ปางปาลิไลยก์
ปางปาลิไลยก์ [1] (มักสะกดผิดเป็น ป่าเลไลย ป่าเลไลย์ ป่าเลไลยก์ ฯลฯ) เป็นพระพุทธรูปอยู่อิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ มีรูปช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ และ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย ประวัติพระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน ประพฤติตนเป็นผู้สอนยาก พระพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้างปาลิเลยยกะคอยปรนนิบัติ เมื่อลิงเห็นเข้าก็นำรวงผึ้งไปถวายบ้างแต่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าไม่รับเพราะว่าในรวงผึ้งมีตัวอ่อนอยู่เมื่อลิงรู้ดังนั้นก็ดึงตัวอ่อนออกจากรวงผึ้งแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้ารับรวงผึ้งที่ลิงนำมาถวาย ครั้นออกพรรษา พระอานนท์พร้อมด้วยคณะพระภิกษุได้มากราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธองค์รับอาราธนาจึงเสด็จกลับ ในขณะที่พระพุทธองค์และคณะหมู่สงฆ์กำลังจะออกจากป่า พญาช้างได้เดินตามพระพุทธองค์แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามและตรัสให้กลับไปอยู่ป่าทำให้พญาช้างเสียใจล้มลงขาดใจตายไปเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์(ส่วนลิงที่ถวายรวงผึ้งแก่พระพุทธเจ้าได้ตกจากต้นไม้จนทิ่มตอไม้แหลมตาย แต่บุญกุศลที่ทำไว้ก็ไปเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์เช่นกัน) บรรดาพระภิกษุผู้ว่ายากเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหาร ก็รีบเดินทางมาเข้าเฝ้าเพื่อแสดงความสำนึกผิด ความเชื่อและคตินิยม
อ้างอิง
|