Share to:

 

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต
พระมหากษัตริย์อังกฤษ
ครองราชย์12 พฤศจิกายน ค.ศ. 103517 มีนาคม ค.ศ. 1040
ก่อนหน้าพระเจ้าคนุตมหาราช
ถัดไปพระเจ้าฮาร์ธาคานูท
พระราชสมภพราว ค.ศ. 1015
สวรรคต17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (ประมาณ 25 พรรษา)
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช
พระราชมารดาเอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต (อังกฤษ: Harold Harefoot หรือ Harold I) (ราว ค.ศ. 101517 มีนาคม ค.ศ. 1040) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่าง วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1015 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช และ เอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน แต่ความเชื่อที่ว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคานูทจริงก็ไม่เป็นที่แน่นอน[1] ฮาโรลด์ได้รับพระนามว่า “Harefoot” เพราะทรงมีความว่องไว (ราวกระต่าย (Hare)) และความสามารถในการล่าสัตว์[2]

หลังจากพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 พระอนุชาต่างพระมารดาฮาร์ธาคานูทผู้มีฐานะเป็นรัชทายาทของทั้งราชบัลลังก์อังกฤษและเดนมาร์กไม่ทรงสามารถเดินทางมาเข้าพิธีราชาภิเณกได้เพราะราชอาณาจักรเดนมาร์กมีเค้าว่าจะถูกรุกรานโดยพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าอนุนด์ เจคอปแห่งสวีเดน ขุนนางอังกฤษ[3]เห็นด้วยกับการแต่งตั้งฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นชั่วคราวในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ฮาร์ธาคานูทไม่สามารถทรงราชการได้ แม้จะได้รับการคัดค้านจากกอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ และพระราชินี แต่ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตก็ได้รับการสวมมงกุฏ

พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตสามารถรักษาราชบัลลังก์ไว้ได้หลังจากที่ เอ็ดเวิร์ด เอเธลลิงและพระอนุชาอัลเฟรด เอเธลลิงพยายามโค่นในปี ค.ศ. 1036 พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตที่ออกซฟอร์ดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระบรมศพถูกฝังไว้ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบี ต่อมาร่างของพระองค์ก็ถูกขุดขึ้นมา ตัดพระเศียรและโยนทิ้งในแม่น้ำเทมส์เมื่อพระเจ้าฮาร์ธาคานูทขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1040[4] แต่ต่อมาผู้สนับสนุนของพระองค์ก็นำพระบรมศพกลับไปฝังที่วัดเซนต์เคลเมนท์เดนส์ (St Clement Danes)

อ้างอิง

  1. The Anglo-Saxon Chronicle, 1035-40, M. Swanton translation (1996).
  2. For an explanation of this etymology, see Albert Le Roy Bartlett, The Essentials of Language and Grammar, Silver, Burdett and Co., 1900, p. 28.
  3. "Earl Leofric and almost all the thegns north of the Thames, and the men of the fleet in London"
  4. This may have been motivated partly in response to the murder of Alfred, Harthacanute's half-brother, and partly for his perceived theft of the crown.

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซ็กซ์)

(ค.ศ. 1035ค.ศ. 1040)
สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท
Kembali kehalaman sebelumnya