รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์
พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปีพ.ศ. 1386 ความแตกต่างระหว่างราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรของชาวพิคท์เป็นผลผลิตมาจากความเชื่อในสมัยกลางยุคหลัง และความสับสนในความเปลี่ยนแปลงทางการเรียกชื่อ เช่น Rex Pictorum (พระมหากษัตริย์แห่งชาวพิคท์) ได้กลายเป็น ri Alban (พระมหากษัตริย์แห่งอัลบา) ภายใต้สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 เมื่อการบันทึกทางประวัติศาสตร์สลับจากภาษาละตินมาเป็นภาษาท้องถิ่นในรอบช่วงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งเมื่อคราวคำว่า อัลบา ในภาษาแกลิคสก็อต ได้มาถึงราชอาณาจักรของชาวพิคท์มากกว่าบริเตนใหญ่ (ความหมายเก่า)[1] ราชอาณาจักรของชาวพิคท์เพิ่งกลายเป็นถูกเรียกว่า ราชอาณาจักรอัลบาในภาษาแกลิค ที่ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในภาษาสกอตและภาษาอังกฤษว่า Scotland (สกอตแลนด์) คำนี้ยังคงอยู่ในภาษาทั้งสองจนกระทั่งทุกวันนี้ ด้วยช่วงยุคหลังคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในที่ช่วงหลังสุด พระมหากษัตริย์สกอตได้ใช้คำว่า rex Scottorum หรือ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต เพื่ออ้างอิงในภาษาละติน พระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต" ได้สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2250 เมื่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์และอังกฤษและทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรทั้งสองจะมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2146 (ดูที่การรวมราชบัลลังก์) พระปิตุลาของพระนางคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ประกอบพิธีราชาภิเษกในสกอตแลนด์ที่เมืองสโคนในปี พ.ศ. 2194 ตราแผ่นดิน
ราชวงศ์อัลปิน (พ.ศ. 1388 - พ.ศ. 1577)รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้เริ่มต้นขึ้นและเป็นถูกเรียกว่าราชวงศ์อัลปินตามแนวคิดโลกสมัยใหม่ สายพระราชสันตติวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้ถูกแบ่งออกเป็นสองสาย พระมหามงกุฎจะถูกสลับกันระหว่างสายทั้งสอง การเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของสายหนึ่งๆมักจะผลุนผลันจากสงครามหรือถูกลอบปลงพระชนม์โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อัลปิน ในรัชกาลของพระองค์ พระองค์ประสบความสำเร็จในการสู้รบกับฝ่ายต่อต้านและไม่ทรงมีพระราชโอรส แต่ก็ทรงสามารถผ่านราชบัลลังก์ไปยังพระราชโอรสของเจ้าหญิงบีท็อค ผู้เป็นพระราชธิดา ให้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ที่ทรงประกาศเริ่มต้นราชวงศ์ดันคีลด์
* หลักฐานในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าโอเชียดไม่เป็นที่แน่ชัด พระองค์อาจจะไม่เคยดำรงเป็นพระมหากษัตริย์จริงๆ ถ้าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ร่วมกับสมเด็จพระเจ้ากีริค ส่วนสมเด็จพระเจ้าอัมลีปทรงเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะในการอ้างถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในปีพ.ศ. 1520 ที่ซึ่งมีการบันทึกว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอัลบา (ก่อนที่จะเรียกว่าสกอตแลนด์) นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันว่ายังคงเป็นพระมหากษัตริย์ในปีพ.ศ. 1515 ถึงพ.ศ. 1516 สมเด็จพระเจ้าอัมลีปต้องได้รับพระราชอำนาจในระหว่างปีพ.ศ. 1516 ถึงพ.ศ. 1520 † สมเด็จพระเจ้าโอเชียดทรงเป็นพระโอรสใน รุน กษัตริย์แห่งสตรัทไคลเดอ แต่พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1 ราชวงศ์ดันคีลด์ (พ.ศ. 1577 - พ.ศ. 1829)สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ผู้เป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (พระองค์ยังทรงเป็นรัชทายาทที่สืบสายสัตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 ในฐานะที่ทรงเป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์คือ ดันแคนแห่งอโทลล์ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1[15] ราชวงศ์ดันคีลด์มีความสืบเนื่องมาจากราชวงศ์อัลปิน) หลังจากภายในรัชกาลที่ไม่ประสบความสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าดันแคนทรงถูกปลงพระชนม์ในสนามรบโดยสมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธ ผู้ทรงครองราชย์อย่างยาวนานและค่อนข้างประสบความสำเร็จ ในช่วงการต่อสู้ระหว่าง พ.ศ. 1600 และ พ.ศ. 1601 พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 คือ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ได้กำจัดและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธและพระราชโอรสเลี้ยงซึ่งเป็นองค์รัชทายาทของพระเจ้าเม็คเบ็ธคือ สมเด็จพระเจ้าลูลาช และทรงทำการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ความขัดแย้งของพระราชวงศ์ยังไม่จบสิ้น สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 เสด็จสวรรคตในสมรภูมิ เจ้าชายโดนัลด์ แบน พระอนุชาของพระองค์ได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในฐานะ สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 ทรงขับไล่พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ออกไปจากสกอตแลนด์ สงครามกลางเมืองในพระราชวงศ์ได้เกิดขึ้น ด้วยสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 และเจ้าชายเอ็ดมันด์ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ถูกต่อต้านโดยพระโอรสชาวอังกฤษของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 นำโดยเจ้าชายดันแคน ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 2 และต่อมาคือเจ้าชายเอ็ดการ์ ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ ในที่สุดพระเจ้าเอ็ดการ์ทรงได้รับชัยชนะ พระองค์ได้ส่งพระปิตุลาและพระเชษฐาไปยังสำนักสงฆ์ หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 ราชบัลลังก์สกอตแลนด์ได้เปลี่ยนผ่านไปตามกฏของบุตรหัวปี ย้ายจากบิดาถึงโอรสหรือที่เป็นไปไม่ได้จากเชษฐาสู่อนุชา
ราชวงศ์สแวร์ (พ.ศ. 1829 - พ.ศ. 1833)
ราชวงศ์เบลเลียล
ราชวงศ์บรูซ (1306–1371)
การอ้างสิทธิเป็นที่ถกเถียง ราชวงศ์เบลเลียล (1332–1356)
ราชวงศ์สทิวเวิร์ต (1371–1651)โรเบิร์ตแห่งสทิวเวิร์ตเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงมาจอรี ประสูติ ค.ศ. 1316, พระองค์มีพระชนม์มากกว่าสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 2 พระมาตุลาของพระองค์ ดังนั้น, พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว ขณะนั้นมีพระชนม์ 55 พรรษาทำให้ไม่ทรงสามารถทำให้ราชบัลลังก์เข้มแข็งได้ ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 พระราชโอรสแห่งพระองค์ ซึ่งครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษาในค.ศ. 1390 และทรงทุกข์ทรมานในวาระสุดท้ายจากพระอาการบาดเจ็บในอุบัติเหตุขณะทรงม้า ทั้ง 2 พระองค์จึงตามด้วยคณะผู้สำเร็จราชการเนื่องมาจากการทรงพระเยาว์ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับราชสมบัติต่อ ๆ มารวม 5 พระองค์ ดังนั้น สมัยราชวงศ์สทิวเวิร์ตจึงถูกมองว่าเป็นสมัยที่เฉื่อยชา ในระหว่างที่ขุนนางแย่งชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์ตามด้วยช่วงเวลาแห่งการปกครองโดยกษัตริย์ ในระหว่างพระองค์พยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่สร้างขึ้นโดยชนกลุ่มน้อยของตัวเองและผลกระทบระยะยาวของการปกครองในรัชกาลก่อน การปกครองสก็อตแลนด์เริ่มยุ่งยากยิ่งขึ้น ในขณะที่ขุนนางมีอำนาจจนเริ่มคุมยากขึ้นเรื่อย ๆ ความพยายามในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ที่จะหยุดยั้งความวุ่นวายในสิ้นสุดลงในการที่พระองค์ถูกปลงพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 สวรรคตในสงครามกลาเมืองกับพวกขุนนาง นำโดนพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ผู้ปกครองอย่างเข้มงวดและปราบปรามพวกขุนนาง สวรรคตในยุทธการที่ฟลอตเดน พระชายา พระนางมาการ์เร็ต ทิวดอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 ผู้ถูกปลดโดยกลุ่มขุนนางที่เคียดแค้น และพระชายาในพระองค์แมรี่แห่งกิส, รับช่วงในการปกครองสก็อตแลนด์โดยสำเร็จราชการแทนพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 เท่านั้น โดยการแบ่งและเอาชนะกลุ่มขุนนาง โดยการแจกจ่ายสินบนฝรั่งเศสด้วยข้างเสรีนิยม ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พบว่าพระนางไม่สามารถปกครองสกอตแลนด์ด้วยต้องเผชิญกับความเหนือชั้นของชนชั้นสูงและความดื้อรั้นของประชากร, ผู้นับถือนิกายคัลแวง และไม่ชื่นชอบนิกายคาทอลิกที่พระนางนับถือ พระนางถูกบังคับให้สละราชสมบัติและลี้ภัยไปอังกฤษ ตลอด 18 ปีทรงถูกคุมขังในที่ต่าง ๆ และถูกประหารชีวิตที่สุด ด้วยการต่อต้านสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังการสละราชสมบัติ พระราชโอรสในพระนางกับ เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์ พระอนุวงศ์ในราชวงศ์สทิวเวิร์ต ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 พระเจ้าเจมส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอังกฤษและไอร์แลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ในค.