Share to:

 

พิเชต สุนทรพิพิธ

นายพิเชต สุนทรพิพิธ

เกิด8 มกราคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพข้าราชการบำนาญ
มีชื่อเสียงจากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรก
คู่สมรสจิตราภา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
บุตร2 คน
บิดามารดาพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
ญาติพิชิต สุนทรพิพิธ (พี่ชาย)
ชยพร เมืองแมน (พี่สาว)

พิเชต สุนทรพิพิธ (8 มกราคม พ.ศ. 2484 - )[1] สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 (แบบสรรหา) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรกของประเทศไทย และอดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

การศึกษา

พิเชต สุนทรพิพิธ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโทเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังได้ผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2534 และประกาศนียบัตรการบริหารโครงการ ประเทศอังกฤษ และหลักสูตรการประเมินผลโครงการ ประเทศเนเธอร์แลนด์

การทำงาน

รับราชการ

พิเชต สุนทรพิพิธ เริ่มรับราชการในตำแหน่งเศรษฐกรตรี สังกัดกองโครงการปฏิบัติ กรมวิเทศสหการ สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ กรมวิเทศสหการ เป็นรองอธิบดีกรมวิเทศสหการ และอธิบดีกรมวิเทศสหการ จากนั้นจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งสุดท้าย คือ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2543

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ในปี พ.ศ. 2543 นายพิเชต ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรกของประเทศไทย[2]

วุฒิสภา

นายพิเชต ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา แบบสรรหา ในปี พ.ศ. 2551 และในปี พ.ศ. 2554 นายพิเชต สุนทรพิพิธ ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต่อเนื่อง[3] เป็นสมัยที่ 2

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 นายพิเชต ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 69 เสียง รองจากนายนิคม ไวยรัชพานิช ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 77 เสียง เป็นประธานวุฒิสภา[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. https://www.thairath.co.th/person/8692
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (นายพิเชต สุนทรพิพิธ)
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  4. สายเลือกตั้งเฉือนชนะ 'นิคม ไวยรัชพานิช' นั่งปธ.วุฒิสภาคนใหม่
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
Kembali kehalaman sebelumnya