พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ประวัติพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เดิมสกุล มัฆวิบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุรี เป็นบุตรนายแพ และนางหุ่น สุนทรพิพิธ เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบางสะแกนอก ก่อนจะเข้าศึกษาชั้นประถม โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ต่อมาจึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) อยู่ที่วังปารุสวัน และพระราชวังสราญรมย์ โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบัน คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จนจบประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์[1] พระยาสุนทรพิพิธ สมรสกับ คุณหญิงประยูร (เศวตเลข) ธิดาของ หลวงพิสุทธิ์สัตยารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหล่มสัก และนางทรวง (จินตกานนท์) โดยนางทรวงเป็นพี่สาวของ พระยาอรรถวิรัชวาทเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) อัยการมณฑลอุบลราชธานี มีบุตร-ธิดา 4 คนได้แก่ นายชัยทัต สุนทรพิพิธ นางชยศรี ชาลี นายชัยเสน สุนทรพิพิธ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ [2] พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2516 เวลา 16.50 น.[3] ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง2454 เป็น ขุนศุภกิจวิเลขการ 2456 เป็น หลวงศุขกิจวิเลขการ ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (ศรีษะเกษ) 2459 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา 2462 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ 2464 เป็น พระยาสุนทรพิพิธ 2467 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี[4] งานการเมืองพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 1 สมัย[5] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี 4 คณะ สมาชิกรัฐสภาพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดพิษณุโลก และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[6] รัฐมนตรีพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2489 ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[7][8] และดำรงตำแหน่งต่อในคณะรัฐมนตรีถัดมาจนถึง พ.ศ. 2490[9][10] จากนั้นใน พ.ศ. 2490 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และพ้นจากตำแหน่งไปในปีเดียวกัน[12] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|