ศ. 1603, เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระญาติสวรรคต นับแต่นั้น, แม้ว่ามงกุฎทั้ง 2 ของอังกฤษและสก็อตแลนด์จะถือว่าถูกรวมกัน พระราชบัลลังก์ยังมีรากฐานสำคัญอยู่ที่อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับสงครามกลางเมือง เป็นเห็นให้เกิดความขัดแย้งยาวนานถึง 8 ปีและจบโดยการสำเร็จโทษพระองค์ จากนั้นรัฐสภาอังกฤษได้กำหนดให้สถาบันกษัตริย์สิ้นสุดลง รัฐสภาสก็อตแลนด์หลังจากใคร่ครวญได้ปฏิเสธความผูกพันกับอังกฤษและประกาศว่า และประกาศสถาปนาพระราชโอรสและรัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ จนกระทั่ง ค.ศ.1651 เมื่อกองทัพของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ผนวกสก็อตแลนด์และขับไล่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ออกไป
ราชวงศ์สทิวเวิร์ต (ฟื้นฟู) (ค.ศ. 1660-1707)หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษราชวงศ์สทิวเวิร์ตก็ได้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์อีกครั้งหนึ่ง แต่สิทธิของสกอตแลนด์ไม่เป็นที่นับถือเมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงยุบรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์และแต่งตั้งพระอนุชาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขึ้นไปเป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์ ต่อมาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1685 แต่ความเป็นโรมันคาทอลิกของพระองค์ไม่เป็นที่ยอมรับกันในอังกฤษและพระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์สามปีต่อมา เมื่อรัฐบาลอังกฤษอัญเชิญพระราชธิดาของพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระสวามีวิลเลิมที่ 3 แห่งออเรนจ์จากเนเธอร์แลนด์มาครองราชย์แทน หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์คู่แห่งสกอตแลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ เมื่อความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมของสกอตแลนด์ภายใต้แผนการแดเรียน (Darien Scheme) ในการโต้ตอบความพยายามของอังกฤษ ประสบความล้มเหลวและทิ้งสกอตแลนด์ให้อยู่ในฐานะล้มละลาย ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์พระราชธิดาองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 (เจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์มีพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีพระชนมายุยืนกว่าพระองค์ ถ้าเสด็จสวรรคตผู้ที่ใกล้ราชบัลลังก์ที่สุดก็คือเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตพระอนุชาต่างพระมารดาผู้เป็นโรมันคาทอลิกผู้ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสก็จะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระองค์ รัฐสภาแห่งอังกฤษจึงหันไปสนับสนุนเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮาโนเวอร์ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทางพระราชธิดาเจ้าหญิงอลิซาเบ็ธ สทิวเวิร์ตให้เป็นรัชทายาท แต่รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์สนับสนุนเจ้าชายเจมส์ และขู่อังกฤษว่าจะเพิกถอนตัวจากสหภาพเพื่อจะได้เลือกประมุขของตนเอง เพื่อที่จะรักษาความเป็นสหภาพอังกฤษก็วางแผนรวมสองอาณาจักรเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการเป็นราชอาณาจักรแห่งเกรตบริเตนโดยมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันเพียงองค์เดียว ในที่สุดทั้งสองรัฐสภาก็อนุมัติข้อตกลง (ฝ่ายสกอตแลนด์จำยอมเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจจากความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมที่ประสบความล้มเหลว) หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1707 หลังจากสกอตแลนด์รวมกับอังกฤษเป็นบริเตนใหญ่ บรรดาศักดิ์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต และ พระมหากษัตรีย์แห่งชาวสกอต ก็กลายเป็นบรรดาศักดิ์ที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นพระมหากษัตริย์ของสกอตแลนด์หลังจากนั้นจึงรวมอยู่ในรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|