พรรคสร้างอนาคตไทย
พรรคสร้างอนาคตไทย (ชื่อย่อ: สอท.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2561 ในชื่อ พรรครวมใจไทย โดยมีนาย นพดล อมรเวช และ นายคำนึง อิสโร เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 99 หมู่ 6 ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับคำขวัญพรรคว่า "สร้างสัมพันธ์ สร้างสรรค์ สร้างชาติ"[2] ต่อมานายคำนึงเลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 8 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[3]จากนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2561 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้แก้ไขข้อบังคับพรรคในส่วนของที่ทำการพรรคโดยให้ย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ 1/21 ซอยสุภาพงษ์ 3 แยก 8 แขวงหนองบอน เขตประเวศ[4] ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขในส่วนของที่ทำการพรรคโดยให้ย้ายมาอยู่ที่ 158/80 หมู่ 3 หมู่บ้านสบาย สบาย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[5] ต่อมาในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 1/5 หมู่ 4 ตำบลช้างน้อย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายนพดลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 2 และเลือก นายจตุพล สิงห์มรกต เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[6] ยุคพรรครวมใจไทยจากนั้นในวันที่ 23 กันยายน ปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 6 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ 3 คนต้องพ้นจากตำแหน่ง[7] ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคไทยรักราษฎร์ เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคพร้อมกับย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 1144/32 ซอยพัฒนาการ 30 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายสุพจน์ พลบุตร และ นางสาวศิริณี กันทา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ส่วนนายนพดล อดีตหัวหน้าพรรครวมใจไทยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการพรรค[8] ยุคพรรคพลังไทยนำไทยต่อมานายนพดลและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 6 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ 3 คนต้องพ้นจากตำแหน่ง[9] จากนั้นในวันอังคารที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2564 ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2564 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคพลังไทยนำไทย พร้อมกับเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรครวมถึงย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 96 หมู่ 5 ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายธาราวุฒิ สืบเชื้อ และ นายอธิวัฒน์ พัชรปรีชาพัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ส่วนนายนพดลได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรค[10] จากนั้นในวันที่ 9 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2564 นายนพดลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค[11] ยุคพรรคสร้างอนาคตไทยต่อมาทางพรรคพลังไทยนำไทยได้ปรากฏเป็นข่าวว่าทาง กลุ่มสี่กุมาร ที่นำโดย นาย อุตตม สาวนายน และนาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ได้เตรียมเข้ามาบริหารพรรคเนื่องจากทางพรรคพลังไทยนำไทยได้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย ซึ่งทาง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้วโดยมีที่อยู่เพื่อติดต่ออยู่ที่ 50/812 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี[12] โดยทางพรรคสร้างอนาคตไทยได้เปิดตัวพรรคอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 19 มกราคม ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์[13] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง รับรองการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคจาก พลังไทยนำไทย มาเป็น สร้างอนาคตไทย คณะกรรมการบริหารพรรค และตราโลโก้พรรค รวมถึงข้อบังคับพรรค[14] ก่อนหน้านั้นในวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายสุพล ฟองงาม นายวัชระ กรรณิการ์ ได้ทำการเปิดตัว นาวาอากาศเอก วิชัย ราชานนท์ เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ขอนแก่น เขต 7[15] ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายวัชระ ในฐานะแกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าในเดือนเมษายนทางพรรคจะจัดประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[16] ต่อมาพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 2292 ถนนพระราม 9 แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง ในวันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 นายอุตตม ได้โพสต์เฟซบุ๊กอวยพรเนื่องในวันสงกรานต์พร้อมกับประกาศว่าในวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ทางพรรคสร้างอนาคตไทยจะจัดการประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[17] โดยตามรายงานกระแสข่าวเบื้องต้นคาดว่า นายอุตตม จะเป็นหัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ จะเป็นเลขาธิการพรรค ส่วนรองหัวหน้าพรรคคาดว่าจะเป็น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายสุพล ฟองงาม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายวิเชียร ชวลิต อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐที่เพิ่งยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[18] และนายสันติ กีระนันทน์ โดยนายวิเชียร จะควบตำแหน่งผู้อำนวยการพรรค ส่วนนายสันติ จะควบตำแหน่งเหรัญญิกพรรค ทางด้านกรรมการบริหารพรรคคาดว่าจะเป็นนายอาทิตย์ ชุณหชัชราชัย นายนิทัศน์ ประทักษ์ใจ นายนริศ เชยกลิ่น ซึ่งจะควบตำแหน่งโฆษกพรรค และนางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ จะเป็นรองโฆษกพรรค[19] สำหรับการประชุมใหญ่สามัญในครั้งนี้ทางพรรคสร้างอนาคตไทยได้ทำการเปิดตัวโลโก้พรรคใหม่[20] พร้อมกับเสนอชื่อนาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 16 คนแทนชุดเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนาย ธาราวุฒิ สืบเชื้อ หัวหน้าพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายอุตตม นายสนธิรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ นาย สันติ กีระนันทน์ เป็นเหรัญญิกพรรค นายนิทัศน์ ประทักษ์ใจ เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค โดยคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จะมีการประชุมนัดแรกในวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565[21][22] ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง นายบุญส่ง ชเลธร เป็นรองเลขาธิการพรรค ตั้ง นายพงศ์พรหม ยามะรัต นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ และ นายธันวา ไกรฤกษ์ เป็นรองโฆษกพรรค[23] ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคสร้างอนาคตไทย เปิดตัว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในตำแหน่งประธานพรรคสร้างอนาคตไทย โดยนายสมคิด ฝากให้พรรคยึดหลักในการทำงานที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. เป็นพรรคที่ดีมีอุดมการณ์ มีนโยบายที่ดี 2. เป็นพรรคที่มีนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจเพื่อสร้างอนาคตประเทศ และ 3. เป็นพรรคที่มีความเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้เกิดการกระจายอำนาจและงบประมาณ[24] กระทั่งวันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565[25] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[26] ต่อมาในวันที่ 29 มกราคม 2566 นายอุตตมและนายสนธิรัตน์ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทย[27]และได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566[28] ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ จากนั้นในวันที่ 30 เมษายน 2566 พรรคสร้างอนาคตไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยย้ายที่ทำการพรรคกลับไปอยู่ที่ 50/812 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในช่วงแรก พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายวิรัช วิฑูรย์เธียร และนายนิทัศน์ ประทักษ์ใจ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[29] ในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 พรรคสร้างอนาคตไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคในส่วนของเหรัญญิกพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง ที่ประชุมมีมติเลือกนายกฤตยชญ์ ชัยบุตร อดีตกรรมการบริหารพรรคให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรคและเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างอีก 2 คน อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |