พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย
พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย หรืออดีตพระเทพญาณมหามุนี เป็นพระภิกษุชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย และเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร[1][2] ปัจจุบันหนีคดี ประวัติพระไชยบูลย์ ธมฺมชโย เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2487 ณ คุ้งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อจรรยงค์ สุทธิผล มารดาชื่อจุรี สุทธิผล[3] ในวัยเด็กมักค้นคว้าหาความรู้ด้านธรรมะ และคำถามที่ติดอยู่ในใจเสมอคือ "เราเกิดมาทำไม และอะไรคือเป้าหมายชีวิต" จึงได้แสวงหาคำตอบเรื่อยมา ขณะที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยหลังจากได้ฟังการบรรยายธรรมจากวิทยากรท่านต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนตั้งชุมนุมยุวพุทธ พ.ศ. 2506 เมื่อขณะศึกษาอยู่ชั้น ม. 8 (เทียบเท่า ม. 6 ปัจจุบัน) กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้อ่านพบหนังสือชื่อ "วิปัสสนาบันเทิงสาร" ลงเรื่องแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งได้ศึกษาวิชชาธรรมกายมาจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงได้ไปขอเรียนการปฏิบัติธรรมจากแม่ชีท่านนี้[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเรียนจบปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระเทพวรเวที (ปัจจุบันคือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ) เป็นพระอุปัชฌาย์[4] พระครูพิพัฒน์ธรรมคณี เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระวิเชียรกวี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมชโย" แปลว่า "ผู้ชนะโดยธรรม" สมณศักดิ์
ถอดถอนสมณศักดิ์วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์ ความว่า
การก่อสร้างวัดและมูลนิธิ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 พระไชยบูลย์และหมู่คณะรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้พัฒนาผืนนา 196 ไร่ เป็นสำนักสงฆ์ตามระเบียบการสร้างวัด ให้ชื่อว่า "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" ในวันมาฆบูชา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระธรรมกายเมื่อ พ.ศ. 2524 หลังพระไชยบูลย์ได้ก่อตั้งมูลนิธิธรรมกาย ต่อมาได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกและสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2529 และเข้าเป็นสมาชิกขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกใน พ.ศ. 2533[ต้องการอ้างอิง] หลังงานกฐินใน พ.ศ. 2552 ได้เริ่มก่อสร้างศาสนสถานขึ้นอีกหลังหนึ่ง โดยให้ชื่อว่า "อาคารร้อยปีคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง" ตามชื่อของอุบาสิกาที่ได้สอนธรรมะปฏิบัติให้แก่พระไชยบูลย์ งานด้านศาสนาพระไชยบูลย์ได้ดำริให้มีโครงการธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ ระดับอุดมศึกษา ภาคฤดูร้อน เริ่มต้นปี พ.ศ. 2515 อบรมธรรมทายาท ฝึกสมาธิเป็นหลัก มีผู้สนใจเบื้องต้น 50 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 จึงปรับให้ธรรมทายาทเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทด้วย สถิติ พ.ศ. 2522-2556 มีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 12,000 รูป[9] พระไชยบูลย์ได้ดำริให้มีโครงการธุดงค์ปีใหม่ จัดเป็นประจำทุกปี เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 โดยเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกันในช่วงวันหยุดปีใหม่ สามารถร่วมกิจกรรมกันได้ทั้งครอบครัว [10] โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทนานาชาติ (IDOP: International Dhammadayada Ordination Program) เริ่มมีการอบรมให้แก่ชาวต่างชาติในปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ต่อมาปี พ.ศ. 2546 ปรับหลักสูตรอบรมเป็น 3 ภาษา (อังกฤษ, จีน และญี่ปุ่น) ใช้เวลาอบรม 4 สัปดาห์ เริ่มอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี มีการอบรมทั้งพระและสามเณรควบคู่ไปด้วยกัน ปัจจุบันได้มีชาวต่างประเทศจากทั่วโลกมาบรรพชาอุปสมบทที่วัดพระธรรมกายแล้วเป็นจำนวนถึง 450 คนจาก 40 ประเทศทั่วทุกทวีป [11] คือ
ในปี พ.ศ. 2551 ได้ดำริให้มีโครงการตักบาตรพระ 500,000 รูปทุกวัดทั่วไทย เพื่อนำจตุปัจจัยไทยธรรมไปถวายแด่พระสงฆ์ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเป็นหนึ่งในโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก [12][13] ได้ดำริให้มีโครงการอบรมสามเณรธรรมทายาท "ยุวชนรอบวัด" เริ่มครั้งแรกปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2556 รวมสามเณรเข้าอบรมแล้วกว่า 500 รูป [14] ในปี พ.ศ. 2551 ได้ดำริให้มีโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก โดยมีโครงการย่อยชื่อ โครงการเด็กดีวีสตาร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ฟื้นฟูศีลธรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธ ให้แก่เยาวชนของประเทศไทย ต่อมาได้ขยายโครงการดังกล่าวไปยังประเทศมองโกเลีย และวางแผนเผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ต่อไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2553 โครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 จัดขึ้นโดยการรวมพลเด็กดีวีสตาร์จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ 1 ล้านคน ภายใต้แนวคิด Change the world โดยให้เด็กดีวีสตาร์ได้เรียนรู้การพูดประโยคสำคัญในภาษาต่าง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศีลธรรมและความดีงามเพื่อวางแผนการเผยแพร่พระพุทธศาสนาออกไปยัง 208 ประเทศในอนาคต นอกจากนั้นได้มีการเหรียญเด็กดีวีสตาร์และทุนการศึกษาแก่เด็กดีวีสตาร์ที่มีผลการประเมินด้านคุณธรรมโดดเด่น 60,000 ทุน และมอบเหรียญครูผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลกที่เป็นผู้สนับสนุนให้เด็กดีวีสตาร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพัฒนาศีลธรรมผ่านกิจวัตรกิจกรรม งานเด็กดีวีสตาร์ 1 ล้านคนนี้ ได้รับเกียรติจากประธานาธิบดีของสหพันธรัฐคาร์มิเกีย กล่าวสุนทรพจน์ และ มีปรารภที่ริเริ่มนำโครงการเด็กดีวีสตาร์ ไปสานต่อที่สหพันธรัฐคาร์มิเกียผ่านกระทรวงศึกษาธิการต่อไป [15][16] ได้ดำริให้มีโครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย เริ่มปี พ.ศ. 2553 - 2558 เพื่อสร้างศาสนทายาทสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ผู้อุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง[17] ได้ดำริให้มีโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 100,000 คน เริ่มปี พ.ศ. 2553 - 2554 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทุกทวีปทั่วโลก เพื่ออบรมปลูกฝังศีลธรรมและอุดมการณ์พระพุทธศาสนา ให้สตรีชาวพุทธนับล้านคน ให้เป็นผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และการพัฒนาศีลธรรม[18] การเผยแผ่ศาสนาไปยังต่างประเทศในปี พ.ศ. 2535 วัดพระธรรมกายภายใต้การนำของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ได้ขยายงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปวัดศูนย์สาขาในประเทศไทยและต่างประเทศ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น ได้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งแรกขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ปัจจุบันมีวัดศูนย์สาขาในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา โอเชียเนีย และทวีปเอเชีย รวมทั้งวัดสาขาและศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศไทยกว่า 100 แห่ง[19] ได้ดำริให้มีโครงการถวายพระประธานแด่วัดพุทธในต่างประเทศ เริ่มในปี พ.ศ. 2550 โดยถวายพระประธานแด่วัดต่างๆในประเทศศรีลังกา จำนวน 222 องค์ และปี 2551 ถวายพระประธานให้กับวัดในประเทศบังคลาเทศ จำนวน 250 องค์ รวม 472 องค์[20] โครงการอบรมและบรรพชาสามเณร ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน ๑๒๖ รูป ระหว่างวันที่ ๒๑-๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่วิทยาลัยพุทธศรีวิจายะ เมืองบันเตน โดยมูลนิธิธรรมกายได้ความเมตตาจากพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เดินทางมาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการบวชครั้งนี้ และพระอนุรุทธะ เถโร จากศรีลังกา ให้เกียรติไปร่วมงานบวชครั้งนี้ด้วย[21] ได้ดำริให้มีโครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก (World-PEC : World-Peace Ethics Contest) เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2549 มีผู้สมัครสอบกว่า 100,000 คน รวม 72 เชื้อชาติ จาก 6 ทวีปทั่วโลก[22] จัดให้มีโครงการวิสาขบูชานานาชาติ ในประเทศมองโกเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และแอฟริกาใต้[23] ประเทศมองโกเลีย เริ่มในปี พ.ศ. 2551 ล่าสุด จัดเมื่อปี พ.ศ. 2556 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ เมืองหลวงอูลานบาตาร์ มีการนั่งสมาธิ จุดโคมประทีป และลอยโคมประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา โดยได้รับความร่วมมือจากท่านลามะมุงจากัล แห่งองค์กรใจเปี่ยมสุข (Peaceful Mind Foundation), อาสาสมัครชาวมองโกเลียหลายร้อยคน และสมาชิกจากชมรมพุทธแห่งมองโกเลีย (IBS of Mongolia) จาก 30 มหาวิทยาลัย จำนวน 1,200 กว่าคน และสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ NTV - ถ่ายทอดสดตลอดพิธี มีผู้ร่วมงานก่า 10,000 คน[24] จัดให้มีโครงการวิสาขบูชานานาชาติ ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ในปี 2551 งานวิสาขบูชาที่วัดพระธรรมกายโจฮันเนสเบิร์ก โดยมีผู้มีบุญทั้งชาวไทยและชาวท้องถิ่นพร้อมใจกันไปร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก งานนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ วิเชสิงเห เอกอัครราชทูตศรีลังกา ประจำกรุงพริทอเรีย (Pretoria) เมืองหลวงของประเทศแอฟริกาใต้ นำพลเมืองชาวศรีลังกาในความดูแลของท่าน มาทำ การเฉลิมฉลอง พุทธชยันตีด้วยการปฏิบัติบูชา ทำให้ บรรยากาศอบอุ่นอบอวลไปด้วยชาวพุทธหลากหลาย เชื้อชาติ[25] งานด้านสาธารณสงเคราะห์โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 วิกฤตการณ์น้ำท่วมทางภาคเหนือ ทางวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 30 องค์กร ในนามสหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ ได้มอบถุงยังชีพ ในจังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ [26] [27] โครงการช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า ส่งขอไปช่วยจำนวน 6 ครั้ง ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 รวมเป็นจำนวนกว่า 20,000 ชุด ได้แก่ ยารักษาโรค ถุงยังชีพ น้ำดื่ม เครื่องอุปโภค และผ้าไตรจีวร มูลค่ากว่า 7,000,000 บาท พร้อมทั้งหน่วยแพทย์ พยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศพม่า[28] โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2553 มอบถุงยังชีพใน 20 จังหวัด เป็นจำนวนกว่า 60 วัด รวมเป็นถุงยังชีพกว่า 40,000 ชุด รวมน้ำหนักกว่า 80 ตัน[29] โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2554 มอบถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 30 จังหวัด เป็นจำนวนเป็นถุงยังชีพกว่า 400,000 ชุด อีกส่วนหนึ่งยังนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย [30][31] โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ในปี พ.ศ. 2558 เปิดศูนย์ช่วยเหลือ 2 ศูนย์ ที่เมือง Godawari และศูนย์ที่เมือง Dharmasthali โดยภายในศูนย์ มีการเปิดโรงทานเลี้ยงผู้ประสบภัย[32][33] รางวัล
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
ช่วง พ.ศ. 2540-2541 สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) และทีมงาน เช่น ประเด็นการยักยอกทรัพย์ และการบริหารเงินบริจาค และพยายามเปลี่ยนการเรียกนามของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็น "นายไชยบูลย์ สุทธิผล" ด้วยข้อกล่าวหาทางพระธรรมวินัยขั้นปาราชิก ในข้อหายักยอกทรัพย์วัดของตนเอง[ต้องการอ้างอิง] ศิษย์บางส่วนออกมาปกป้องพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ว่าถูกขบวนการทำลายล้างวางแผนทำลายชื่อเสียงวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ผ่านสื่อมวลชนและการกดดันทางการเมืองและเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งเชื่อว่าบุคคลในห้องกระจกอาจมีส่วนรู้เห็นในการปลอมแปลงพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเพื่อหวังผลในการจับสึกพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เนื่องจากพระลิขิตทั้งห้าฉบับมีข้อผิดปกติอยู่มากเช่น มีการใช้เลขอารบิกในเอกสารที่ปกติใช้แต่เลขไทย ไม่มีใครเคยเห็นพระลิขิตฉบับจริงพบเพียงเอกสารสำเนา และผู้รับรองพระลิขิตก็คือพระราชรัตนมงคล ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกดำเนินคดีปลอมแปลงเอกสารของสมเด็จพระสังฆราช ในขณะที่คณะวัดพระธรรมกายพยายามออกแถลงการณ์เพื่อชี้แจงข้อสงสัยอยู่เป็นระยะ[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตามขบวนการโจมตีวัดพระธรรมกายก็ยังคงพยายามชี้นำสังคมให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยวัดพระธรรมกายอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน[ต้องการอ้างอิง] ภายหลังสื่อมวลชนทั้งหลายได้ออกมาขอขมาวัดพระธรรมกาย เพราะว่าได้ลงข่าวที่ไม่เป็นความจริงลงไปอย่างมากมาย ทำให้วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ได้รับความเสียหาย ระหว่างคดียังคงอยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นศาลพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) และคณะวัดพระธรรมกายได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ในระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว สื่อมวลชนบางสำนักได้นำเสนอข่าวแพร่สะพัดออกไปในทางเสื่อมเสีย จึงได้มีการฟ้องกลับสื่อมวลชน ซึ่งต่อมาศาลอาญาได้พิพากษาว่าการกระทำดังกล่าวของสื่อมวลชนเป็นความผิด[ต้องการอ้างอิง] และให้ประกาศข้อความขอขมาวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทั้งมติชน กรุงเทพธุรกิจ สยามรัฐ กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ถอนฟ้องคดีทั้งหมดของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศรับรองความบริสุทธิ์ของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)[ต้องการอ้างอิง] และมหาเถรสมาคมได้ส่งผู้แทนมายังวัดพระธรรมกายเพื่อถวายคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแก่พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)[ต้องการอ้างอิง] สำหรับประเด็นนี้นักวิชาการบางคน เช่น ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งถูกคดีอาญาหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลสั่งจำคุกเมื่อเดือนมิถุนายน 2555[ต้องการอ้างอิง] ในขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนวัดพระธรรมกายได้ออกมาแย้งในรูปแบบต่าง ๆ ว่า คดีของวัดพระธรรมกายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีการใช้อิทธิพลของผู้มีอำนาจระดับสูงกดดันหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง] ด้วยเหตุผลที่วัดพระธรรมกายเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงมีศิษยานุศิษย์ในทุกระดับชั้นของสังคมและทั่วโลก จึงเกรงว่าหมู่คณะวัดพระธรรมกายอาจมีอำนาจการต่อรองทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] กรณีวิจารณ์เมื่อขยายงานพระศาสนาพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) มีแนวคิดรวมคณะสงฆ์ทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยความหมายแล้วเพื่อให้งานพระพุทธศาสนาขยายกว้างและเข็มแข็ง เพื่อประชุมเปรียบเทียบคำสอนในศาสนาพุทธที่ปรากฏอยู่ในแต่ละนิกาย [42] จึงเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์ว่าพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตนเอง[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งทางกลุ่มผู้สนับสนุนได้โต้แย้งว่าการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับพุทธบริษัททั้งสี่นั้นเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ซึ่งการที่พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ตั้งใจสร้างความสามัคคีของชาวพุทธทั่วโลกให้เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ควรแก่การส่งเสริมและสนับสนุนมากกว่าการมุ่งร้ายทำลายกันเองระหว่างหมู่พุทธศาสนิกชน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้นในหมู่ของชาววัดพระธรรมกายได้รับคำสั่งสอนและให้คุณค่าของการกระทำความดีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันว่า คือการสร้างบารมีตามเยี่ยงอย่างพระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อน และ เป็นสิ่งที่ชาวพุทธที่ดีควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง[ต้องการอ้างอิง] วัดพระธรรมกายภายใต้การนำของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) มีความตั้งใจสร้างความสามัคคีของคณะสงฆ์และพุทธบริษัทสี่ทั่วโลก พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ได้ดำริโครงการต่าง ๆและสร้างงานบุญพิธีอันยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การระดมทุนเพื่อการสร้างศาสนวัตถุขนาดใหญ่, การฝึกอบรมในโครงการต่างๆ อาทิ โครงการอบรมธรรมทายาท ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของการอุปสมบทพระภิกษุ อบรมธรรมทายาทหญิง อบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก โครงการเด็กดีวีสตาร์ โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า เป็นต้น โดยให้เหตุผลเพื่อการเผยแผ่และค้ำจุนพระพุทธศาสนา ในขณะที่ชาวพุทธชาวไทยส่วนหนึ่ง มองการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่สุดโต่ง ไม่สันโดษ ไม่สมถะ แอบแฝงเป็นพุทธพาณิชย์ ข้อกล่าวหากรณีอาบัติปาราชิกวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 คณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ นำโดย ไพบูลย์ นิติตะวัน ประชุมเพื่อพิจารณาสถานภาพของพระธัมมชโย และเชิญผู้แทนมหาเถรสมาคมมาชี้แจง กรณีไชยบูลย์ สุทธิผล (พระธัมมชโย) ได้อาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ตามพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกใน 2 กรณี คือ กรณีการไม่ยอมคืนที่ดินให้วัดพระธรรมกาย และการกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกมีความบกพร่องจึงเป็นเหตุให้บิดเบือนคำสอน ซึ่งถือเป็นขั้นอนันตริยกรรม[43][44][45] ทั้งที่พระลิขิตมีข้อโต้แย้งมากมายว่าเป็นพระลิขิตปลอมดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น และในการกล่าวหาผู้ที่ถูกสงสัยว่าต้องปาราชิกนั้นจะต้องมีการตั้งอธิกรณ์ในหมู่สงฆ์ตามหลักสัมมุขาวินัยเท่านั้น จะพิพากษาโดยผู้ใดผู้หนึ่งลอย ๆ ไม่ได้ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชย่อมเข้าใจในประเด็นนี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่คณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติมีความเห็นว่า พระธัมมชโยอาบัติปาราชิกตามพระลิขิต อีกทั้งมหาเถรสมาคมได้มีมติครั้งที่ 191/2542 และครั้งที่ 193/2542 ซึ่งเป็นมติรับทราบและให้ดำเนินการตามพระดำริสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตั้งแต่ปี 2542 แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการดำเนินการเพียงรับโอนที่ดินให้ตกเป็นของวัดเท่านั้น ส่วนกรณีอาบัติปาราชิกและต้องขาดจากความเป็นพระนั้น กลับละเว้นไม่ดำเนินการมาเป็นเวลา 16 ปีเพื่อให้พระธัมมชโยพ้นจากการเป็นภิกษุสงฆ์ คณะกรรมการฯ จึงได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องบังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม[43][44][45] คณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนายังให้ความเห็นว่า เรื่องนี้จะต้องให้รัฐบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ บังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม และพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช โดยพระลิขิตสำคัญที่ทรงมีพระวินิจฉัยให้พระธัมมชโยพ้นจากความเป็นสงฆ์ ด้วยอาบัติปาราชิก ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด ลงวันที่ 26 เมษายน 2542 นั้น มีใจความสำคัญดังนี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 สมชาย สุรชาตรี โฆษกประจำสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แถลงว่าตามเอกสารของมหาเถรสมาคมเมื่อปี 2542 ไม่มีคำสั่งหรือเอกสารที่ระบุว่าพระธัมมชโยเป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุตามพระลิขิตดังกล่าว[46] ด้านพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังเปิดประเด็นอีกด้วยว่าไม่แน่ใจว่าพระลิขิตนั้นเป็นของปลอมหรือไม่ และย้ำว่าพระธัมมชโยยังไม่ปาราชิก[47] ต่อมาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการและโฆษกมหาเถรสมาคมเผยว่า มหาเถรสมาคมเห็นว่าพระธัมมชโยไม่มีเจตนาขัดพระลิขิต และไม่มีเจตนาฉ้อโกง จึงถือว่าพ้นมลทิน และในปี 2549 ได้มีมติถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับพระธัมมชโย อีกทั้งในปี 2554 ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์จากยศพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระเทพญาณมหามุนี[48] และพระธัมมชโยก็ได้ดำรงสมณเพศต่อมา และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ "พระเทพญาณมหามุนี" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ในวันต่อมา ไพบูลย์ นิติตะวัน กล่าวว่ามติของมหาเถรสมาคมในเรื่องดังกล่าวขัดต่อพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชที่รับรองโดยมติของมหาเถรสมาคมเอง และจะตรวจสอบมหาเถรสมาคม สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนและนักวิชาการอิสระ และไพศาล พืชมงคล กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กแสดงความไม่เห็นด้วยต่อมติดังกล่าว[49] นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน สุวิทย์ ทองประเสริฐ (อดีตพระพุทธะอิสระ) นำมวลชน 200 คนเดินทางไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยอ้างว่าจะมาทำบุญและนำตะกร้าขนาดใหญ่บรรจุกางเกงขาสั้น กางเกงใน ปลากระป๋อง ที่นอน รองเท้า สากกระเบือ ดอกไม้จันทน์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเงิน 1000 บาทเพื่อเป็นการแสดงการคัดค้านต่อมติมหาเถรสมาคม[50] แต่ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 สมชาย สุรชาตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่ามติมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับพระธัมมชโยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์นั้นไม่มีจริง ในวันนั้นแค่รายงานเรื่องให้มหาเถรสมาคมทราบเรื่องเท่านั้น[51] ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 มหาเถรสมาคมได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ภายหลังจากการประชุมพระพรหมเมธีได้แถลงว่า เรื่องของพระธัมมชโยที่ถือว่ายุติลงแล้วตั้งแต่ปี 2542 ที่ประชุม มส.ไม่สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้เพราะจะทำให้ มส. เป็นอาบัติปาราชิกทั้งคณะตามข้อกำหนดของพระธรรมวินัย[52] ข้อกล่าวหากรณีบุกรุกป่าสงวนภูเรือศาลจังหวัดเลยอนุมัติหมายจับพระธัมมชโย กรณีบุกรุกป่าสงวนภูเรือ[53] กรณีพัวพันคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าชุดตรวจสอบเส้นทางการเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ได้สรุปผลการสอบสวนเส้นทางเงินกรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด สั่งจ่ายเช็ครวม 878 ฉบับ เป็นเงิน 11,367 ล้านบาท ให้กับกลุ่มบุคคลและนิติบุคคลรวม 7 กลุ่ม ซึ่งเข้าข่ายเป็นการยักยอกทรัพย์หรือสนับสนุนให้ลักทรัพย์ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง ในกลุ่มวัดพระธรรมกาย พระเทพญาณมหามุณี (พระธัมมชโย) และมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง นั้นคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้หารือร่วมกับหัวหน้าพนักงานอัยการร่วมสอบสวนแล้ว พิจารณาเห็นว่า
คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะได้นำผลการสอบสวนปากคำพยาน พร้อมเอกสารทางการเงินเกี่ยวกับผู้รับเช็คทั้ง 878 ฉบับ ส่งมอบให้กับพนักงานอัยการคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย [54][55] 17 พฤษภาคม 2559 ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับพระเทพญาณมหามุณี ฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร หลังจากที่ไม่ได้มารายงานตัวตามหมายเรียกของกรมสอบสวนคดีพิเศษ[56] ซึ่งทำให้มีเหตุการณ์ปิดล้อมวัดพระธรรมกายโดยคสช.ประกาศใช้ ม.44 บุกและนำกำลังของเข้าหน้าที่ DSI และทหารกว่า 5000 นาย โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2560 - 10 มี.ค. 2560 มีศิษย์วัดพระธรรมกายและผู้ไม่เห็นด้วยมาขัดขวางเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ปิดล้อมวัดนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน อ้างอิง
ดูเพิ่ม |