Share to:

 

พระบวรราชวังสีทา

พระบวรราชวังสีทา
แผนที่
ที่มาบ้านสีทา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกทำลาย
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมผสมผสาน
ที่ตั้งตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย
เมือง สระบุรี
ประเทศ ไทย
พิกัด14°35′38″N 100°58′52″E / 14.59389°N 100.98111°E / 14.59389; 100.98111
เริ่มสร้างพ.ศ. 2400
ถูกทำลายไม่ปรากฏ
เจ้าของกรมศิลปากร

พระบวรราชวังสีทา ตั้งอยู่ที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประวัติพระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างที่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งตะวันตก ณ ตำบลบ้านสีทา ในแขวงจังหวัดสระบุรีสร้างคราวเดียวกับเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี

มูลเหตุเกิดแต่คราวหาที่สร้างราชธานีสำหรับเวลาสงครามดังกล่าวมานั้น ได้โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จไปตรวจเมืองนครราชสีมา ทรงเห็นภูมิลำเนากันดารไม่เหมาะ มาโปรดที่เขาคอก ในแขวงจังหวัดสระบุรี ว่าเหมือนเป็นป้อมอยู่โดยธรรมชาติจึงสร้างที่ประทับขึ้น ณ ตำบลบ้านสีทา อันอาจไม่มาถึงเขาคอกได้สะดวก แล้วเสด็จประทับ ณ ที่นั่น เพื่อตกแต่งเขาคอกไว้เป็นป้อมปราการสำหรับต่อสู้ข้าศึกแห่งหนึ่ง

สถาปัตยกรรม

สร้างเป็นเรือนไม้เครื่องไม้ บริเวณที่สร้างวังกว้างขวางมาก ประมาณ 150 ไร่เศษ ซากที่เป็นพื้นก่อเรือนไม้ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนเป็นบัวคว่ำบัวหงายมีรากฐานกว้างประมาณ 10 วา ยาวประมาณ 20 วา โดยคาดว่าสร้างขึ้น 2 หลัง อิฐสมัยนั้นแข็งแรงมาก ขนาด 4 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ครั้นพระสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดรื้อตำหนักลงมาสร้างวังพระราชทานพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่เหลืออยู่ก็หักพังสูญไปหมด

ปัจจุบัน

ปัจจุบันบริเวณซึ่งที่เคยเป็นพระราชวังกลับเป็นบ้านราษฎร ประกอบอาชีพ ทำไร่ปลูกข้าวโพด มีการไถทำลายซากเดิมแทบจะสังเกตไม่ออก ต่อมากำนัน สุพัฒน์ ฤทธิ์จำปา กันเอาไว้เป็นที่สาธารณะประมาณ 4 ไร่เศษ บริเวณนี้ปรากฏเป็นชานประตูก่ออิฐฉาบปูน มีรอยวางแผ่นกระดานทำสะพานยื่นไปยังบึงน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า "บึงตลาดไชย" ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัววังสีทา ห่างประมาณ 100 เมตรเศษ เล่ากันว่าทรงให้ใช้เป็นที่ประทับสรงน้ำจากบึงแห่งนี้ และเป็นที่ชุมนุมเหล่าสนมกำนัลนางฝ่ายใน เมื่อคราวเสด็จมาพักแรมในฤดูร้อนทุกๆ ปี และยังมีลูกๆ หลานๆ เหล่าสนมสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ อยู่เล่าสืบกันว่าสนมของพระองค์ทุกนางเก่งในทางแอ่วลาวมากที่สุด จนกระทั่งพระองค์เองสามารถเป่าแคนและแอ่วลาวได้ ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์กลอนลำแอ่วลาวไว้หลายเล่มสมุดไทย คงเหลือปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้

Kembali kehalaman sebelumnya