6 และ ω3 จึงไม่สามารถสังเคราะห์ได้ และจึงเรียกอย่างสมควรว่า เป็นกรดไขมันจำเป็นเพราะต้องได้จากอาหาร[ 71]
ในปี 1964 จึงพบว่า เอนไซม์ ที่พบในเนื้อแกะ สามารถเปลี่ยนกรด arachidonic acid แบบโอเมกา-6 ไปเป็นสารก่อการอักเสบคือ โพรสตาแกลนดิน E2 [ 72]
ซึ่งมีบทบาทในการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ[ 73]
เมื่อถึงปี 1979 จึงได้ระบุไอโคซานอยด์ (eicosanoid) รวมทั้ง thromboxane, prostacyclin และ leukotriene[ 73]
ไอโคซานอยด์ปกติจะมีฤทธิ์ช่วงสั้น ๆ ภายในร่างกาย เริ่มต้นที่การสังเคราะห์จากกรดไขมันแล้วยุติที่เมแทบอลิซึม ด้วยเอนไซม์
ถ้าอัตราการสังเคราะห์มากกว่าอัตราของเมแทบอลิซึม ไอโคซานอยด์ที่เกินไปอาจก่อความเสียหาย[ 73]
นักวิจัยยังพบด้วยว่า กรดไขมันโอเมกา-3 บางชนิดจะแปรเป็น eicosanoid และ docosanoid[ 74]
แม้ในอัตราที่ช้ากว่า
ถ้ามีทั้งกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ทั้งสองจะต้องแข่งกันแปรสภาพ[ 73]
ดังนั้น สัดส่วนกรดไขมันโซ่ยาวคือโอเมกา-3:โอเมกา-6 จึงมีผลโดยตรงต่อประเภทไอโคซานอยด์ที่สร้างขึ้น[ 73]
การแปรเป็นกันและกัน
ประสิทธิภาพการแปร ALA เป็น EPA และ DHA
มนุษย์สามารถเปลี่ยนกรดไขมันโซ่สั้นแบบโอเมกา-3 เป็นโซ่ยาว (คือ EPA และ DHA) โดยมีประสิทธิภาพน้อยกว่า 5%[ 75] [ 76]
หญิงมีประสิทธิภาพดีกว่าชาย แต่ก็มีงานศึกษากับหญิงน้อยกว่า[ 77]
ค่า ALA และ DHA ในฟอสโฟลิพิดของน้ำเลือดที่พบในหญิงอาจเป็นเพราะมีปฏิกิริยาของ desaturase มากกว่า โดยเฉพาะของ delta-6-desaturase[ 78]
การแปรสภาพเกิดแข่งกับกรดไขมันโอเมกา-6 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่เป็นแอนะล็อกทางเคมีที่แปรมาจากกรดลิโนเลอิก
กรดไขมันทั้งสองต่างก็ใช้โปรตีน desaturase และ elongase เดียวกันเพื่อสังเคราะห์โปรตีนควบคุมการอักเสบ[ 51]
ผลิตผลจากวิถีทางเคมีทั้งสองต่างก็จำเป็นต่อการเติบโต ทำให้การทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 อย่างสมดุลสำคัญต่อสุขภาพ[ 79]
โดยสัดส่วนที่ 1:1 เชื่อว่าดีสุดเพื่อให้โปรตีนสังเคราะห์ผลิตผลในวิถีทางเคมีทั้งสองให้ได้พอ แต่ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ[ 80]
การแปร ALA เป็น EPA แล้วต่อเป็น DHA พบว่าจำกัดในมนุษย์ แต่ก็ต่าง ๆ กันในแต่ละบุคคล[ 81] [ 82]
หญิงมีประสิทธิภาพการแปร ALA เป็น DHA ดีกว่าชาย[ 83]
ซึ่งเชื่อว่า เพราะมีอัตราการใช้ ALA ในกระบวนการ beta-oxidation (เป็นกระบวนการแคแทบอลิซึม ที่สลายโมเลกุล กรดไขมัน) ที่น้อยกว่า
งานศึกษาเบื้องต้นงานหนึ่งแสดงว่า สามารถเพิ่ม EPA โดยลดการทานกรดลิโนเลอิก และสามารถเพิ่ม DHA โดยการเพิ่มทาน ALA[ 84]
อัตรากรดไขมันโอเมกา-6:โอเมกา-3
อาหารมนุษย์ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในศตวรรษ ที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งทำให้ได้กรดไขมันโอเมกา-6 มากขึ้นเทียบกับโอเมกา-3[ 85]
การเปลี่ยนทานสัดส่วนกรดไขมันโอเมกา-3:โอเมกา-6 ไปจาก 1:1 เช่นดังที่เกิดในปฏิวัติเกษตรกรรมยุคหิน (Neolithic Agricultural Revolution) เชื่อว่าเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถปรับร่างกายซึ่งทำงานได้ดีสุดเมื่อได้อัตราส่วนนี้ได้[ 86]
นี่เชื่อว่าเป็นเหตุผลที่อาหารปัจจุบันมีสหสัมพันธ์ กับโรคก่อการอักเสบหลายอย่าง[ 85]
แม้กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่แบบโอเมกา-3 อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจในมนุษย์ แต่ระดับกรดไขมันกรดไขมันโอเมกา-6 ดูเหมือนจะไม่มีผลอะไร[ 80] [ 87]
ทั้งกรดไขมันโอเมกา-6 และโอเมกา-3 เป็นกรดจำเป็น มนุษย์ต้องได้พวกมันจากอาหาร
กรดไขมันทั้งสองซึ่งมีคาร์บอน 18 อะตอม ยังแข่งขันกันเพื่อเอนไซม์เดียวกันในกระบวนการเมแทบอลิซึม
ดังนั้น อัตราส่วนโอเมกา-6:โอเมกา-3 ที่ทานจึงมีอิทธิพลสำคัญต่อัตราส่วนและอัตราการผลิตไอโคซานอยด์ (eicosanoid) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบและธำรงดุลของร่างกาย เป็นฮอร์โมนรวมทั้งโพรสตาแกลนดิน , leukotriene และ thromboxane
ดังนั้น การเปลี่ยนอัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนสภาวะทางเมแทบอลิซึมและการอักเสบในร่างกาย[ 16]
โดยทั่วไป สัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะสะสมกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าสัตว์ที่เลี้ยงด้วยธัญพืช ซึ่งสะสมกรดไขมันโอเมกา-6 มากกว่า[ 88]
เมแทบอไลต์ ของกรดไขมันโอเมกา-6 (โดยเฉพาะ arachidonic acid) ก่อการอักเสบมากกว่ากรดไขมันโอเมกา-3
ทำให้การบริโภคอัตราส่วนโอเมกา-6:โอเมกา-3 ที่สมดุลเป็นเรื่องจำเป็น
ตามนักวิชาการบางพวก อัตราส่วนที่ถูกสุขภาพของโอเมกา-6:โอเมกา-3 อยู่ในพิสัย 1:1 จนถึง 1:4[ 89]
ส่วนนักวิชาการพวกอื่นเชื่อว่า อัตราส่วนที่ 4:1 (คือกรดไขมันโอเมกา-6 มากกว่าโอเมกา-3 ถึง 4 เท่า) ก็ถูกสุขภาพแล้ว[ 90] [ 91]
งานศึกษาแสดงว่า อาหารที่มนุษย์ได้วิวัฒนาการขึ้น ซึ่งมีเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 มาก อาจทำให้ได้อัตราส่วนดังที่ว่า[ 92] [ 93]
อาหารชาวตะวันตกทั่วไปให้อัตราส่วนระหว่าง 10:1 จนถึง 30:1 (คือ มีระดับกรดไขมันโอเมกา-6 สูงกว่าโอเมกา-3 มาก)[ 94]
อัตราส่วนของกรดไขมันโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ในน้ำมันพืช สามัญรวมทั้ง คาโนลา 2:1, กัญชง 2-3:1,[ 95]
ถั่วเหลือง 7:1, มะกอก 3-13:1, ทานตะวัน ไม่มีโอเมกา-3, แฟลกซ์ 1:3[ 96]
เมล็ดฝ้าย เกือบไม่มีโอเมกา-3, ถั่วลิสงไม่มีโอเมกา-3, เมล็ดองุ่นเกือบไม่มีโอเมกา-3 และข้าวโพด 46:1[ 97]
ประวัติ
แม้จะรู้ว่ากรดไขมันโอเมกา-3 จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แต่ความสำนึกถึงผลต่อสุขภาพก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[ 98] [ 99]
ปลายปี 2004 องค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้อนุญาตให้ใช้ข้ออ้างทางสุขภาพแบบมีเงื่อนไข (qualified health claim) ของกรดไขมันโอเมกา-3 คือ EPA และ DHA ว่า "มีผลวิจัยที่สนับสนุนแต่ยังสรุปไม่ได้ว่า การบริโภคกรดไขมัน EPA และ DHA อาจลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ "[ 100]
นี่เป็นการอัปเดตและเปลี่ยนคำแนะนำขององค์การจากปี 2001 (ดูต่อไป)
องค์กรตรวจสอบอาหารแคนาดายอมรับความสำคัญของกรดไขมันโอเมกา-3 และอนุญาตให้อ้างเช่นนี้คือ "DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 สนับสนุนพัฒนาการปกติของสมอง ตา และประสาทโดยหลักในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ"[ 101]
ในอดีต อาหารที่ไม่ได้แปรรูปมีกรดไขมันโอเมกา-3 เพียงพอ แต่เพราะกรดไขมันออกซิไดซ์ได้ง่าย และแนวโน้มการผลิตอาหารแปรรูปที่มีคุณภาพสินค้า (shelf life) นาน จึงทำให้อาหารที่ผลิตมีกรดไขมันโอเมกา-3 น้อยเกิน[ 102]
แหล่งอาหาร
ค่าแนะนำทางอาหาร
ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการแพทย์ (Institute of Medicine) เป็นผู้ตีพิมพ์ค่าอ้างอิงในเรื่องการทานอาหาร ซึ่งรวมค่าเฉลี่ยโภชนาการที่ควรได้รับแต่ละวัน (RDA ) ค่าเปอร์เซ็นต์พลังงานช่วงต่ำสุดจนถึงสูงสุดที่ควรได้รับจากอาหารแต่ละชนิด (AMDR ) เช่น ไขมัน
เมื่อไร้หลักฐานพอที่จะตั้งค่า RDA สถาบันอาจกำหนดค่าโภชนาการที่คนปกติควรได้รับ (AI ) ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ชัดเจนทางหลักฐานน้อยกว่า
AI สำหรับกรดลิโนเลนิกอัลฟา (α-linolenic acid) อยู่ที่ 1.6 กรัม/วันสำหรับชาย และ 1.1 กรัม/วันสำหรับหญิง โดยมีค่า AMDR ที่ 0.6-1.2% ของพลังงาน ทั้งหมดที่ได้รับ
เพราะ EPA และ DHA มีฤทธิ์ทางสรีรภาพมากกว่า ALA จึงไม่อาจประเมินค่า AMDR เป็นค่าเดียวสำหรับกรดไขมันโอเมกา-3 ทั้งหมด
10% ของ AMDR สามารถบริโภคเป็น EPA และ/หรือ DHA ได้[ 106]
สถาบันการแพทย์ไม่ได้ตั้งค่า RDA หรือ AI สำหรับ EPA, DHA และกรดไขมันผสม จึงไม่มีค่า Daily Value สำหรับฉลากอาหารและอาหารเสริม และไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมที่สามารถบอกได้ว่าเป็นแหล่งที่ดี[ต้องการอ้างอิง ]
ในเรื่องความปลอดภัย ไม่มีหลักฐานพอจนถึงปี 2005 เพื่อตั้งค่าสารอาหารสูงสุดที่บริโภคได้แต่ละวัน (upper tolerable limit) สำหรับกรดไขมันโอเมกา-3[ 106]
แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐจะแนะนำว่า ผู้ใหญ่สามารถบริโภค DHA และ EPA อย่างปลอดภัย 3 กรัม/วัน โดยไม่ควรได้เกิน 2 กรัมจากอาหารเสริม[ 8]
สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA ) แนะนำให้ทาน EPA และ DHA เพราะประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด บุคคลที่ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด ควรบริโภคปลาไขมันสูง 2 ครั้งต่ออาทิตย์
และให้ใช้เป็นการรักษาที่สมเหตุผล (Treatment is reasonable) สำหรับผู้ได้รับวินิจฉัย ว่าเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
สำหรับผู้ที่เป็นโรค AHA ไม่ได้แนะนำขนาดโดยเฉพาะ ๆ แต่ให้ข้อสังเกตว่า การทดลองโดยมากทดสอบที่ขนาด 1,000 มก./วัน
ประโยชน์น่าจะลดความเสี่ยงสัมพัทธ์ ได้ถึง 9%[ 107]
องค์การความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA ) ได้อนุมัติให้อ้างว่า "EPA และ DHA มีส่วนทำให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ" สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี EPA + DHA อย่างน้อย 250 มก.
แต่ก็ไม่ได้พูดถึงบุคคลที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว
ส่วนองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ทานปลาเป็นปกติ (1-2 ที่ต่ออาทิตย์ เท่ากับได้ EPA + DHA 500 มก./วัน) เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเหตุขาดเลือด (ischaemic stroke)
การปนเปื้อน
การสั่งสมโลหะเป็นพิษในปริมาณน้อย ๆ โดยเฉพาะจากปรอท ตะกั่ว นิกเกิล สารหนู และแคดเมียม เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการบริโภคอาหารเสริมคือน้ำมันปลา
แต่สารปนเปื้อนอื่น ๆ (รวมทั้ง PCBs , furan, dioxins และ PBDEs ) ก็อาจพบโดยเฉพาะน้ำมันปลาที่ไม่ทำให้บริสุทธิ์ดี[ต้องการอ้างอิง ]
แต่โลหะหนักเป็นพิษเพราะบริโภคน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมก็มีโอกาสน้อยมาก เพราะโลหะหนักเข้ายึดกับโปรตีนในเนื้อปลาได้ดียิ่งกว่าที่จะสะสมในน้ำมัน
งานทดลองอิสระในปี 2005 ตรวจสอบผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา 44 ตัวอย่างในสหรัฐ แล้วพบว่า ทั้งหมดผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเนื่องกับสิ่งปนเปื้อน[ 108]
องค์กรเพื่อโภชนาการที่เชื่อถือได้ (Council for Responsible Nutrition) และองค์การอนามัยโลก เป็นผู้ตีพิมพ์มาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนในในน้ำมันปลาตั้งแต่การเริ่มองค์กร
และที่เข้มงวดที่สุดในปัจจุบันก็คือมาตรฐานน้ำมันปลาสากล (International Fish Oils Standard)[ 109]
น้ำมันปลาที่กลั่นแยกในระดับโมเลกุล (molecular distillation) ในสุญญากาศ ปกติจะผ่านมาตรฐานระดับนี้
สิ่งปนเปื้อนที่ระบุปกติจะมีหน่วยเป็น "ส่วนต่อพันล้านหรือแสนล้านส่วน (parts per billion/trillion)"[ 110]
ปลา
แหล่งอาหารที่มี EPA และ DHA มากก็คือปลามีไขมันสูง (oily fish) เช่น ปลาแซลมอน , เฮร์ริง , แมกเคอเรล , กะตัก , ปลากลุ่ม menhaden (สกุล Brevoortia และ Brevoortia ) และซาร์ดีน
น้ำมันจากปลาเหล่านี้มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงเป็น 7 เท่าของกรดไขมันโอเมกา-6
ปลามีไขมันสูงอื่น ๆ เช่น ทูน่า ก็มีกรดไขมัน n -3 เยี่ยงนี้เช่นกันแต่น้อยกว่า
ผู้บริโภคปลามีไขมันสูงควรระวังเรื่องโลหะหนักและมลพิษที่ละลายไขมันได้อื่น ๆ เช่น PCBs และ dioxins ซึ่งมักจะสั่งสมยิ่ง ๆ ขึ้นตามลำดับโซ่อาหาร
แต่หลังจากทำการปริทัศน์อย่างละเอียด นักวิชาการคณะสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA (2006)[ 111]
โดยรายงานว่า ประโยชน์ของปลาคุ้มค่าความเสี่ยงกว่ามาก
แม้ปลาจะเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 แต่ปลาก็ไม่ได้สังเคราะห์เอง
เพราะได้มาจากสาหร่าย (โดยเฉพาะจากสาหร่ายเซลล์เดียว) หรือจากแพลงก์ตอน เนื่องกับอาหาร[ 112]
ในกรณีปลาเลี้ยง ปลาจะได้กรดไขมันมาจากอาหารเลี้ยงคือน้ำมันปลา
ในปี 2009 น้ำมันปลาที่ผลิตทั่วโลก 81% ใช้เลี้ยงพืชและสัตว์น้ำ[ 113]
แคปซูลน้ำมันปลา
น้ำมันปลา
น้ำมันปลาทะเลและน้ำจืดจะต่างกันโดย arachidonic acid, EPA และ DHA[ 114]
และจะมีผลต่างกันต่อลิพิดในอวัยวะของร่างกายต่าง ๆ กันด้วย[ 114]
ร่ายกายอาจนำน้ำมันปลาต่าง ๆ ไปใช้ได้ไม่เท่ากัน
งานศึกษา 4 งานได้เปรียบเทียบชีวปริมาณออกฤทธิ์ ของน้ำมันปลาในรูปแบบ glyceryl ester และ ethyl ester
งาน 2 งานสรุปว่า รูปแบบ glyceryl ester ที่มีตามธรรมชาติดีกว่า แต่งานที่เหลือไม่พบความต่างกันอย่างสำคัญ
แต่ก็ไม่มีงานใดที่พบว่ารูปแบบ ethyl ester นั้นดีกว่า แม้จะผลิตได้ในราคาถูกกว่า[ 115] [ 116]
เคย
น้ำมันเคย ก็เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 เหมือนกัน[ 117]
แม้น้ำมันเคยจะมี EPA + DHA น้อยกว่า (62.8%) แต่ก็พบว่า มีผลคล้ายกับน้ำมันปลาต่อระดับลิพิดในเลือดและต่อสารส่อการอักเสบในผู้ที่มีสุขภาพดี[ 118]
แม้จะไม่ใช่สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แต่เคยก็เป็นอาหารหลักของสัตว์ทะเลหลายอย่างรวมทั้งวาฬ ซึ่งทำให้เป็นห่วงในเรื่องความยั่งยืน [ 119] [ 120] [ 121]
แหล่งจากพืช
ชีอา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อเมล็ดที่มีกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA) สูง
เมล็ดแฟลกซ์มีน้ำมันลินซีด ซึ่งมีกรดลิโนเลนิกอัลฟาสูง
ตาราง 1. เปอร์เซ็นต์ กรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA ) ในน้ำมันเมล็ดพืช[ 122]
ตาราง 2. อัตราส่วน ของกรดลิโนเลนิกอัลฟาในอาหาร[ 85] [ 126]
เมล็ดแฟลกซ์ (หรือลินซีด) (Linum usitatissimum ) และน้ำมันของมันน่าจะเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 คือกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA) ซึ่งได้มากที่สุดจากพืช โดยปกติจะเป็น ALA 55% ทำให้มีกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าเป็น 6 เท่าของน้ำมันปลาโดยมาก[ 127]
ส่วนหนึ่งจากนี้ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น EPA กับ DHA แม้เปอร์เซ็นต์ที่เปลี่ยนอาจจะต่างกันระหว่างหญิงชาย[ 128]
ในปี 2013 สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร แห่งหนึ่งรายงานว่า ได้พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม วงศ์ผักกาด สกุล Camelina ที่ผลิตทั้ง EPA และ DHA
น้ำมันที่ได้จากเมล็ดพันธุ์หนึ่งจะมี EPA 11% และ DHA 8% โดยเฉลี่ย และมี EPA 24% ในอีกพันธุ์หนึ่ง[ 129] [ 130]
ไข่
ไข่ที่ได้จากไก่เลี้ยงด้วยพืช และแมลง จะมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าไก่ที่เลี้ยงด้วยข้าวโพด และถั่วเหลือง [ 131]
นอกจากจะเลี้ยงไก่ด้วยพืชและแมลง การใส่น้ำมันปลาในอาหารเลี้ยงก็จะเพิ่มความเข้มข้นของกรดไขมันโอเมกา-3 ในไข่[ 132]
การใส่เมล็ดแฟลกซ์และคาโนลาซึ่งต่างก็เป็นแหล่งกรดลิโนเลนิกอัลฟาที่ดีในอาหารของไก่ จะเพิ่มกรดไขมันโอเมกา-3 ในไข่ โดยหลัก DHA[ 133]
การเพิ่มสาหร่ายสีเขียวหรือสาหร่ายทะเลเข้าในอาหารจะเพิ่มทั้ง DHA และ EPA ซึ่งเป็นรูปแบบกรดไขมันโอเมกา-3 ที่องค์การอารหาและยาสหรัฐอนุมัติให้โฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพได้
สิ่งที่ผู้บริโภคบ่นมากที่สุดก็คือ "ไข่โอเมกา-3 บางครั้งจะเหม็นคาวถ้าไก่ได้อาหารเป็นน้ำมันสัตว์/พืชทะเล "[ 134]
เนื้อ
กรดไขมันโอเมกา-3 เกิดในคลอโรพลาสต์ ของพืชใบเขียว และสาหร่าย
ในขณะที่สาหร่ายทะเลและสาหร่ายจะเป็นต้นกำเนิดกรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีในปลา หญ้าก็เป็นต้นกำเนิดกรดไขมันที่พบในสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้า[ 135]
เมื่อให้วัวควายเลิกกินหญ้าที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูง แล้วส่งไปยังที่เลี้ยงขุนไขมันด้วยธัญพืชที่ขาดกรดไขมันโอเมกา-3 สัตว์ก็จะสูญไขมันดีที่สะสมเช่นนี้ไป
สัตว์ยิ่งอยู่ในที่เลี้ยงขุนไขมันนานเท่าไร ปริมาณกรดไขมันโอเมกา-3 ก็ลดลงเท่านั้น[ 136]
อัตราส่วนของกรดไขมันโอเมกา-6:โอเมกา-3 ของวัวควายที่เลี้ยงด้วยหญ้าอยู่ที่ 2:1 ซึ่งทำให้เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ดีกว่าเนื้อที่เลี้ยงด้วยธัญพืช ซึ่งปกติมีอัตราส่วนที่ 4:1[ 88]
งานศึกษาที่กระทรวงเกษตรสหรัฐ ร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในรัฐเซาท์แคโรไลนา ได้เปรียบเทียบเนื้อวัวควายที่เลี้ยงด้วยหญ้ากับที่เลี้ยงด้วยธัญพืช
นักวิจัยพบว่า เนื้อที่เลี้ยงด้วยหญ้าชุ่มชื้นกว่า, มีลิพิดน้อยกว่า 42.5%, มีไขมันรวมน้อยกว่า 54%, มีบีตา-แคโรทีน สูงกว่า 54%, มีวิตามินอี (alpha-tocopherol) สูงกว่า 288%, มีวิตามินบี คือ ไทอามีน และไรโบเฟลวิน สูงกว่า, มีแร่ธาตุคือแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม สูงกว่า, มีกรดไขมันโอเมกา-3 รวมสูงกว่า 193%, มีกรด CLA (cis-9, trans-11 octadecenoic acid) ซึ่งเป็น กรดลิโนเลอิกพันธะคู่สลับเดียว (conjugated) และอาจช่วยสู้กับมะเร็ง, มีกรด vaccenic (ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น CLA), มีไขมันอิ่มตัวที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจน้อยกว่า และมีอัตรากรดไขมันโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ที่ถูกสุขภาพกว่า (คือ 1.65 เทียบกับ 4.84)
ส่วนปริมาณโปรตีน และคอเลสเตอรอล จะเท่ากัน[ 88]
กรดไขมันโอเมกา-3 ในเนื้อไก่อาจเพิ่มได้โดยเลี้ยงไก่ด้วยธัญพืชที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงรวมทั้ง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดชีอา และเมล็ดคาโนลา[ 137]
เนื้อจิงโจ้ ก็เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ด้วยโดยเนื้อที่ไม่มีกระดูกจะมี 74 มก./เนื้อ 100 ก. [ 138]
น้ำมันแมวน้ำ
น้ำมันแมวน้ำเป็นแหล่ง EPA, DPA และ DHA ตามกระทรวงสุขภาพแคนาดา มันช่วยในพัฒนาการของสมอง ตา และประสาทในเด็กจนกระทั่งถึงอายุ 12 ขวบ[ 139]
แต่ผลิตภัณฑ์แมวน้ำทั้งหมดไม่สามารถนำเข้าสหภาพยุโรปได้[ 140]
แหล่งอื่น ๆ
ปัจจุบันมีแนวโน้มในการเสริมอาหารด้วยกรดไขมันโอเมกา-3
บริษัทอาหารทั่วโลกเริ่มวางขายผลิตภัณฑ์เสริมกรดไขมันโอเมกา-3 รวมทั้งขนมปัง มายองเนส พิซซ่า โยเกิร์ต น้ำส้ม พาสตา สำหรับเด็ก นม ไข่ ข้าวโพดคั่ว ขนมหวาน และนมผสมเลี้ยงทารก[ต้องการอ้างอิง ]
สาหร่ายเซลล์เดียว Crypthecodinium cohnii และ Schizochytrium มี DHA มาก แต่มี EPA น้อย และสามารถผลิตขายด้วยเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (bioreactor)
น้ำมันจากสาหร่ายชั้น Phaeophyceae (brown algae, kelp) ก็เป็นแหล่งโอเมก้า 3 6 9 EPA ด้วย[ 141]
สาหร่ายสกุล Nannochloropsis ก็เช่นกัน[ 142]
ในปี 2006 วารสารวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม Journal of Dairy Science ตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า เนย ที่ทำจากนมวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้ามีกรดลิโนเลนิกอัลฟา มากกว่าที่ทำจากนมวัวที่กินหญ้าน้อย[ 143]
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ "Omega−3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid: Related terms" . Omega−3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid . Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 2014-06-20 .
↑ 2.0 2.1
"Essential Fatty Acids" . Micronutrient Information Center, Oregon State University, Corvallis, OR. May 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24 .
↑
Scorletti, E; Byrne, CD (2013). "Omega−3 fatty acids, hepatic lipid metabolism, and nonalcoholic fatty liver disease". Annual Review of Nutrition . 33 (1): 231–48. doi :10.1146/annurev-nutr-071812-161230 . PMID 23862644 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 4.0 4.1 4.2
Rizos, EC; Ntzani, EE; Bika, E; Kostapanos, MS; Elisaf, MS (September 2012). "Association between omega-3 fatty acid supplementation and risk of major cardiovascular disease events: a systematic review and meta-analysis". JAMA . 308 (10): 1024–33. doi :10.1001/2012.jama.11374 . PMID 22968891 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 5.0 5.1
MacLean, CH; Newberry, SJ; Mojica, WA; Khanna, P; Issa, AM; Suttorp, MJ; Lim, YW; Traina, SB; Hilton, L; Garland, R; Morton, SC (2006-01-25). "Effects of omega−3 fatty acids on cancer risk: a systematic review" . JAMA: The Journal of the American Medical Association . 295 (4): 403–15. doi :10.1001/jama.295.4.403 . hdl :10919/79706 . PMID 16434631 . สืบค้นเมื่อ 2006-07-07 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 6.0 6.1 6.2 Aung, T; Halsey, J; Kromhout, D; Gerstein, HC; Marchioli, R; Tavazzi, L; Geleijnse, JM; Rauch, B; Ness, A; Galan, P; Chew, EY; Bosch, J; Collins, R; Lewington, S; Armitage, J; Clarke, R (March 2018). "Associations of Omega-3 Fatty Acid Supplement Use With Cardiovascular Disease Risks: Meta-analysis of 10 Trials Involving 77 917 Individuals" . JAMA Cardiology . 3 (3): 225–34. doi :10.1001/jamacardio.2017.5205 . PMC 5885893 . PMID 29387889 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 7.0 7.1 Grey, A; Bolland, M (March 2014). "Clinical trial evidence and use of fish oil supplements" . JAMA Internal Medicine . 174 (3): 460–62. doi :10.1001/jamainternmed.2013.12765 . PMID 24352849 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Omega−3 Fatty Acids and Health: Fact Sheet for Health Professionals" . US National Institutes of Health, Office of Dietary Supplements. 2016-11-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-05 .
↑ Freemantle, E; Vandal, M; Tremblay-Mercier, J; Tremblay, S; Blachère, JC; Bégin, ME; Brenna, JT; Windust, A; Cunnane, SC (2006). "Omega−3 fatty acids, energy substrates, and brain function during aging" . Prostaglandins, Leukotrienes and Essential Fatty Acids . 75 (3): 213–20. doi :10.1016/j.plefa.2006.05.011 . PMID 16829066 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hodge, W; Barnes, D; Schachter, HM; Pan, Y; Lowcock, EC; Zhang, L; Sampson, M; Morrison, A; Tran, K; Miguelez, M; Lewin., G (July 2005). "117Effects of Omega-3 Fatty Acids on Eye Health: Summary" . สืบค้นเมื่อ 2019-02-26 . {{cite web }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ ) Full Article PDF
↑ Chaiyasit, W; Elias, RJ; McClements, DJ; Decker, EA (2007). "Role of Physical Structures in Bulk Oils on Lipid Oxidation". Critical Reviews in Food Science and Nutrition . 47 (3): 299–317. doi :10.1080/10408390600754248 . PMID 17453926 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Rizos, EC; Elisaf, MS (June 2017). "Does Supplementation with Omega-3 PUFAs Add to the Prevention of Cardiovascular Disease?". Current Cardiology Reports . 19 (6): 47. doi :10.1007/s11886-017-0856-8 . PMID 28432658 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Sala-Vila, A; Calder, PC (October–November 2011). "Update on the relationship of fish intake with prostate, breast, and colorectal cancers". Critical Reviews in Food Science and Nutrition . 51 (9): 855–71. doi :10.1080/10408398.2010.483527 . PMID 21888535 . {{cite journal }}
: CS1 maint: date format (ลิงก์ ) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Zheng, JS; Hu, XJ; Zhao, YM; Yang, J; Li, D (2013-06-27). "Intake of fish and marine n−3 polyunsaturated fatty acids and risk of breast cancer: meta-analysis of data from 21 independent prospective cohort studies" . BMJ . 346 (jun27 5): f3706. doi :10.1136/bmj.f3706 . PMID 23814120 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 15.0 15.1 Heinze, VM; Actis, AB (February 2012). "Dietary conjugated linoleic acid and long-chain n−3 fatty acids in mammary and prostate cancer protection: a review". International Journal of Food Sciences and Nutrition . 63 (1): 66–78. doi :10.3109/09637486.2011.598849 . PMID 21762028 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 16.0 16.1
Hooper, L; Thompson, RL; Harrison, RA; Summerbell, CD; Ness, AR; Moore, HJ; Worthington, HV; Durrington, PN; Higgins, JP; Capps, NE; Riemersma, RA; Ebrahim, SB; G, Davey Smith (2006). "Risks and benefits of omega−3 fats for mortality, cardiovascular disease, and cancer: systematic review" . BMJ . 332 (7544): 752–60. doi :10.1136/bmj.38755.366331.2F . PMC 1420708 . PMID 16565093 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Chua, ME; Sio, MC; Sorongon, MC; Morales, ML (May–June 2013). "The relevance of serum levels of long chain omega−3 polyunsaturated fatty acids and prostate cancer risk: a meta-analysis" . Canadian Urological Association Journal . 7 (5–6): E333-43. doi :10.5489/cuaj.1056 . PMC 3668400 . PMID 23766835 . {{cite journal }}
: CS1 maint: date format (ลิงก์ ) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Colomer, R; Moreno-Nogueira, JM; García-Luna, PP; García-Peris, P; García-de-Lorenzo, A; Zarazaga, A; Quecedo, L; del Llano, J; Usán, L; Casimiro, C (May 2007). "N−3 fatty acids, cancer and cachexia: a systematic review of the literature" . Br. J. Nutr . 97 (5): 823–31. doi :10.1017/S000711450765795X . PMID 17408522 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "โอเมก้า 3 คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย" . KLARITY .
↑
Kwak, SM; Myung, SK; Lee, YJ; Seo, HG (May 2012). "Efficacy of omega-3 fatty acid supplements (eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid) in the secondary prevention of cardiovascular disease: a meta-analysis of randomized, double-blind, placebo-controlled trials". Archives of Internal Medicine . 172 (9): 686–94. doi :10.1001/archinternmed.2012.262 . PMID 22493407 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Billman, GE (October 2013). "The effects of omega-3 polyunsaturated fatty acids on cardiac rhythm: a critical reassessment". Pharmacology & Therapeutics . 140 (1): 53–80. doi :10.1016/j.pharmthera.2013.05.011 . PMID 23735203 .
↑
Abdelhamid, Asmaa S; Brown, Tracey J; Brainard, Julii S; Biswas, Priti; Thorpe, Gabrielle C; Moore, Helen J; Deane, Katherine HO; AlAbdulghafoor, Fai K; Summerbell, Carolyn D; Worthington, Helen V; Song, Fujian; Hooper, Lee (2018-07-18). "Omega-3 fatty acids for the primary and secondary prevention of cardiovascular disease". Cochrane Database of Systematic Reviews . 7 : CD003177. doi :10.1002/14651858.CD003177.pub3 . PMID 30019766 .
↑ 23.0 23.1 Casula, M; Soranna, D; Catapano, AL; Corrao, G (August 2013). "Long-term effect of high dose omega-3 fatty acid supplementation for secondary prevention of cardiovascular outcomes: A meta-analysis of randomized, placebo controlled trials [corrected]". Atherosclerosis. Supplements . 14 (2): 243–51. doi :10.1016/S1567-5688(13)70005-9 . PMID 23958480 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Delgado-Lista, J; Perez-Martinez, P; Lopez-Miranda, J; Perez-Jimenez, F (June 2012). "Long chain omega-3 fatty acids and cardiovascular disease: a systematic review". The British Journal of Nutrition . 107 Suppl 2: S201-13. doi :10.1017/S0007114512001596 . PMID 22591894 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Kotwal, S; Jun, M; Sullivan, D; Perkovic, V; Neal, B (November 2012). "Omega 3 Fatty acids and cardiovascular outcomes: systematic review and meta-analysis". Circulation: Cardiovascular Quality and Outcomes . 5 (6): 808–18. doi :10.1161/CIRCOUTCOMES.112.966168 . PMID 23110790 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Miller, PE; Van Elswyk, M; Alexander, DD (July 2014). "Long-chain omega-3 fatty acids eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid and blood pressure: a meta-analysis of randomized controlled trials" . American Journal of Hypertension . 27 (7): 885–96. doi :10.1093/ajh/hpu024 . PMC 4054797 . PMID 24610882 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Morris, MC; Sacks, F; Rosner, B (August 1993). "Does fish oil lower blood pressure? A meta-analysis of controlled trials" . Circulation . 88 (2): 523–33. doi :10.1161/01.CIR.88.2.523 . PMID 8339414 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Mori, TA; Bao, DQ; Burke, V; Puddey, IB; Beilin, LJ (August 1999). "Docosahexaenoic acid but not eicosapentaenoic acid lowers ambulatory blood pressure and heart rate in humans" . Hypertension . 34 (2): 253–60. doi :10.1161/01.HYP.34.2.253 . PMID 10454450 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Weintraub, HS (November 2014). "Overview of prescription omega-3 fatty acid products for hypertriglyceridemia". Postgraduate Medicine . 126 (7): 7–18. doi :10.3810/pgm.2014.11.2828 . PMID 25387209 .
↑
Wu, L; Parhofer, KG (December 2014). "Diabetic dyslipidemia". Metabolism . 63 (12): 1469–79. doi :10.1016/j.metabol.2014.08.010 . PMID 25242435 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Miller, M; Stone, NJ; Ballantyne, C; Bittner, V; Criqui, MH; Ginsberg, HN; Goldberg, AC; Howard, WJ; Jacobson, MS; Kris-Etherton, PM; Lennie, TA; Levi, M; Mazzone, T; Pennathur, S (May 2011). "Triglycerides and cardiovascular disease: a scientific statement from the American Heart Association" . Circulation . 123 (20): 2292–333. doi :10.1161/CIR.0b013e3182160726 . PMID 21502576 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Wang, C; Harris, WS; Chung, M; Lichtenstein, AH; Balk, EM; Kupelnick, B; Jordan, HS; Lau, J (July 2006). "n−3 Fatty acids from fish or fish-oil supplements, but not alpha-linolenic acid, benefit cardiovascular disease outcomes in primary- and secondary-prevention studies: a systematic review" . The American Journal of Clinical Nutrition . 84 (1): 5–17. doi :10.1093/ajcn/84.1.5 . PMID 16825676 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
↑ 34.0 34.1 Robinson, LE; Mazurak, VC (2013). "n−3 Polyunsaturated fatty acids: Relationship to inflammation in health adults and adults exhibiting features of metabolic syndrome". Lipids . 48 (4): 319–32. doi :10.1007/s11745-013-3774-6 . PMID 23456976 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Li, K; Huang, T; Zheng, J; Wu, K; Li, D (February 2014). "Effect of marine-derived n−3 polyunsaturated fatty acids on C-reactive protein, interleukin 6 and tumor necrosis factor α: a meta-analysis" . PLOS ONE . 9 (2): e88103. Bibcode :2014PLoSO...988103L . doi :10.1371/journal.pone.0088103 . PMC 3914936 . PMID 24505395 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Miles, EA; Calder, PC (June 2012). "Influence of marine n−3 polyunsaturated fatty acids on immune function and a systematic review of their effects on clinical outcomes in rheumatoid arthritis". The British Journal of Nutrition . 107 Suppl 2 (S2): S171-84. doi :10.1017/S0007114512001560 . PMID 22591891 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Rheumatoid Arthritis and Complementary Health Approaches" . National Center for Complementary and Alternative Medicine. January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14 .
↑ 38.0 38.1 Levy, SE; Hyman, SL (2005). "Novel treatments for autistic spectrum disorders". Ment Retard Dev Disabil Res Rev . 11 (2): 131–42. doi :10.1002/mrdd.20062 . PMID 15977319 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Richardson, AJ (2006). "Omega−3 fatty acids in ADHD and related neurodevelopmental disorders". Int Rev Psychiatry . 18 (2): 155–72. doi :10.1080/09540260600583031 . PMID 16777670 .
↑ Bloch, MH; Qawasmi, A (October 2011). "Omega-3 fatty acid supplementation for the treatment of children with attention-deficit/hyperactivity disorder symptomatology: systematic review and meta-analysis" . Journal of the American Academy of Child and Adolescent Psychiatry . 50 (10): 991–1000. doi :10.1016/j.jaac.2011.06.008 . PMC 3625948 . PMID 21961774 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Gillies, D; Sinn, JK; Lad, SS; Leach, MJ; Ross, MJ (July 2012). "Polyunsaturated fatty acids (PUFA) for attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) in children and adolescents". The Cochrane Database of Systematic Reviews . 7 (7): CD007986. doi :10.1002/14651858.CD007986.pub2 . PMID 22786509 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Tan, ML; Ho, JJ; Teh, KH (December 2012). "Polyunsaturated fatty acids (PUFAs) for children with specific learning disorders". The Cochrane Database of Systematic Reviews . 12 : CD009398. doi :10.1002/14651858.CD009398.pub2 . PMID 23235675 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Ortega, RM; Rodríguez-Rodríguez, E; López-Sobaler, AM (June 2012). "Effects of omega 3 fatty acids supplementation in behavior and non-neurodegenerative neuropsychiatric disorders". The British Journal of Nutrition . 107 Suppl 2: S261-70. doi :10.1017/S000711451200164X . PMID 22591900 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Secher, NJ (2007). "Does fish oil prevent preterm birth?". Journal of Perinatal Medicine . 35 Suppl 1: S25-27. doi :10.1515/JPM.2007.033 . PMID 17302537 .
↑
Jensen, Craig L (2006). "Effects of n−3 fatty acids during pregnancy and lactation". Am J Clin Nutr . 83 (6): 1452–57. doi :10.1093/ajcn/83.6.1452S . ISSN 0002-9165 . PMID 16841854 .
↑ "Omega−3 long chain polyunsaturated fatty acids to prevent preterm birth: a meta-analysis of randomized controlled trials" . www.crd.york.ac.uk . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01 .
↑ Kar, S; Wong, M; Rogozinska, E; Thangaratinam, S (March 2016). "Effects of omega-3 fatty acids in prevention of early preterm delivery: a systematic review and meta-analysis of randomized studies". European Journal of Obstetrics, Gynecology, and Reproductive Biology . 198 : 40–46. doi :10.1016/j.ejogrb.2015.11.033 . PMID 26773247 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Perica, MM; Delas, I (August 2011). "Essential fatty acids and psychiatric disorders". Nutrition in Clinical Practice : Official Publication of the American Society for Parenteral and Enteral Nutrition . 26 (4): 409–25. doi :10.1177/0884533611411306 . PMID 21775637 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 49.0 49.1 Montgomery, P; Richardson, AJ (2008-04-16). "Omega−3 fatty acids for bipolar disorder". Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD005169. doi :10.1002/14651858.CD005169.pub2 . PMID 18425912 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hegarty, B; Parker, G (Jan 2013). "Fish oil as a management component for mood disorders - an evolving signal". Current Opinion in Psychiatry . 26 (1): 33–40. doi :10.1097/YCO.0b013e32835ab4a7 . PMID 23108232 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 51.0 51.1 Ruxton, CHS; Calder, PC; Reed, SC; Simpson, MJA (2005). "The impact of long-chain n−3 polyunsaturated fatty acids on human health". Nutrition Research Reviews . 18 (1): 113–29. doi :10.1079/nrr200497 . PMID 19079899 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Miles, EA; Aston, L; Calder, PC (2003). "In vitro effects of eicosanoids derived from different 20-carbon fatty acids on T helper type 1 and T helper type 2 cytokine production in human whole-blood cultures" . Clinical and Experimental Allergy . 33 (5): 624–32. doi :10.1046/j.1365-2222.2003.01637.x . PMID 12752591 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Bucolo, C; Caraci, F; Drago, F; Galvano, F; Grosso, G; Malaguarnera, M; Maryentano, S (2014). "Omega−3 fatty acids and depression: Scientific evidence and biological mechanisms" . Oxidative Medicine and Cellular Longevity . 2014 : 1–16. doi :10.1155/2014/313570 . PMC 3976923 . PMID 24757497 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Sanhueza, C; Ryan, L; Foxcroft, DR (2012-10-18). "Diet and the risk of unipolar depression in adults: systematic review of cohort studies". Journal of Human Nutrition and Dietetics . 26 (1): 56–70. doi :10.1111/j.1365-277X.2012.01283.x . PMID 23078460 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Appleton, KM; Rogers, PJ; Ness, AR (2010). "Updated systematic review and meta-analysis of the effects of n−3 long-chain polyunsaturated fatty acids on depressed mood" . American Journal of Clinical Nutrition . 91 (3): 757–70. doi :10.3945/ajcn.2009.28313 . PMID 20130098 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 56.0 56.1
Bloch, MH; Hannestad, J (2012). "Omega−3 fatty acids for the treatment of depression: Systematic review and meta-analysis" . Molecular Psychiatry . 17 (12): 1272–82. doi :10.1038/mp.2011.100 . PMC 3625950 . PMID 21931319 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Stafford, MR; Jackson, H; Mayo-Wilson, E; Morrison, AP; Kendall, T (January 2013). "Early interventions to prevent psychosis: systematic review and meta-analysis" . BMJ . 346 : f185. doi :10.1136/bmj.f185 . PMC 3548617 . PMID 23335473 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Cederholm, T; Palmblad, J (March 2010). "Are omega-3 fatty acids options for prevention and treatment of cognitive decline and dementia?". Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care . 13 (2): 150–55. doi :10.1097/MCO.0b013e328335c40b . PMID 20019606 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Mazereeuw, G; Lanctôt, KL; Chau, SA; Swardfager, W; Herrmann, N (July 2012). "Effects of ω-3 fatty acids on cognitive performance: a meta-analysis". Neurobiology of Aging . 33 (7): 1482.e17-29. doi :10.1016/j.neurobiolaging.2011.12.014 . PMID 22305186 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Chew, EY; Clemons, TE; Agrón, E; Launer, LJ; Grodstein, F; Bernstein, PS (August 2015). "Effect of Omega-3 Fatty Acids, Lutein/Zeaxanthin, or Other Nutrient Supplementation on Cognitive Function: The AREDS2 Randomized Clinical Trial" . JAMA . 314 (8): 791–801. doi :10.1001/jama.2015.9677 . PMC 5369607 . PMID 26305649 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Forbes, SC; Holroyd-Leduc, JM; Poulin, MJ; Hogan, DB (December 2015). "Effect of Nutrients, Dietary Supplements and Vitamins on Cognition: a Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials" . Canadian Geriatrics Journal . 18 (4): 231–45. doi :10.5770/cgj.18.189 . PMC 4696451 . PMID 26740832 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 62.0 62.1
Bradbury, J (May 2011). "Docosahexaenoic acid (DHA) : an ancient nutrient for the modern human brain" . Nutrients . 3 (5): 529–54. doi :10.3390/nu3050529 . PMC 3257695 . PMID 22254110 .
↑
Harris, WS; Baack, ML (January 2015). "Beyond building better brains: bridging the docosahexaenoic acid (DHA) gap of prematurity" . Journal of Perinatology . 35 (1): 1–7. doi :10.1038/jp.2014.195 . PMC 4281288 . PMID 25357095 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hüppi, PS (March 2008). "Nutrition for the brain: commentary on the article by Isaacs et al. on page 308" (PDF) . Pediatric Research . 63 (3): 229–31. doi :10.1203/pdr.0b013e318168c6d1 . PMID 18287959 .
↑ Lohner, S; Decsi, T (2013). "11". ใน Catalá, Angel (บ.ก.). Role of Long-Chain Polyunsaturated Fatty Acids in the Prevention and Treatment of Atopic Diseases . Polyunsaturated Fatty Acids: Sources, Antioxidant Properties and Health Benefits . NOVA Publishers. pp. 1–24. {{cite book }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Lohner, S; Fekete, K; Decsi, T (July 2013). "Lower n-3 long-chain polyunsaturated fatty acid values in patients with phenylketonuria: a systematic review and meta-analysis". Nutrition Research . 33 (7): 513–20. doi :10.1016/j.nutres.2013.05.003 . PMID 23827125 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Muley, P; Shah, M; Muley, A (2015). "Omega-3 Fatty Acids Supplementation in Children to Prevent Asthma: Is It Worthy?-A Systematic Review and Meta-Analysis" . Journal of Allergy . 2015 : 1–7. doi :10.1155/2015/312052 . PMC 4556859 . PMID 26357518 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Omega−3 Fatty Acids: An Essential Contribution" . TH Chan School of Public Health, Harvard University, Boston. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-31.
↑
"Sodium-dependent lysophosphatidylcholine symporter 1" . UniProt . สืบค้นเมื่อ 2016-04-02 .
↑
Nguyen, LN; Ma, D; Shui, G; Wong, P; Cazenave-Gassiot, A; Zhang, X; Wenk, MR; Goh, EL; Silver, DL (2014). "Mfsd2a is a transporter for the essential omega−3 fatty acid docosahexaenoic acid" . Nature . 509 (7501): 503–06. Bibcode :2014Natur.509..503N . doi :10.1038/nature13241 . PMID 24828044 . สืบค้นเมื่อ 2016-04-02 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 71.0 71.1 71.2 van West, D; Maes, M (February 2003). "Polyunsaturated fatty acids in depression". Acta Neuropsychiatrica . 15 (1): 15–21. doi :10.1034/j.1601-5215.2003.00004.x . PMID 26984701 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Bergstrom, S; Danielson, H; Klenberg, D; Samuelsson, B (November 1964). "The Enzymatic Conversion of Essential fatty Acids into Prostaglandins" (PDF) . The Journal of Biological Chemistry . 239 : PC4006-08. PMID 14257636 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 73.0 73.1 73.2 73.3 73.4 Lands, WE (1992). "Biochemistry and physiology of n -3 fatty acids" . FASEB Journal . 6 (8): 2530–36. doi :10.1096/fasebj.6.8.1592205 . PMID 1592205 . สืบค้นเมื่อ 2008-03-21 .
↑ Kuda, Ondrej (2017). "Bioactive metabolites of docosahexaenoic acid (Review)" . Biochimie . 136 : 12–20. doi :10.1016/j.biochi.2017.01.002 . PMID 28087294 .
↑
Gerster, H (1998). "Can adults adequately convert alpha-linolenic acid (18:3n−3) to eicosapentaenoic acid (20:5n−3) and docosahexaenoic acid (22:6n−3) ?". Int. J. Vitam. Nutr. Res . 68 (3): 159–73. PMID 9637947 .
↑
Brenna, JT (March 2002). "Efficiency of conversion of alpha-linolenic acid to long chain n−3 fatty acids in man". Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care . 5 (2): 127–32. doi :10.1097/00075197-200203000-00002 . PMID 11844977 .
↑ Burdge, GC; Calder, PC (September 2005). "Conversion of alpha-linolenic acid to longer-chain polyunsaturated fatty acids in human adults". Reprod. Nutr. Dev . 45 (5): 581–97. doi :10.1051/rnd:2005047 . PMID 16188209 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Lohner, S; Fekete, K; Marosvölgyi, T; Decsi, T (2013). "Gender differences in the long-chain polyunsaturated fatty acid status: systematic review of 51 publications". Annals of Nutrition & Metabolism . 62 (2): 98–112. doi :10.1159/000345599 . PMID 23327902 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Simopoulos, AP (2001). "The importance of the omega−3/omega−6 fatty acid ratio in cardiovascular disease and other chronic diseases". Experimental Biology and Medicine . 233 (6): 674–88. doi :10.3181/0711-MR-311 . PMID 18408140 .
↑ 80.0 80.1 Griffin, BA (2008). "How relevant is the ratio of dietary omega−6 to omega−3 polyunsaturated fatty acids to cardiovascular disease risk? Evidence from the OPTILIP study". Current Opinion in Lipidology . 19 (1): 57–62. doi :10.1097/MOL.0b013e3282f2e2a8 . PMID 18196988 .
↑
"Essential Fatty Acids-Metabolism and Bioavailability" . Micronutrient Information Center, Oregon State University. May 2014.
↑
"Conversion Efficiency of ALA to DHA in Humans" . สืบค้นเมื่อ 2007-10-21 .
↑ "Women have better ALA conversion efficiency" . DHA EPA omega−3 Institute . สืบค้นเมื่อ 2015-07-21 .
↑ Goyens, PL; Spilker, ME; Zock, PL; Katan, MB; Mensink, RP (2006-07-01). "Conversion of alpha-linolenic acid in humans is influenced by the absolute amounts of alpha-linolenic acid and linoleic acid in the diet and not by their ratio" . American Journal of Clinical Nutrition . 84 (1): 44–53. doi :10.1093/ajcn/84.1.44 . PMID 16825680 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 85.0 85.1 85.2 85.3 85.4 DeFilippis, AP; Sperling, LS (March 2006). "Understanding omega-3's" (PDF) . American Heart Journal . 151 (3): 564–70. doi :10.1016/j.ahj.2005.03.051 . PMID 16504616 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2007-10-22. {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hofmeijer-Sevink, MK; Batelaan, NM; van Megen, HJ; Penninx, BW; Cath, DC; van den Hout, MA; van Balkom, AJ (March 2012). "Clinical relevance of comorbidity in anxiety disorders: a report from the Netherlands Study of Depression and Anxiety (NESDA)". Journal of Affective Disorders . 137 (1–3): 106–12. doi :10.1016/j.jad.2011.12.008 . PMID 22240085 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Willett, WC (September 2007). "The role of dietary n-6 fatty acids in the prevention of cardiovascular disease". Journal of Cardiovascular Medicine . 8 Suppl 1: S42-45. doi :10.2459/01.JCM.0000289275.72556.13 . PMID 17876199 .
↑ 88.0 88.1 88.2 Duckett, SK; Neel, JP; Fontenot, JP; Clapham, WM (2009). "Effects of winter stocker growth rate and finishing system on: III. Tissue proximate, fatty acid, vitamin and cholesterol content". Journal of Animal Science . 87 (9): 2961–70. doi :10.2527/jas.2009-1850 . PMID 19502506 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Lands, WE (2005). Fish, omega−3 and human health . American Oil Chemists' Society. ISBN 978-1-893997-81-3 .
↑
Simopoulos, AP (October 2002). "The importance of the ratio of omega-6/omega-3 essential fatty acids". Biomedicine & Pharmacotherapy= Biomedecine & Pharmacotherapie . 56 (8): 365–79. doi :10.1016/S0753-3322(02)00253-6 . PMID 12442909 .
↑
Daley, CA; Abbott, A; Doyle, P; Nader, G; Larson, S (2004). "A literature review of the value-added nutrients found in grass-fed beef products" . California State University, Chico (College of Agriculture). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-23 . CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Simopoulos, AP (September 2003). "Importance of the Ratio of Omega-6/Omega-3 Essential Fatty Acids: Evolutionary Aspects". Omega-6/Omega-3 Essential Fatty Acid Ratio: The Scientific Evidence . World Review of Nutrition and Dietetics. Vol. 92. pp. 1–22. doi :10.1159/000073788 . ISBN 978-3-8055-7640-6 . PMID 14579680 .
↑
Simopoulos, AP; Leaf, A; Salem, N (September 2000). "Workshop statement on the essentiality of and recommended dietary intakes for Omega-6 and Omega-3 fatty acids" . Prostaglandins, Leukotrienes, and Essential Fatty Acids . 63 (3): 119–21. doi :10.1054/plef.2000.0176 . PMID 10991764 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hibbeln, JR; Nieminen, LR; Blasbalg, TL; Riggs, JA; Lands, WE (2006). "Healthy intakes of n−3 and n-6 fatty acids: Estimations considering worldwide diversity". The American Journal of Clinical Nutrition . 83 (6 Suppl): 1483S–93S. doi :10.1093/ajcn/83.6.1483S . PMID 16841858 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Bavec, Martina; Bavec, Franc (2006). Organic Production and Use of Alternative Crops . London: Taylor & Francis Ltd. p. 178. ISBN 978-1-4200-1742-7 . สืบค้นเมื่อ 2013-02-18 . {{cite book }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Erasmus, Udo (1986). Fats and Oils . Vancouver: Alive books. p. 263. (round-number ratio within ranges given.)
↑ "Oil, vegetable, corn, industrial and retail, all purpose salad or cooking; USDA Nutrient Data, SR-21" . Conde Nast. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12 .
↑ Dusheck, J (October 1985). "Fish, Fatty Acids, and Physiology" . Science News . 128 (16): 241–56. doi :10.2307/3970056 . JSTOR 3970056 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27 .
↑
Holman, RT (February 1998). "The slow discovery of the importance of omega−3 essential fatty acids in human health". J. Nutr . 128 (2 Suppl): 427S–33S. doi :10.1093/jn/128.2.427S . PMID 9478042 .
↑ "FDA announces qualified health claims for omega−3 fatty acids" (Press release). United States Food and Drug Administration. 2004-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2006-07-10 .
↑ "Acceptable nutrient function claims" . Canadian Food Inspection Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30 .
↑ Simopoulos, Artemis P. (Mar 2016). "An Increase in the Omega−6/Omega−3 Fatty Acid Ratio Increases the Risk for Obesity" . Nutrients . 8 (3): 8. doi :10.3390/nu8030128 . PMC 4808858 . PMID 26950145 .
↑
Kris-Etherton, PM; Harris, WS; Appel, LJ (November 2002). "Fish consumption, fish oil, omega-3 fatty acids, and cardiovascular disease" (PDF ) . Circulation . 106 (21): 2747–57. CiteSeerX 10.1.1.336.457 . doi :10.1161/01.CIR.0000038493.65177.94 . PMID 12438303 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ 104.00 104.01 104.02 104.03 104.04 104.05 104.06 104.07 104.08 104.09 104.10 104.11 104.12 104.13 "Omega−3 Centre" . Omega−3 sources . Omega−3 Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27 .
↑ "What's New and Beneficial about Lamb" . George Mateljan Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-02-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-25 .
↑ 106.0 106.1 Food and Nutrition Board (2005). Dietary Reference Intakes For Energy, Carbohydrate, Fiber, Fat, Fatty Acids, Cholesterol, Protein, and Amino Acids (PDF) . Washington, DC: Institute of Medicine of the National Academies. pp. 423, 770. ISBN 978-0-309-08537-3 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-06 .
↑ Siscovick, DS; Barringer, TA; Fretts, AM; Wu, JH; Lichtenstein, AH; Costello, RB; Kris-Etherton, PM; Jacobson, TA; Engler, MB; Alger, HM; Appel, LJ; Mozaffarian, D (2017). "Omega−3 Polyunsaturated Fatty Acid (Fish Oil) Supplementation and the Prevention of Clinical Cardiovascular Disease: A Science Advisory From the American Heart Association". Circulation . 135 (15): e867-84. doi :10.1161/CIR.0000000000000482 . PMID 28289069 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Product Review: Omega−3 Fatty Acids (EPA and DHA) from Fish/Marine Oils" . ConsumerLab.com. 2005-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14 .
↑ "IFOS Home - The International Fish Oil Standards Program" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27 .
↑ Shahidi, Fereidoon; Wanasundara, Udaya N (1998-06-01). "Omega−3 fatty acid concentrates: nutritional aspects and production technologies". Trends in Food Science & Technology . 9 (6): 230–40. doi :10.1016/S0924-2244(98)00044-2 .
↑ Mozaffarian; Rimm, EB (2006). "Fish intake, contaminants, and human health: evaluating the risks and the benefits". Journal of the American Medical Association . 15 (1). ISSN 0098-7484 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Falk-Petersen, A; Sargent, JR; Henderson, J; Hegseth, EN; Hop, H; Okolodkov, YB (1998). "Lipids and fatty acids in ice algae and phytoplankton from the Marginal Ice Zone in the Barents Sea". Polar Biology . 20 (1): 41–47. doi :10.1007/s003000050274 . ISSN 0722-4060 . INIST:2356641 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Farmed fish: a major provider or a major consumer of omega-3 oils?" . GLOBEFISH (ภาษาอังกฤษ). Food and Agriculture Organization of the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-04-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-30 .
↑ 114.0 114.1 Innis, SM; Rioux, FM; Auestad, N; Ackman, RG (September 1995). "Marine and freshwater fish oil varying in arachidonic, eicosapentaenoic and docosahexaenoic acids differ in their effects on organ lipids and fatty acids in growing rats" . The Journal of Nutrition . 125 (9): 2286–93. doi :10.1093/jn/125.9.2286 . PMID 7666244 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Lawson, LD; Hughes, BG (1988). "Absorption of eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid from fish oil triacylglycerols or fish oil ethyl esters co-ingested with a high-fat meal". Biochem. Biophys. Res. Commun . 156 (2): 960–63. doi :10.1016/S0006-291X(88)80937-9 . PMID 2847723 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Beckermann, B; Beneke, M; Seitz, I (1990). "Comparative bioavailability of eicosapentaenoic acid and docasahexaenoic acid from triglycerides, free fatty acids and ethyl esters in volunteers". Arzneimittel-Forschung (ภาษาเยอรมัน). 40 (6): 700–04. PMID 2144420 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Tur, JA; Bibiloni, MM; Sureda, A; Pons, A (2012). "Dietary sources of omega−3 fatty acids: public health risks and benefits". Br J Nutr . 107 (Suppl 2): S23-52. doi :10.1017/S0007114512001456 . PMID 22591897 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Ulven, SM; Kirkhus, B; Lamglait, A; Basu, S; Elind, E; Haider, T; Berge, K; Vik, H; Pedersen, JI (January 2011). "Metabolic Effects of Krill Oil are Essentially Similar to Those of Fish Oil but at Lower Dose of EPA and DHA, in Healthy Volunteers" . Lipids . 46 (1): 37–46. doi :10.1007/s11745-010-3490-4 . PMC 3024511 . PMID 21042875 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Atkinson, A; Siegel, V; Pakhomov, E; Rothery, P (2004). "Long-term decline in krill stock and increase in salps within the Southern Ocean" . Nature . 432 (2004-11-04): 100–03. Bibcode :2004Natur.432..100A . doi :10.1038/nature02996 . PMID 15525989 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Orr, A (2014). "Malnutrition behind whale strandings" . Stuff, Fairfax New Zealand Limited. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08 .
↑
"Krill fisheries and sustainability" . Commission for the Conservation of Antarctic Marine Living Resources, Tasmania, Australia. 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08 .
↑ "Seed Oil Fatty Acids - SOFA Database Retrieval" . In German. Google translation
↑ "Kiwifruit seed oil" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2012-01-31. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21 .
↑ "Archived copy" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ Soltana, H; Tekaya, M; Amri, Z; El-Gharbi, S; Nakbi, A; Harzallah, A; Mechri, B; Hammami, M (2016). "Characterization of fig achenes' oil of Ficus carica grown in Tunisia" . Food Chemistry . 196 : 1125–30. doi :10.1016/j.foodchem.2015.10.053 . PMID 26593597 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Wilkinson, Jennifer. "Nut Grower's Guide: The Complete Handbook for Producers and Hobbyists" (PDF ) . สืบค้นเมื่อ 2007-10-21 .
↑ Bartram, Thomas (September 2002). Bartram's Encyclopedia of Herbal Medicine: The Definitive Guide to the Herbal Treatments of Diseases . Da Capo Press. p. 271. ISBN 978-1-56924-550-7 .
↑ Decsi, T; Kennedy, K (2011). "Sex-specific differences in essential fatty acid metabolism". American Journal of Clinical Nutrition . 94 (6_Suppl): 1914S–19S. doi :10.3945/ajcn.110.000893 . PMID 22089435 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Ruiz-Lopez, N; Haslam, RP; Napier, JA; Sayanova, O (January 2014). "Successful high-level accumulation of fish oil omega−3 long-chain polyunsaturated fatty acids in a transgenic oilseed crop" . The Plant Journal . 77 (2): 198–208. doi :10.1111/tpj.12378 . PMC 4253037 . PMID 24308505 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑
Coghlan, Andy (2014-01-04). "Designed plant oozes vital fish oils" . New Scientist . 221 (2950): 12.
↑ "How Omega−6s Usurped Omega−3s In US Diet" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-31.
↑ Trebunová, A; Vasko, L; Svedová, M; Kastel'R; Tucková, M; Mach, P (July 2007). "The influence of omega−3 polyunsaturated fatty acids feeding on composition of fatty acids in fatty tissues and eggs of laying hens". Deutsche Tierärztliche Wochenschrift . 114 (7): 275–79. PMID 17724936 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Cherian, G. "Effect of feeding full fat flax and canola seeds to laying hens on the fatty acids composition of eggs, embryos, and newly hatched chicks" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27 .
↑ Sterling, Colin (2010-06-03). "Washington Post's Egg Taste Test Says Homegrown And Factory Eggs Taste The Same [UPDATED, POLL]" . Huffingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03 .
↑ Garton, G. A. (1960). "Fatty Acid Composition of the Lipids of Pasture Grasses". Nature . 187 (4736): 511–12. Bibcode :1960Natur.187..511G . doi :10.1038/187511b0 .
↑ Duckett, SK; Wagner, DG; Yates, LD; Dolezal, HG; May, SG (1993). "Effects of time on feed on beef nutrient composition" . J Anim Sci . 71 (8): 2079–88. PMID 8376232 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Azcona, J.O., Schang, M.J., Garcia, P.T., Gallinger, C., R. Ayerza (h), and Coates, W. (2008). "Omega−3 enriched broiler meat: The influence of dietary alpha-linolenic omega−3 fatty acid sources on growth, performance and meat fatty acid composition" . Canadian Journal of Animal Science . 88 (2): 257–69. doi :10.4141/CJAS07081 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Gourment Game - Amazing Nutrition Facts" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-03-01.
↑ "Natural Health Product Monograph - Seal Oil" . Health Canada. 2009-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20 .
↑ European Parliament (2009-11-09). "MEPs adopt strict conditions for the placing on the market of seal products in the European Union" . Hearings . European Parliament. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12 .
↑ van Ginneken, VJ; Helsper, JP; de Visser, W; van Keulen, H; Brandenburg, WA (2011). "Polyunsaturated fatty acids in various macroalgal species from north Atlantic and tropical seas" . Lipids in Health and Disease . 10 (104): 104. doi :10.1186/1476-511X-10-104 . PMC 3131239 . PMID 21696609 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Collins, ML; Lynch, B; Barfield, W; Bull, A; Ryan, AS; Astwood, JD (2014). "Genetic and acute toxicological evaluation of an algal oil containing eicosapentaenoic acid (EPA) and palmitoleic acid". Food and Chemical Toxicology . 72 : 162–68. doi :10.1016/j.fct.2014.07.021 . PMID 25057807 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Couvreur, S; Hurtaud, C; Lopez, C; Delaby, L; Peyraud, JL (June 2006). "The linear relationship between the proportion of fresh grass in the cow diet, milk fatty acid composition, and butter properties" . Journal of Dairy Science . 89 (6): 1956–69. doi :10.3168/jds.S0022-0302(06)72263-9 . PMID 16702259 . สืบค้นเมื่อ 2013-03-16 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
แหล่งข้อมูลอื่น
"กรดไขมันโอเมกา" . คอลัมน์ ส่องโรค ไขสุขภาพ, Matichon Online. 2007-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-11-17.
Allport, Susan. The Queen of Fats: Why Omega−3s Were Removed from the Western Diet and What We Can Do to Replace Them . University of California Press, September 2006. OCLC 801139991 .
Chow, Ching Kuang. Fatty Acids in Foods and Their Health Implications . Routledge Publishing. New York. 2001. OCLC 25508943 . *Clover, Charles.
The End of the Line: How overfishing is changing the world and what we eat . Ebury Press, London 2004. OCLC 67383509 .