Share to:

 

เขตสวนหลวง

เขตสวนหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Suan Luang
ศาลแม่นากพระโขนงในวัดมหาบุศย์
คำขวัญ: 
สวนหลวงรื่นรมย์ อุดมสมบูรณ์
เกื้อกูลคุณธรรม
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตสวนหลวง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตสวนหลวง
พิกัด: 13°43′49″N 100°39′5″E / 13.73028°N 100.65139°E / 13.73028; 100.65139
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด23.678 ตร.กม. (9.142 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด122,994[1] คน
 • ความหนาแน่น5,194.44 คน/ตร.กม. (13,453.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10250
รหัสภูมิศาสตร์1034
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 2998 ถนนพัฒนาการ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/suanluang
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สวนหลวง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต

เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางข้างหมู่บ้านเอื้อสุข คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) คลองบ้านหลาย ลำราง คลองสวนอ้อย คลองขวางบน และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีน คลองพระโขนง และคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ

เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร[2] โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2506[3] จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2508[4]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 (สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง[7] และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย[8] เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่ จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน[7] สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง[9]

จนกระทั่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]

การแบ่งเขตการปกครอง

ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงอ่อนนุชและแขวงพัฒนาการแยกจากพื้นที่แขวงสวนหลวง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสวนหลวงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[12] ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
สวนหลวง Suan Luang
9.251
48,719
5,266.35
แผนที่
2.
อ่อนนุช On Nut
5.894
43,599
7,397.18
3.
พัฒนาการ Phatthanakan
8.533
30,676
3,594.98
ทั้งหมด
23.678
122,994
5,194.44

ประชากร

การคมนาคม

รถไฟฟ้า
ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด

สถานที่สำคัญ

อ้างอิง

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญญะบุรีในมณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 153–158. 21 สิงหาคม 2470.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประเวศ อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121 ง): 2742–2743. 24 ธันวาคม 2506.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (พิเศษ 124 ก): 28–32. 31 ธันวาคม 2507.
  5. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  6. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  7. 7.0 7.1 สำนักงานเขตสวนหลวง. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001006&strSection=aboutus&intContentID=102[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงและตั้งเขตคลองเตยและเขตประเวศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 208 ง): 13. 24 พฤศจิกายน 2532.
  9. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนชื่อสำนักงานเขตพระโขนง สาขา ๓ (สวนหลวง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (220 ง): 9504. 14 ธันวาคม 2532.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เขตประเวศ และตั้งเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 7–10. 10 พฤศจิกายน 2536.
  11. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ตั้งแขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 20–21. 10 พฤศจิกายน 2536.
  12. "เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสวนหลวง และตั้งแขวงอ่อนนุช แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 44–46.
  13. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′50″N 100°39′05″E / 13.73068°N 100.65150°E / 13.73068; 100.65150

Kembali kehalaman sebelumnya