Share to:

 

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย
พายุไต้ฝุ่นบัวลอยขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
22 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว18 ตุลาคม พ.ศ. 2562
นอกเขตร้อน24 ตุลาคม พ.ศ. 2562
สลายตัว25 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต13 ราย
ความเสียหาย$200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2562 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา,
กวม, ญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (อักษรโรมัน: Bualoi)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสามรองจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิส และพายุไต้ฝุ่นหะลอง และเป็นพายุลูกที่ยี่สิบเอ็ดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 39, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 11 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ พายุก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นมาก และแรงลมต่ำ จึงทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พายุโซนร้อนบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และในเวลาต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น พายุไต้ฝุ่นบัวลอยถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 22 ตุลาคม ด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 2] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพายุเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในวันรุ่งขึ้น[1]

หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นต้องเตรียมรับมือพายุ 2 ลูก อีกครั้ง เช่น พายุไต้ฝุ่นนอกูรี และพายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นต้น[2] มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วมในพื้นที่ราบต่ำ หรือพื้นที่ริมแม่น้ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนอกูรีกำลังเคลื่อนตัวไปยังภูมิภาคดังกล่าว และในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน[3]

ภายใต้อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักในทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชิบะ และจังหวัดฟูกูชิมะ มีปริมาณน้ำฝนรวมไว้ประมาณ 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน และเกินปริมาณน้ำฝนเป็นเวลาหนึ่งเดือนในเดือนตุลาคมของปี[5][6] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ในจังหวัดชิบะ[7] และ 2 ราย ในจังหวัดฟูกูชิมะ บริการขนส่งได้หยุดให้บริการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 4,998 หลัง และเกิดความเสียหายประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 3]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย

  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 650 กิโลเมตร (405 ไมล์) ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และค่อย ๆ เคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางเหนือในเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) จากนั้นมุ่งหน้าไปยังแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 24 ตุลาคม ดาวเทียมของโนอา และดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และดาวเทียมทั้งคู่ใช้แสงอินฟราเรดเพื่อรับข้อมูลอุณหภูมิ และข้อมูลรูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย รูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุอสมมาตร ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังอ่อนกำลังลง ข้อมูลอินฟราเรดให้ข้อมูลอุณหภูมิ และพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงที่สุดที่ลอยสู่ชั้นบรรยากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดของเมฆที่เย็นที่สุด ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อนักพยากรณ์เนื่องจากลมพายุไม่สม่ำเสมอ และช่วยระบุตำแหน่งของพายุที่รุนแรงที่สุดเมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากทางตอนใต้ของเมืองมิซาวะ ประเทศญี่ปุ่นไปประมาณ 1,080 กิโลเมตร (670 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)

การเตรียมการ

กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม บริการสภาพอากาศแห่งชาติในกวมระบุว่าคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับติเนียน และไซปัน[10] คาดว่าจะมีลมแรงอยู่ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมากกว่าตลอดเช้านี้ และคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับอะกริฮัน ปากัน และอะลามากัน ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาตั้งแต่วันนี้จนถึงวันรุ่งขึ้น[11]

ประเทศญี่ปุ่น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ประกาศแจ้งเตือนประชาชนในทางตะวันออก และทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำพายุไต้ฝุ่นบัวลอย หลังจากเพิ่งประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสอย่างหนักเมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ถึงแม้พายุไต้ฝุ่นบัวลอยไม่เคลื่อนตัวพัดผ่านขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่นโดยตรง แต่อิทธิพลของพายุจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนัก บริเวณทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ขณะที่ตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเผชิญกับพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือจะเกิดฝนตกหนักในช่วงบ่ายไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 26 ตุลาคม และจะเกิดฝนตกหนักที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมง จนถึงเวลา 06:00 น. (23:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 26 ตุลาคม บริเวณคันโตทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น และโทโฮกุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนโทไก และโกชิน รวมทั้งเกาะอิซึ ทางตอนใต้ของโตเกียวจะเกิดฝนตกหนัก และวัดปริมาณน้ำฝนได้ราวประมาณ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว)[12]

ผลกระทบ

ประเทศญี่ปุ่น

ปริมาณน้ำฝนในโทโฮกุ คันโต และชูบุ จากพายุไต้ฝุ่นบัวลอยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

พายุไต้ฝุ่นบัวลอยทำให้เกิดน้ำท่วม และโคลนถล่ม โดยเฉพาะที่จังหวัดชิบะมีบ้านเรือนอย่างน้อย 3 หลัง ถูกโคลนถล่มทับ นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 ราย และสูญหายอีก 3 ราย[13] โดยหลายพื้นที่ของจังหวัดชิบะวัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่า 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ในช่วง 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าปริมาณโดยเฉลี่ยของเดือนตุลาคมทั้งเดือน เจ้าหน้าที่ของจังหวัดชิบะระบุว่าได้ระงับแผนการปล่อยน้ำจากเขื่อนทาคาทากิ และเขื่อนคาเมยามะ ในช่วงบ่ายที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้เขื่อนแตก เนื่องจากเห็นว่าระดับน้ำยังคงที่อยู่ แต่เรียกร้องให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสภาพอากาศ[14] และระดับน้ำในเขื่อนอย่างต่อเนื่องด้วย เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปล่อยน้ำแบบฉุกเฉิน หากระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากฝนที่กระหน่ำลงมา[15][16] ในระยะเวลา 12 ชั่วโมง มีปริมาณในตกลงมามากถึง 280 มิลลิเมตร (11 นิ้ว) ในบางพื้นที่ของจังหวัดชิบะ และจังหวัดอิบารากิ ซึ่งมากกว่าปริมาณเฉลี่ยของฝนที่ตกลงในตลอดทั้งเดือนตุลาคม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก[17][18]

มีรายงานว่าเหตุดินถล่มในจังหวัดชิบะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย[19][20] โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังเร่งผู้สูญหายอีก 1 ราย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่พบชายอีก 1 ราย หมดสติอยู่ภายในรถที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในขณะเดียวกัน มีเที่ยวบินอย่างน้อย 20 เที่ยวบิน ต้องเปลี่ยนเส้นทางการบินจากท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะไปลงจอดยังสนามบินอื่น ๆ ส่วนบริการรถไฟส่วนใหญ่ในจังหวัดชิบะหยุดให้บริการชั่วคราวส่งผลให้มีผู้โดยสารติดค้างอยู่ตามสถานีรถไฟเป็นจำนวนมาก[21] ทั้งนี้ คาดว่าหย่อมความกดอากาศต่ำจะส่งผลให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องไป[22] พื้นที่หมู่เกาะโองาซาวาระ ทางภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง พัดต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น พัดชิ้นส่วนของสิ่งปลูกสร้างลอยปลิวไปในอากาศ ส่วนในทะเลเกิดคลื่นลมแรงซัดชายฝั่ง เรือถูกห้ามออกเดินทางจากท่า[23][24]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. "บัวลอย" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  3. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2562 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[8]
  5. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[9]

อ้างอิง

  1. "Typhoon Bualoi". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Korosec, Marko (2019-10-22). "Super typhoon BUALOI remains a powerful Category 4 and is on its way towards Iwo Jima island tomorrow". Severe Weather Europe (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ญี่ปุ่นเตรียมรับศึกใหม่ ไต้ฝุ่น 2 ลูก จ่อถล่มซ้ำ หลังฮากิบิสเพิ่งผ่านพ้น". kapook.com. 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "強颱風「博羅依」靠近日本 四國至關東嚴防大雨". www.bastillepost.com (ภาษาจีน). 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "大雨、千葉と福島で死者10人に 1カ月分超の雨量襲う:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "令和元年台風21号(2019年10月25日) | 災害カレンダー". Yahoo!天気・災害 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "25日の千葉・福島の大雨被害 13人死亡 | NHKニュース". web.archive.org (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  9. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  10. Staff, Daily Post (2019-10-20). "WEATHER UPDATE: Tinian, Saipan now under typhoon warning; Guam remains in tropical storm watch". The Guam Daily Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
  11. ECHO (2019-10-29). "Japan, Northern Mariana Islands - Tropical Cyclone NEOGURI and BUALOI (GDACS, JTWC, JMA, NOAA, media) (Echo Daily Flash of 21 October 2019)". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
  12. "ไต้ฝุ่นบัวลอย มาแล้ว อุตุฯญี่ปุ่นเตือนทั่วประเทศ ฝนตกหนัก ระวังดินถล่ม". www.thairath.co.th. 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Spate of typhoon deaths during travel in cars underscores need for early evacuations". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2022.
  14. "記録的豪雨、死者10人不明1人 27河川浸水、土砂災害も" (ภาษาญี่ปุ่น). The Sankei News. 2019-10-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  15. "ญี่ปุ่นช้ำ "ไต้ฝุ่นบัวลอย" ซ้ำเติมฮากิบิส ทางการเตือนภัยระดับ 4". 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "大雨、千葉と福島で死者10人に 1カ月分超の雨量襲う" (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  17. 10月25日からの大雨による被害状況(別紙2) (PDF) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). Fire and Disaster Management Agency. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  18. Weather, Climate & Catastrophe Insight: 2019 Annual Report (PDF). AON Benfield (Report). AON Benfield. 2020-01-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 January 2020. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
  19. "相馬・松川浦湾内で不明38歳男性の遺体発見 大雨で車流される" (ภาษาญี่ปุ่น). Minyu-Net. 2019-11-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  20. "千葉県内で約2万3400戸が停電(午後5時半時点)" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 2019-10-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  21. "25日の大雨 10人死亡 不明の1人の捜索続く" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 2019-10-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  22. "ไต้ฝุ่น 'บัวลอย' ถล่มญี่ปุุ่นดับ 4 ราย". bangkokbiznews. 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "浸水想定区域外で被害 避難所や市役所、死者も" (ภาษาญี่ปุ่น). CHUNICHI Web. 2019-10-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
  24. 令和元年台風第19号等による被害状況等について(第31報) (PDF) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya