Share to:

 

พรรคอนาคตใหม่

พรรคอนาคตใหม่
หัวหน้าธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
เลขาธิการปิยบุตร แสงกนกกุล
โฆษกพรรณิการ์ วานิช
คำขวัญอนาคตใหม่คืออนาคตที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน
ไทย 2 เท่า: คนเท่าเทียมกัน ไทยเท่าทันโลก
ก่อตั้ง15 มีนาคม 2561 (2561-03-15)[1]
ถูกยุบ21 กุมภาพันธ์ 2563 (1 ปี 343 วัน)[2]
ถัดไปพรรคก้าวไกล
คณะก้าวหน้า (สมาชิกที่โดนตัดสิทธิ์)
ที่ทำการ1768 ชั้น 5 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
ฝ่ายเยาวชนNew Gen Network (NGN)
สมาชิกภาพ  (ปี 2563)​51,283 คน[3]
อุดมการณ์พิพัฒนนิยม[4][5]
ประชาธิปไตยสังคมนิยม[6][7][8]
จุดยืนซ้ายกลาง[9][10][11][12]
กลุ่มระดับสากลProgressive Alliance (สมาชิกสังเกตการณ์ตั้งแต่ปี 2561)[13]
สี  สีส้ม
เว็บไซต์
futureforwardparty.org
(ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว)
en.futureforwardparty.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคอนาคตใหม่ (อังกฤษ: Future Forward Party ย่อ: อนค.) เป็นอดีตพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล [14] และถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และสมาชิกเดิมส่วนใหญ่ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล

ประวัติ

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองประธานบริหารบริษัทไทยซัมมิท และปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งผู้ร่วมจดจัดตั้งอีก 24 คน ยื่นจดแจ้งชื่อจัดตั้งพรรคต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมใหญ่ของพรรคเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ธนาธรได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และปิยบุตรได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก[15] พรรคอนาคตใหม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้มีสถานะเป็นพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561 [16]

บุคลากร

คณะกรรมการบริหารพรรค

คณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ชุดแรก มีจำนวนทั้งสิ้น 17 คน ประกอบด้วย


กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่
Future Forward Party Executive Committee[17]

หัวหน้าพรรค
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
รองหัวหน้าพรรค
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ชำนาญ จันทร์เรือง
พลโท พงศกร รอดชมภู รณวิต หล่อเลิศสุนทร
เลขาธิการพรรค

ปิยบุตร แสงกนกกุล
เหรัญญิกพรรค นายทะเบียนสมาชิกพรรค โฆษกพรรค
นิติพัฒน์ แต้มไพโรจน์
ไกลก้อง ไวทยการ
พรรณิการ์ วานิช
กรรมการบริหารพรรค
เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์
(สัดส่วนภาคเหนือ)
เจนวิทย์ ไกรสินธุ์
(สัดส่วนภาคใต้)
สุรชัย ศรีสารคาม
(สัดส่วนภาคกลาง)
ชัน ภักดีศรี
(สัดส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สุนทร บุญยอด
(สัดส่วนเครือข่ายผู้ใช้แรงงาน)
วิภาพรรณ วงษ์สว่าง
(สัดส่วนคณะกรรมการเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่)
(ลาออก)
จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ
(สัดส่วนเลือกตั้งโดยตรงจากที่ประชุมใหญ่)
นิรามาน สุไลมาน
(สัดส่วนเลือกตั้งโดยตรงจากที่ประชุมใหญ่)
(ลาออก)[18]

ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
ปิยบุตร แสงกนกกุล

ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่จำนวน 26 คน ดังนี้ [19][20]

  • กฤตนันต์ ดิษฐบรรจง
  • กันต์พงศ์ ทวีสุข
  • กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ
  • ไกลก้อง ไวทยการ
  • คริส โปตระนันทน์
  • เคท ครั้งพิบูลย์
  • ชำนาญ จันทร์เรือง
  • โชติรส นาคสุทธิ์
  • ไชยวัฒน์ วรรณโคตร
  • ฑิตฐิตา ยิ้มเจริญ
  • เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร
  • ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
  • ธัญญานันต์ คูอนุพงศ์
  • ธารารัตน์ ปัญญา
  • นลัทพร ไกรฤกษ์
  • ปรัชญา เพชรวิสิทธิ์
  • ปิยบุตร แสงกนกกุล
  • เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
  • ฟารีด ดามาเก๊าะ
  • ภูวกร ศรีเนียน
  • วรกร ฤทัยวาณิชกุล
  • วิภาพรรณ วงษ์สว่าง
  • ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
  • สุรินทร์ คำสุข
  • อนุกูล ทรายเพชร
  • อลิสา บินดุส๊ะ

บทบาททางการเมือง

ภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เสร็จสิ้น พรรคอนาคตใหม่ได้จำนวน สส. ทั้งสิ้น 81 คน และได้รับคะแนนมหาชนเป็นลำดับที่ 3 ของสภา และเนื่องจาก ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทยในขณะนั้นกล่าวว่า "กลไกที่พิการ" ทำให้พรรคเพื่อไทยไม่สามารถเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคจึงมีมติให้เสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน โดยธนาธรแถลงขอบคุณพรรคเพื่อไทยที่ได้แสดงสปริตที่น่ายกย่อง ไม่ยึดติดกับตำแหน่งและผลประโยชน์ เป็นการแสดงจุดยืนที่น่านับถือ และยังประกาศด้วยว่า "ผมพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี"

ธนาธรกล่าวอีกว่า ตนจะเดินทางไปเตรียมพร้อมที่รัฐสภา หากได้รับอนุญาตให้แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมก็พร้อม และจะยินดีมากหากจะมีการพูดถึงคุณสมบัติของผู้ท้าชิงทุกคน โดยยืนยันว่าคดีข้อร้องเรียนที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องคุณสมบัติการเป็น ส.ส. ไม่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี[21]

ในวันเปิดสมัยประชุมสภาวันแรก พรรคอนาคตใหม่เสนอชื่อ เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง แข่งกับ สุชาติ ตันเจริญ จากพรรคพลังประชารัฐ[22] แต่แพ้ไปด้วยคะแนนเสียง 246 ต่อ 248[23]

พรรคอนาคตใหม่นั้นมีความตั้งใจจะลงเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเริ่มจากการประชันวิสัยทัศน์ เพื่อค้นหาผู้สมัครนายก อบจ.นนทบุรีในนามพรรคอนาคตใหม่ โดยผู้ที่ได้รับเลือกในครั้งนั้นคือ ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ[24] ทว่าพรรคอาคตใหม่กลับถูกยุบเสียก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงทำให้ต้องไปลงในนามคณะก้าวหน้าแทน

นโยบาย

นโยบายของพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่[25]

นโยบายฐานราก
  1. การกระจายอำนาจ
  2. รัฐสวัสดิการ
  3. ลงทุนการศึกษา
นโยบายเสาหลัก
  1. การต่อต้านการผูกขาด
  2. พัฒนาการขนส่งสาธารณะ
  3. การส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร การแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และการพักหนี้เกษตรกร
  4. ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  5. ส่งเสริมการปกครองแบบโปร่งใส
  6. ยอมรับความหลากหลาย
  7. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  8. การเลิกการเกณฑ์ทหาร และการปฏิรูปกองทัพ
สุดท้าย
  1. การล้างมรดกรัฐประหาร

ฐานเสียง

พรรคอนาคตใหม่มีจุดยืนต่อต้านรัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย แต่ฐานเสียงของพรรคอนาคตใหม่จะเป็นกลุ่มที่อยู่นอกเหนือความขัดแย้งทางการเมืองในพุทธทศวรรษ 2540 และมองว่าชนชั้นนำหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นแอกของคนรุ่นใหม่ อีกทั้งพรรคอนาคตใหม่ยังมีภาพลักษณ์เป็นหน้าใหม่ในการเมืองไทย มีลักษณะประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในเมือง นักศึกษา ผู้เบื่อหน่ายต่อความขัดแย้ง[26]

อดีตสมาชิกพรรคที่มีชื่อเสียง

กิจกรรมอื่น ๆ ของพรรค

นิวเจนเน็ตเวิร์ค

พรรคอนาคตใหม่มีกลุ่มย่อย คือ คณะกรรมการเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ หรือ นิวเจนเน็ตเวิร์ค (New Gen Network: NGN) ก่อตั้งโดย วิภาพรรณ วงษ์สว่าง หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และกรรมการบริหารพรรคในขณะนั้น นิวเจนเน็ตเวิร์คก่อตั้งเพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาททางสังคมการเมืองให้มากขึ้น โดยจะเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ ซึ่งได้แสดงงานต่างๆมากมาย ที่กลุ่มสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสะท้อนปัญหาการเมืองและสังคม ในมุมมองของวัยรุ่น คือไม่ใช่สงครามการเมืองระดับชาติ แต่เป็นจุดเล็กๆ ที่ต้องการให้สังคมมองเห็นถึงปัญหา เช่น เรื่องการรับน้อง, การลดเกณฑ์อายุของคำว่าบรรลุนิติภาวะ, สิทธิของพระสงฆ์ในการเลือกตั้ง ฯลฯ

ทว่า พฤศจิกายน 2561 กลุ่ม New-Dem ตัวแทนคนรุ่นใหม่ของฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ได้ส่งจดหมายเชิญ ให้พรรคอนาคตใหม่ มาร่วมแข่งกีฬาสานความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมือง ในสโลแกน #เราไม่ท้าต่อยแต่เราท้าเตะ โดยในตอนแรก พรรคอนาคตใหม่ตอบตกลง โดยเป็นการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่ไม่ได้ผ่านมติพรรค ซึ่งกลุ่ม NGN ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจครั้งนี้ ต่อมา 19 พฤศจิกายน พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ จะเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาด้วย ทำให้ พรรคอนาคตใหม่ ถอนตัวจากการแข่งขันทันที เนื่องจาก ไม่ต้องการทำสังฆกรรมใดๆ กับพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ คสช. จากประเด็นนี้ ทำให้กลุ่ม NGN ออกมาคอมเมนต์ว่า “พรรคน่าจะรู้ตัวได้ตั้งนานแล้ว” กระทั่ง 21 พฤศจิกายน กลุ่ม NGN ได้โพสต์แคมเปญ ขอเชิญชวนประชาชน และพรรคการเมืองทุกพรรค ยื่นข้อเสนอร่วมปฏิรูปกองทัพ หน้ากระทรวงกลาโหม พร้อมตั้งแฮชแท็กว่า#เราไม่ท้าเตะแต่ท้าปฏิรูปกองทัพ โดยในโพสต์นั้น ยังแท็ก พรรคอนาคตใหม่ด้วย

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว 27 พฤศจิกายน 2561 ผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่มีคำสั่งให้คณะกรรมการเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนทั้งหมด 5 คนหยุดทำหน้าที่โดยทันที ประกอบด้วย วิภาพรรณ วงษ์สว่าง, นลัทพร ไกรฤกษ์, กันต์พงศ์ ทวีสุข, อัครพล ทองพูน และ เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ และจะมีการเลือกคณะกรรมการ NGN ชุดใหม่หลังการเลือกตั้งปี 2562 เสร็จสิ้น [27]

โดยหลังประกาศนี้ออกมา วิภาพรรณ กับ เปรมปพัทธ ได้ประกาศลาออก และยุติบทบาทจากพรรคอนาคตใหม่ทุกกรณี[28]

29 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน ภายหลังจากการลาออก วิภาพรรณได้ออกมาวิพากย์วิจารณ์ถึงการทำงานภายในพรรค และขอตัดขาดกับพรรคอนาคตใหม่[29]

เดอะฟิวเจอร์เฟสต์

วันที่ 25 และ 26 มกราคม 2563 พรรคอนาคตใหม่ร่วมกับผู้สนับสนุนจัดงานเทศกาลดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม หรือ ฟิวเจอร์ เฟส 2020 (Future Fest 2020) ที่ The Link อโศก-มักกะสัน โดยมีการจัดงานในหัวข้อ “เปลี่ยนปัจจุบัน เปลี่ยนอนาคต” ตามด้วยหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจ อาทิ THAITHAI : การส่งออกวัฒนธรรมไทยๆ ร่วมสมัย, The Final Countdown? : วิกฤตสิ่งแวดล้อมแห่งศตวรรษที่ 21, Design the People : ออกแบบคน ออกแบบอนาคต, สังคมอุดมสุรา : สุราไทยเมาไกลระดับโลก รวมถึงการเปิดตลาดขายของในชื่อตลาดไร้ขยะของคนไม่ยอมจำนน และการจัดแสดงงานศิลปะ อินสตอเลชั่น อาร์ต[30][31]

การเลือกตั้ง

ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 26 ที่นั่ง[32] และได้คะแนนมหาชนมากเป็นอันดับสามรองจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย และยังเป็นพรรคที่ได้คะแนนมหาชนมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร หลังประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นการทางเสร็จสิ้น พรรคอนาคตใหม่ได้ สส. รวมกัน 88 ราย ก่อนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะคำนวณจำนวน สส.บัญชีรายชื่อในสัดส่วนที่พึงมีใหม่ ทำให้จำนวน สส.ลดลงเหลือ 81 ราย[33]

หลังการเลือกตั้ง พรรคอนาคตใหม่แถลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคการเมืองอีก 6 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคเศรษฐกิจใหม่, พรรคเพื่อชาติ, และ พรรคพลังปวงชนไทย และได้รับการเสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

30 มีนาคม พ.ศ. 2562 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค นำสมาชิกลงนามสัตยาบันยืนยันจุดยืนทางการเมืองของพรรค ซึ่งมีใจความว่า จะส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย คัดค้านระบอบรัฐประหาร[34]

10 กันยายน พ.ศ. 2562 จุมพิตา จันทรขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค จังหวัดนครปฐม เขต 5 ได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาสุขภาพ จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งซ่อมในเขตนั้น ผลปรากฏว่า เผดิมชัย สะสมทรัพย์ จากพรรคชาติไทยพัฒนาชนะการเลือกตั้ง

20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. และให้ตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อเว้นว่าง จึงมีผลให้บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทำให้มานพ คีรีภูวดล ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 51 พรรคอนาคตใหม่ เลื่อนลำดับขึ้นมา[35]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงมหาชน สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2562
81 / 500
6,330,617 17.80% ฝ่ายค้าน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

เลือกตั้งซ่อม

เขตเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
เชียงใหม่ เขต 8 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ศรีนวล บุญลือ 75,891 63.43%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
นครปฐม เขต 5 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร 28,216 32.39% ไม่ พ่ายแพ้

ข้อวิจารณ์

พรรคอนาคตใหม่ถูกวิจารณ์เรื่องการที่มี สส. ในพรรค ลงมติในสภาสวนกับมติของพรรคอยู่หลายครั้ง ซึ่งต่อมาปรากฏพบว่ามี 4 คน ที่ประชุมวิสามัญของพรรคเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จึงมีมติเสนอให้ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคขับทั้ง 4 คนออกจากพรรค[36] และที่ประชุมร่วมได้มีมติเมื่อวันรุ่งขึ้น (17 ธันวาคม) เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์[37] โดย 4 คนดังกล่าวมีดังนี้

  1. กวินนาถ ตาคีย์ สส.ชลบุรี (ย้ายไปสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท)
  2. พันตำรวจโท ฐนภัทร กิตติวงศา สส.จันทบุรี (ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ)
  3. ศรีนวล บุญลือ สส.เชียงใหม่ (ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย)
  4. จารึก ศรีอ่อน สส.จันทบุรี (ย้ายไปสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท)

ยุบพรรค

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 10 ปี ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง และห้ามจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สืบเนื่องจากกรณีที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจำนวน 191 ล้านบาท ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไปในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 10 ปี ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง และห้ามจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง

ภายหลังการยุบพรรค

ธนาธรและคณะกรรมการบริหารพรรคได้ตั้งกลุ่มคณะขึ้นมาใหม่โดยให้ชื่อว่า คณะอนาคตใหม่ ภายในวันเดียวกัน (ต่อมาในอีกหนึ่งเดือนหลังจากนั้น คณะอนาคตใหม่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะก้าวหน้า" เพื่อเลี่ยงข้อกฎหมาย) [38]

ส่วน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งได้รับมอบเข็มกลัดผู้นำพรรคจากธนาธร จะเป็นหัวหน้าพรรคใหม่ และจะนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรครวม 55 คนเข้าสังกัดพรรคนั้น โดยจะมีการประกาศชื่อในวันที่ 8 มีนาคม[39] โดยจะเป็นการย้ายเข้าไปสังกัดพรรคการเมืองที่จดทะเบียนกับทาง กกต. ไว้แล้วก่อนที่จะมีการประชุมใหญ่สามัญของพรรคในช่วงต้นเดือนเมษายนเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และที่ทำการพรรค โดยจะย้ายออกจากอาคารไทยซัมมิทซึ่งเป็นอดีตที่ทำการของพรรคอนาคตใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการร้องเรียนได้ในอนาคต รวมถึงเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและตราสัญลักษณ์พรรค ซึ่งเป็นรูปแบบที่คล้ายกันกับพรรคไทยรักษาชาติ โดยก่อนหน้านั้นในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 กลุ่ม 55 ส.ส. จะประชุมเพื่อเลือกชื่อพรรคใหม่ โดยมีทั้งหมด 3 ชื่อคือ พรรคก้าวไกล พรรคไทยเท่าเทียม และพรรคอนาคตไทย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบในชื่อพรรคก้าวไกล โดย 55 ส.ส. จะเดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคใหม่พร้อมกันในวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563 พร้อมกับประกาศชื่อพรรคใหม่ [40] แต่ในวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563 พิธาได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของตัวเองว่า ตัวเองและเพื่อน ส.ส. อีก 54 คนจะเดินทางไปสมัครสมาชิกพรรคพร้อมกันในวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 หรือ 1 อาทิตย์หลังจากประกาศชื่อพรรคใหม่[41] ซึ่งพรรคดังกล่าวคือ พรรคก้าวไกล

ทว่า มี สส. บางส่วนที่ไม่ได้ย้ายตามมาด้วย กลับเลือกที่จะไปเข้าร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นอย่าง พรรคภูมิใจไทย โดยมี สส. ในขณะนั้นคนหนึ่งอ้างว่า ไม่สามารถร่วมงานกับพิธาได้[42]

รายชื่ออดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ที่สังกัดพรรคใหม่
ลำดับ รายชื่อ สส. จังหวัดที่ลงเลือกตั้ง เขต
พรรคก้าวไกล
1 วรรณวิภา ไม้สน บัญชีรายชื่อ
2 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
3 สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
4 ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
5 พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
6 อภิชาติ ศิริสุนทร
7 ศิริกัญญา ตันสกุล
8 รังสิมันต์ โรม
9 วินท์ สุธีรชัย
10 สุเทพ อู่อ้น
11 ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์
12 ณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์
13 ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
14 คารม พลพรกลาง
15 สมชาย ฝั่งชลจิตร
16 วาโย อัศวรุ่งเรือง
17 คำพอง เทพาคำ
18 อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
19 พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ
20 นิติพล ผิวเหมาะ
21 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
22 ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
23 วรภพ วิริยะโรจน์
24 กัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี
25 เบญจา แสงจันทร์
26 พันตำรวจตรี ชวลิต เลาหอุดมพันธ์
27 ณัฐวุฒิ บัวประทุม
28 ทวีศักดิ์ ทักษิณ
29 ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์
30 รองศาสตราจารย์สุรวาท ทองบุ
31 องค์การ ชัยบุตร
32 เกษมสันต์ มีทิพย์
33 ธีรัจชัย พันธุมาศ
34 สมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล
35 ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
36 มานพ คีรีภูวดล
37 วรรณวรี ตะล่อมสิน กรุงเทพมหานคร 3
38 สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ 21
39 เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร 22
40 ทศพร ทองศิริ 24
41 ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ 25
42 จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ 27
43 ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 28
44 ญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี 3
45 จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา 4
46 ขวัญเลิศ พานิชมาท ชลบุรี 5
47 จรัส คุ้มไข่น้ำ 6
48 เอกภพ เพียรพิเศษ เชียงราย 1
49 พีรเดช คำสมุทร 6
50 ศักดินัย นุ่มหนู ตราด 1
51 สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา นครปฐม 3
52 ปดิพัทธ์ สันติภาดา พิษณุโลก 1
53 วุฒินันท์ บุญชู สมุทรปราการ 4
54 ทองแดง เบ็ญจะปัก สมุทรสาคร 1
พรรคชาติไทยพัฒนา
1 จุลพันธ์ โนนศรีชัย บัญชีรายชื่อ
พรรคชาติพัฒนา
1 สมัคร ป้องวงษ์ สมุทรสาคร 2
พรรคภูมิใจไทย
1 วิรัช พันธุมะผล บัญชีรายชื่อ
2 สำลี รักสุทธี
3 ร้อยตำรวจตรี มณฑล โพธิ์คาย กรุงเทพมหานคร 20
4 โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี 23
5 ฐิตินันท์ แสงนาค ขอนแก่น 1
6 กิตติชัย เรืองสวัสดิ์ ฉะเชิงเทรา 1
7 อนาวิล รัตนสถาพร ปทุมธานี 3
8 เอกการ ซื่อทรงธรรม แพร่ 1
9 กฤติเดช สันติวชิระกุล 2


การประท้วงที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยตัวเลขที่ถูกขีดฆ่าหมายถึง จำนวนคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศที่เลือกให้กับพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขีดทิ้ง

หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ในระยะแรกจึงเริ่มขึ้น เกิดการเดินขบวนในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศตั้งแต่นั้นมา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ธนาธร-ปิยบุตร ตั้งพรรค "อนาคตใหม่" ประกาศไม่รับทุกส่วนประกอบ "อประชาธิปไตย"
  2. Boonbandit, Tappanai (2020-02-21). "Future Forward Party Found Guilty, Disbanded by Court". Khaosod English. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
  3. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 24 มกราคม 2563
  4. Kaweewit Kaewjinda (15 มีนาคม 2018). "Thai billionaire registers new progressive political party". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2018.
  5. Saksith Saiyasombut (2018-03-15). "Thai billionaire forms new political party to woo younger voters". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-16. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  6. ไทยรัฐฉบับพิมพ์ (2 พฤษภาคม 2018). "สู้ด้วยแนวคิดที่เหนือกว่า". thairath. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2018.
  7. "A conversation with Thanathorn, Future Forward Party founder". newmandala. 2 พฤษภาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2018.
  8. "Isaan's future: Thanathorn on moving the region forward". isaanrecord. 2 พฤษภาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2018.
  9. Nadia Chevroulet (n.d.). "The Future Forward Party: Thailand's 'new hope'?". Asia News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  10. "ทิ้งระเบิดใส่อนาคตใหม่!'เจียม'บีบหัวใจชง'ล้างม.112'เป็นนโยบายพรรค ถ้าไม่ได้อย่าอ้างเป็นฝ่ายซ้าย". ไทยโพสต์. 2018-05-27.
  11. "เอาให้ชัด! ทางเดิน "สองหนุ่ม" พรรคซ้ายหรือพรรคชิน?". คมชัดลึก. 2018-05-28.
  12. "La Thaïlande insoumise est en marche". Libération. 28 เมษายน 2018.
  13. "List of Participants Progressive Alliance Conference: "Together for Progress and Justice–facing new developments, supporting democracy and fostering renewal in times of change."" (PDF). Progressive Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2019.
  14. "พรรคอนาคตใหม่". The Standard. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  15. "คะแนนเสียงท่วมท้น หนุน "เอก ธนาธร" นั่งหัวหน้าพรรค "อนาคตใหม่"". ข่าวสด. 2018-05-27.
  16. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17063627.pdf ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่] จาก ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2561
  17. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอนาคตใหม
  18. "นิรามาน สุไลมาน ลา'กก.บห.อนาคตใหม่'". ข่าวสด.
  19. "เปิดตัว "พรรคอนาคตใหม่ " !!". คมชัดลึกออนไลน์. 2018-03-15.
  20. "ธนาธร แถลงเปิดตัว พรรคอนาคตใหม่ ก่อนยื่นขอตั้งพรรคที่ กกต. (คลิป)". www.thairath.co.th. 2018-03-15.
  21. "มติเพื่อไทยงดส่งแคนดิเดตนายกฯ หนุน ธนาธร เป็น "คู่ต่อสู้" ประยุทธ์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
  22. ""เยาวลักษณ์" หวังสร้างประวัติศาสตร์ รองประธานสภาหญิงคนแรก มั่นใจเสียงสนับสนุนไม่แตก". www.sanook.com/news. 2019-05-26.
  23. ""ช่อ-พรรณิการ์" แถลง เยาวลักษณ์ คะแนนเกินเพราะขานชื่อซ้ำ". workpointTODAY.
  24. ก้าวต่อไป (2019-09-03), ได้แล้วตัวแทน “อนาคตใหม่” ชิงนายก อบจ. นนทบุรี “ดร.ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ” ชนะประชันวิสัยทัศน์, สืบค้นเมื่อ 2024-10-06
  25. "'อนาคตใหม่' เปิด 12 นโยบายพลิกประเทศ หยุดทุนใหญ่ ปฏิรูปกองทัพ ปักธงประชาธิปไตย". ข่าวสด. 2018-12-16. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  26. ชัยพงษ์ สำเนียง (2019-03-11). "อ่านการเมือง 'ว่าด้วยการเลือกตั้งและจัดตั้ง : อนาคตใหม่และเพื่อไทย". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  27. "สรุปที่มาและปมปัญหา เหตุดราม่าพรรคอนาคตใหม่". workpointTODAY.
  28. "สรุปที่มาและปมปัญหา เหตุดราม่าพรรคอนาคตใหม่". workpointTODAY.
  29. "อนาคตใหม่ระส่ำ! กรรมการเครือข่ายคนรุ่นใหม่ลาออกจากสมาชิกพรรค ประกาศตัดขาดชื่อก็ไม่อยากได้ยิน". mgronline.com. 2018-11-28.
  30. Thesender (2019-12-23). "เปิดขายแล้ว! บัตรร่วมงาน "ฟิวเจอร์ เฟส 2020 : เปลี่ยนปัจจุบัน เปลี่ยนอนาคต" – "อนาคตใหม่" จัดเทศกาลดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรมของคนไม่ยอมจำนน "ฮิวโก้ จุลจักร – สครับบ์ – R.A.D. ประเทศกูมี" ร่วมแจม 25-26 ม.ค.63". ThesenderTH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-02. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
  31. "อนค. จัด 'ฟิวเจอร์ เฟสต์ 2020' ปลุกลดพลาสติก - 'ยุทธเลิศ' ขอเลือกข้างการเมืองที่ถูกต้อง". VoiceTV. 2020-01-25.
  32. "พรรคอนาคตใหม่กับการสร้างคะแนนนิยมผ่าน Social Media". ไทยรัฐออนไลน์. 2018-10-31. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  33. https://prachatai.com/journal/2019/04/81906
  34. "'อนาคตใหม่' ลั่นไม่มีงูเห่าสีส้มแน่นอน ว่าที่ ส.ส.ลงนามสัตยาบัน - ประกาศ 5 ข้อ". ประชาไท. 2019-03-30.
  35. "เปิดประวัติ "มานพ คีรีภูวดล" ส.ส.กลุ่มชาติพันธุ์ ปาร์ตี้ลิสต์คนใหม่ แทน "ธนาธร"". pptvhd36.com. 2019-11-20.
  36. "ด่วน! ที่ประชุมใหญ่อนาคตใหม่ มติขับ 4 ส.ส.งูเห่า ออกจากพรรค". มติชน. 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  37. "อนาคตใหม่ มติเอกฉันท์ ไล่ 4 งูเห่า "ภูมิใจไทย-ปชป.-พปชร." อ้าแขนรับ". ประชาชาติธุรกิจ. 2019-12-17. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  38. McCargo, Duncan (October 2018). "Thailand's Changing Party Landscap" (PDF). ISEAS–YUSOF ISHAK INSTITUTE. 63 (2018). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
  39. กรุงเทพธุรกิจ (2020-03-01). "8 มี.ค.นี้ 'อดีตอนค.' พร้อม55ส.ส. เตรียมเปิดชื่อพรรคใหม่". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-02.
  40. เปิดตัว"ก้าวไกล" พรรคใหม่ อนค. 8มีค.นี้ คาด "55 สส." เข้าสังกัดครบ
  41. ประกาศชื่อพรรคใหม่
  42. "เส้นทางชีวิต 9 อดีต ส.ส.อนาคตใหม่ จากคนธรรมดา เลือกตั้งพลิกชะตา สู่ซบเสี่ยหนู". www.thairath.co.th. 2020-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya