ประวิช รัตนเพียร
ประวิช รัตนเพียร (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2499) เป็นข้าราชการและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนการค้าไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนที่ 25 อธิการบดีและนายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ปัจจุบันเป็นกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประวัติประวิช รัตนเพียร เป็นบุตรของ นายประชุม รัตนเพียร กับนางวิจิตรา รัตนเพียร มีพี่น้องจำนวน 4 คน คือ ประวิช รัตนเพียร, ประเวช รัตนเพียร, วาชิต รัตนเพียร และรองศาสตราจารย์ วิชุดา รัตนเพียร ด้านครอบครัวสมรสกับนางพัชราภรณ์ รัตนเพียร มีบุตร 4 คน คือ นายพิชญ์ รัตนเพียร นายปริน รัตนเพียร นางสาววิชชาภร รัตนเพียร และนางสาวปรินดา รัตนเพียร สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรี ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 26 (พ.ศ. 2519) ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และปริญญาเอกทางด้านการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2525 จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต และยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Research Associate) จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ด้วย การทำงาน
การศึกษาพิเศษ
การทำงานประวิช เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก) ในปี พ.ศ. 2537[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 เป็น ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายกร ทัพพะรังสี) และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีผลงานเด่นในด้านต่างๆ เช่น การผลักดันตราสัญลักษณ์ไทย (Thailand Brand) มาตรการส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ มาตรการส่งเสริมธุรกิจบริการ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา 138 ประเทศ ให้เป็นกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter Parliamentary Union – IPU) และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้แทนการค้าไทย และในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน[4] กระทั่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเข้ารับหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2564 ปัจจุบันเป็นกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|