Share to:

 

พระเจ้านะระตู

พระเจ้านะระตู
နရသူ
วัดดะมะยานจี้ที่สร้างโดยพระเจ้านะระตู
กษัตริย์แห่งพม่า
ครองราชย์ค.ศ. 1167 – ป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1171
ก่อนหน้าพระเจ้าอลองสิธู
ต่อไปพระเจ้านรสิงขะ
มุขยมนตรีAnanda Thuriya
ประสูติ16 มีนาคม ค.ศ. 1118
วันเสาร์ แรม 9 ค่ำ ปลายเดือนTagu 479 ME
พุกาม
สวรรคตป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1171 (52 พรรษา)
พุกาม
ชายาTaung Pyinthe
Myauk Pyinthe
พระราชบุตรพระเจ้านรสิงขะ
พระเจ้านรปติสี่ตู่
ราชวงศ์พุกาม
พระราชบิดาพระเจ้าอลองสิธู
พระราชมารดาYadanabon[1]
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้านะระตู (พม่า: နရသူ) กษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ได้ชื่อว่าเป็นผู้โหดร้ายและเป็นจุดเริ่มต้นความเสื่อมของอาณาจักรพุกาม มีพระนามที่เป็นที่รู้จักอีกพระนามหนึ่งว่า "อิมตอวสยัน" (Im Taw Syan) ที่ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์จอมโหด เนื่องจากทรงลอบปลงพระชนม์พระบิดา คือ พระเจ้าอลองสิธู และพระเจ้ามินชินสอพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองราชย์ และเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ยังได้ประหารอีกหลายคนที่ทรงหวาดระแวง เช่น มเหสีของพระองค์ ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นธิดาของกษัตริย์ลังกา

ในช่วงสมัยนี้พุกามยังขัดขวางการค้าช้างระหว่างเขมรกับลังกา ผ่านการควบคุมการค้าข้ามบริเวณเมาะตะมะและคอคอดกระ ที่พุกามได้ควบคุมไว้ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอลองสิธู

พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 แห่งลังกา จึงยกทัพเรือมาโจมตีเมืองพะสิมที่ปากแม่น้ำอิระวดี และล่องเรือขึ้นมาถึงอาณาจักรพุกามจนสามารถจับพระเจ้านะระตูและประหารชีวิตพระองค์ในที่สุด

พระเจ้านะระตูครองราชย์อยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 4 ปี (พ.ศ. 1710 - พ.ศ. 1714)

ชาวพม่าในสมัยหลังจึงเรียกพระองค์ว่า "กุลากยา" (Kula-Kya) ซึ่งแปลว่า กษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์โดยชาวอินเดีย (กุลา แปลว่าชาวอินเดีย แต่ในที่นี้หมายรวมถึงลังกาด้วย) หลังรัชสมัยของพระเจ้านะระตูประวัติศาสตร์พุกามมีความสับสนมาก

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นช่วงที่ไม่มีกษัตริย์ปกครองเป็นเวลา 9 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 1708 - พ.ศ. 1717 แต่ยังมีหลักฐานบางส่วนที่กล่าวถึงกษัตริย์ที่ปกครองพุกามองค์ต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้านรสิงขะ (Narasingkha) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้านะระตู

อ้างอิง

  1. Yazawin Thit Vol. 1 2012: 121, footnote 2
ก่อนหน้า พระเจ้านะระตู ถัดไป
พระเจ้าอลองสิธู พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 1)

(พ.ศ. 1710 - พ.ศ. 1714)
พระเจ้านรสิงขะ
Kembali kehalaman sebelumnya