พรรคอนาคตไทย
พรรคอนาคตไทย (อังกฤษ: Thailand's Future Party) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นลำดับที่ ๓/๒๕๕๑ มีทนงศักดิ์ ประดิษฐ์ และสมลักษณ์ มโนรส เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค พร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 6 คนโดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกตั้งอยู่ที่ 548 ซอยอ่อนนุช 40 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[3] ต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 วัชรี อิทธิภูวดล ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคจึงพ้นจากตำแหน่งเหรัญญิกพรรค ทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 7 คน[4] และต่อมาในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552 ศรีวรรณ อุ่นใจ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคจึงพ้นจากตำแหน่งนายทะเบียนสมาชิกพรรคทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 6 คน[5] ต่อมาในการประชุมใหญ่สามัญของพรรคอนาคตไทย ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกข้อบังคับพรรคอนาคตไทย ฉบับ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ฉบับใหม่แทนโดยข้อบังคับพรรคฉบับใหม่ได้เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ที่ทำการพรรคในปัจจุบัน พร้อมกันนี้นายทนงศักดิ์หัวหน้าพรรคคนแรกได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุมใหญ่ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกที่เหลือ 6 คนต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ที่ประชุมจึงทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 11 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกวีระพล เหมรัตนากร และชินวัตร ยะทะนนท์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ ในปี พ.ศ. 2556 ชินวัตรได้ขอลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 10 คน[6]หลังจากนั้นในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 วีระพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[7]ต่อมาทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เป็นการด่วน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกวีระพลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นสมัยที่ 2 พร้อมกับเลือกพรศักดิ์ ธรรมนิมิตร์ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[8] ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พรรคอนาคตไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค จัดทำคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง นโยบายของพรรค รวมถึงเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกพรศักดิ์ ธรรมนิมิตร์ และภัครัตน์ มุขแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[9]แต่หลังจากนั้นในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายพรศักดิ์ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคจึงพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[10]ทำให้ทางพรรคต้องจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 10 คนที่ประชุมมีมติเลือกประวัติ เทียนขุนทด เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือกภัครัตน์ มุขแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 พรรคอนาคตไทยได้ปรากฎเป็นข่าวเมื่อชื่อของพรรคได้เป็น 1 ใน 3 ชื่อที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อใช้เป็นชื่อใหม่ของพรรคการเมืองที่ สส. จากอดีต พรรคอนาคตใหม่ ทั้ง 55 คนจะย้ายไปสังกัด ทั้งๆ ที่พรรคอนาคตไทยยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ จากนั้นในวันที่ 2 เมษายน 2566 ประวัติได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งในวันเดียวกัน ทางพรรคอนาคตไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยที่ประชุมมีมติเลือกประวัติ เป็นหัวหน้าพรรคต่อไปส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของปพน นพแก้ว[11] บุคลากรหัวหน้าพรรค
เลขาธิการพรรค
การเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคอนาคตไทยส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขต 1 คน คือนางสาวสุวรรณดี พวงดอกไม้ (จังหวัดชุมพร เขต 1) โดยไม่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตไทยส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขต 1 คน และไม่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อเช่นกัน คือ นายประวัติ เทียนขุนทด (กรุงเทพมหานคร เขต 14) ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าไม่ได้รับการเลือกตั้งเช่นกัน ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคอนาคตไทยได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งผลการเลือกตั้งปรากฏว่าทางพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |