Share to:

 

กุเทพ ใสกระจ่าง

กุเทพ ใสกระจ่าง
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ารัตนา จงสุทธนามณี
ปาน พึ่งสุจริต
ถัดไปภูมิ สาระผล
ศันสนีย์ นาคพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2495
จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
เสียชีวิต18 กันยายน พ.ศ. 2555 (60 ปี)
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535–2539)
นำไทย (2539)
ความหวังใหม่ (2539–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสศศิวรรณ ใสกระจ่าง

ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง (15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 18 กันยายน พ.ศ. 2555) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] เขต 2 อดีตโฆษกพรรคพลังประชาชนและพรรคความหวังใหม่ และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร

การศึกษา และชีวิตส่วนตัว

ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง เรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนในชนบท หลังจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้บวชเป็นสามเณร จำวัดที่ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคได้จึงเรียนต่อในระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 (ในขณะที่ยังบวชเป็นพระ) ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2527 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยปูเน่ ประเทศอินเดีย จนสำเร็จการศึกษาสาขาวรรณคดีอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542 และในปีเดียวกันได้สำเร็จการศึกษา พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in Development Administration) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ด้วย[2]

ชีวิตส่วนตัว ร้อยโทกุเทพ สมรสกับนางศศิวรรณ (ผลกระโทก) ใสกระจ่าง มีบุตรร่วมกัน 2 คน คือ นายจุลทรรศน์ ใสกระจ่าง และนายธนพัฒน์ ใสกระจ่าง

การทำงาน

กุเทพ ใสกระจ่าง (หรือ พระมหากุเทพ เทวธฺมโม) เริ่มทำงานเป็นพระอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อใช้ทุน ในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พระกุเทพเป็นแกนนำสงฆ์ในการชุมนุมของพระสงฆ์ที่ลานอโศก วัดมหาธาตุฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 จึงได้ลาสิกขา หลังจากอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์มากว่า 12 ปี แล้วเข้ารับราชการยศร้อยตรี ในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กองข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด จนถึงปี พ.ศ. 2525 ได้โอนย้ายมารับราชการสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้เรียบเรียงข่าว และผู้ประกาศข่าว สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11

ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ พรรคพลังธรรม โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 (สมัยที่ 2) ร่วมกับนายมานะ มหาสุวีระชัย จากนั้นร้อยโทกุเทพ สอบตกอยู่สมัยหนึ่ง ก่อนที่จะลาออกจากพรรคพลังธรรม เข้ามาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคความหวังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544 หลังจากที่พรรคความหวังใหม่ถูกยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ร้อยโทกุเทพได้ย้ายสังกัดไปอยู่พรรคไทยรักไทย และเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ได้ย้ายสังกัดไปอยู่พรรคพลังประชาชนและเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2551 โดยสรุปแล้วดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 5 สมัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ซึ่ง ดร.กุเทพ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[3]

ร้อยโท กุเทพ เคยดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538[4] เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2540 เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545[5] และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548)[6] โฆษกพรรคพลังประชาชน ในปี พ.ศ. 2550

นอกจากงานการเมืองแล้ว ดร.กุเทพ ยังเคยเป็นอาจารย์พิเศษ ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2544

หลังจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในระยะหลัง ร้อยโทกุเทพ หายหน้าไปจากวงการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพที่ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง และเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓๗/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกุเทพ ใสกระจ่าง, นายกมล บันไดเพชร)
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 25/2544 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  6. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2545 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  7. มะเร็งคร่าชีวิต 'กุเทพ ใสกระจ่าง' อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พลังประชาชน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya