พรรคพลัง
พรรคพลัง (อังกฤษ: Power Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งต่อ กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 โดยมีนาย สุรศักดิ์ ศิริบุญ เป็นหัวหน้าพรรค[2] โดยทางพรรคเดิมมีกำหนดจัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2564 เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคอย่างเป็นทางการ รวมถึงรับรองข้อบังคับพรรคพร้อมกับเชิญอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สุชาติ ธาดาธำรงเวช มาแสดงปาฐกถาพิเศษ ในวันที่ 9 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2564 ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน[3] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ทางพรรคพลังได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2564 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายชัยยพล พสุรัตน์บรรจง และนางสาว อัญชิสา เทพทับทิมทอง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[4] จากนั้นในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 พรรคพลังได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคครั้งที่ 1/2565 โดยมีวาระการประชุมวาระพิเศษเพื่อแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมอีก 3 คนคือ นายเพทาย สว่างเดือน เป็นรองหัวหน้าพรรคภาคกลาง นางสาวปุณณาสา คิดละเอียด เป็นรองเลขาธิการพรรค และนายประเทือง กรุดทอง เป็นกรรมการบริหารพรรค[5] กระทั่งวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ประชุมใหญ่ กกต. มีมติรับรองพรรคพลังเป็นพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ[6] ในวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคพลังครั้งที่ 4/2565 ที่ประชุมมีมติให้นายชัยยพล หัวหน้าพรรค เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย ลำดับที่ 1 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 88[7] วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พรรคพลังได้จัดตั้งสาขาพรรคสาขาแรกที่ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก[8] จากนั้นในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายชัยยพลได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยให้มีผลในวันรุ่งขึ้นคือในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม ซึ่งพรรคพลังได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2566 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 12 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายลิขสิทธิ์ (ชื่อเดิม วิสิทธิ์) ใสกระจ่าง อดีตโฆษกพรรค น้องชายของร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง และนายชัยยพล อดีตหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ นอกจากนี้ยังแต่งตั้งให้ นายณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชนชื่อดังเป็นประธานนโยบายและยุทธศาสตร์พรรค[9][10] ต่อมานาวาอากาศเอก (พิเศษ) กมล ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 โดยให้มีผลทันทีทำให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 11 คน[11] คณะกรรมการบริหารพรรคชุดชั่วคราว
ชุดที่ 1 (27 พฤศจิกายน 2564-ปัจจุบัน)ในคราวประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 12 คนประกอบด้วย
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |