พัชรา แวงวรรณ
พัชรา แวงวรรณ (10 กันยายน พ.ศ. 2507 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555) ชื่อเล่น เอ๋ เป็นนักร้องหญิงและนักแต่งเพลงชาวไทย เคยเป็นนักร้องนำของวงโอเวชั่น วงดนตรีไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งวงโอเวชั่น เคยมีผลงานในช่วง พ.ศ. 2525 - 2532 กับสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น ประวัติพัชรา แวงวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507[2] ที่ โรงพยาบาลราชวิถี จังหวัดพระนคร เป็นบุตรสาวคนเล็กในบรรดาบุตร 4 คน ของโกศล แวงวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด กับศรีสุดารัตน์ กาญจนรักษ์[3] ก่อนครอบครัวย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พัชราเริ่มร้องเพลงตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เมื่อเธอเรียนจบชั้นมัธยม เธอเข้าเป็นนักร้องที่โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพมหานคร เป็นที่แรกในปี พ.ศ. 2524 เธอได้เข้าร่วมกับวงดนตรีชื่อ โอเวชั่น ต่อมา พัชราและวงดิโอเวชั่นก็ได้เป็นศิลปินกลุ่มสังกัดนิธิทัศน์โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525[4] วงการบันเทิงดิ โอเวชั่นอัลบั้มแรกของวงวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2525 ในชื่อว่า "รักและคิดถึง" มีเพลงดังอย่างเพลง รักและคิดถึง, ขอเป็นเพื่อนใจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อว่า "ที่เก่าเวลาเดิม" มีเพลงเด่นอย่าง ที่เก่าเวลาเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อว่า "รักเธอเสมอ" มีเพลงเด่นอย่าง รักเธอเสมอ, อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทางวงก็ได้รับ "ไวยวุฒิ สกุลทรัพย์ไพศาล" (ขาว) พี่ชายแท้ ๆ ของ วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล หรือ "ดำ ฟอร์เอฟเวอร์" ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักร้องนำคนใหม่ของวงคู่กับ พัชรา นักร้องประจำวง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับวง โดยในปีนั้น ทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในชื่อว่า "รักข้ามขอบฟ้า" มีเพลงเด่นคือเพลง รักข้ามขอบฟ้า, ฤทธิ์กามเทพ, พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอจนตาย, คนไร้รัง [4] ในปี พ.ศ. 2529 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ในชื่อว่า "รักไม่รู้จบ" มีเพลงเด่นอย่างเช่นเพลง รักไม่รู้จบ, รักเอย, คนหลายใจ, ใจคนคอย โดยอัลบั้ม รักไม่รู้จบ ถือเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของ พัชรา แวงวรรณ กับ ดิ โอเวชั่น เพราะหลังจากการโปรโมตอัลบั้มนี้ได้ซาลงไป ทางต้นสังกัด คือ นิธิทัศน์ ก็เห็นว่าเอ๋นั้นไม่เหมาะกับเพลงเร็ว เพราะแนวเสียงของเธอนั้นเหมาะกับเพลงช้ามากกว่า ทางนิธิทัศน์จึงได้ให้เธอแยกออกมาทำอัลบั้มเดี่ยว ทางวงจึงต้องหานักร้องหญิงคนใหม่มาแทน พัชรา นั่นคือ พรพิมล ธรรมสาร (ก้อย) โดยก้อยได้มาเป็นนักร้องนำของวงโอเวชั่น ในอัลบั้ม "เริ่มวัยรัก" (พ.ศ. 2530) ศิลปินเดี่ยวอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของ พัชรา ได้ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2530 โดยใช้ชื่อชุดว่า "เพียงดวงตาและรอยยิ้ม" อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก อัลบั้มชุดที่ 2 จึงออกวางแผงในปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า "ไม่รักไม่เจ็บ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พัชรา ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สาม ชื่อว่า "เพราะเรามาทีหลัง" โดยในชุดนี้มีเพลงเด่นอย่าง "เพราะเรามาทีหลัง" หลังจากที่หายไปสองปี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 พัชรา ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ในชื่อว่า "กล้ำกลืน" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 พัชรา ออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ "แอบช้ำ" ช่วง พ.ศ. 2537-2539 พัชราออกอัลบั้มเดี่ยวต่ออีกสองอัลบั้มในสังกัดนิธิทัศน์ ได้แก่ "ขื่นขม" และ "คลื่นซัดใจ" ใน พ.ศ. 2540 พัชราออกอัลบั้มเดี่ยวสังกัดวีเอ็มพี โดยมีชื่ออัลบั้มว่า "ไม่มีคืนนั้นอีกแล้ว" การเสียชีวิตพัชรา แวงวรรณ เสียชีวิตในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่ริเวอร์ไซด์ นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หลังจากไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นด้วยการร้องเพลงตามร้านอาหารและเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลา 10 กว่าปี ขณะนั้นพัชรา แวงวรรณกำลังจะศึกษาต่อระดับปริญญาด้านนี้[5] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐฯ พบศพในลักษณะแขวนคอในโรงจอดรถ ที่บ้านพักซึ่งเช่าอยู่ตามลำพัง[6] ขณะที่บางสำนักข่าวรายงานเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์[7] สุดท้ายได้ข้อสรุปจากการชันสูตรศพของตำรวจเมืองริเวอร์ไซต์ว่า พัชราเสียชีวิตเพราะฆ่าตัวตาย[8] วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ครอบครัวของพัชรา และนฤชา เพ่งผล ตัวแทนจากนิธิทัศน์ เดินทางมารับศพพัชราที่อาคารคลังสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเคลื่อนขบวนศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล และสวดพระอภิธรรม ณ วัดสายไหม ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี[9] บ่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 มีพิธีฌาปนกิจศพพัชรา โดยมีดาราหลายคนและประชาชนร่วมงานนับพันคน[10] ผลงานเพลงอัลบั้มในนาม โอเวชั่นรักและคิดถึง (2525) (นิธิทัศน์)
ที่เก่าเวลาเดิม (2526) (นิธิทัศน์)
รักเธอเสมอ (2527) (นิธิทัศน์)
รักข้ามขอบฟ้า (2528) (นิธิทัศน์)
รักไม่รู้จบ (2529) (นิธิทัศน์)
สตูดิโออัลบั้มเพียงดวงตาและรอยยิ้ม (2530) (นิธิทัศน์)
ไม่รักไม่เจ็บ (2531) (นิธิทัศน์)
เพราะเรามาทีหลัง (2533) (นิธิทัศน์)
กล้ำกลืน (2535) (นิธิทัศน์)
แอบช้ำ (2536) (นิธิทัศน์)
ขื่นขม (2537) (นิธิทัศน์)
คลื่นซัดใจ (2539) (นิธิทัศน์)
ไม่มีคืนนั้นอีกแล้ว (2540) (วีเอ็มพี)
อัลบั้มพิเศษ16 เพลงอมตะนิรันดร์กาล ชุดที่ 1 (ลั่นทม) (2531) (นิธิทัศน์)
16 เพลงอมตะนิรันดร์กาล ชุดที่ 2 (ชบา) (2531) (นิธิทัศน์)
16 เพลงอมตะนิรันดร์กาล ชุดที่ 3 (ราตรี) (2532) (นิธิทัศน์)
16 เพลงอมตะยอดนิยมเงินล้าน (2532) (นิธิทัศน์)
รักและคิดถึง (2537) (นิธิทัศน์)
เพลงฮิตเมื่อวันวาน 2
อัลบั้มที่ร่วมร้องกับศิลปินคนอื่นๆ18 กะรัต 1 (2527) (นิธิทัศน์)
18 กะรัต 2 (2527) (นิธิทัศน์)
18 กะรัต 3 (2527) (นิธิทัศน์)
เพลงรักคู่โลก (2528)
แด่เธอผู้เป็นที่รัก (2528) (อัลบั้มนี้จัดทำเพื่อหารายได้มาสมทบทุนในการสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)
เพลงคู่ซุปเปอร์คลาสสิค (ร่วมกับ อู๋ อรรถพล) (2533) (นิธิทัศน์)
อัลบั้มอื่น ๆ
เพลงประกอบภาพยนตร์
ผลงานภาพยนตร์
อ้างอิง
|