พูนศุข พนมยงค์
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์; 2 มกราคม พ.ศ. 2455 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ประวัติพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจวนเจ้าเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ 5 ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ[1] กับคุณหญิงเพ็ง ณ ป้อมเพชร์ (สกุลเดิม: สุวรรณศร) ได้รับพระราชทานนาม "พูนศุข" จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พูนศุข เป็นหลานของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ด้วยมารดา คือ คุณหญิงเพ็งเป็นบุตรีของหลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร) กับนางนิล สุวรรณศร (สกุลเดิม: สุขุม) ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยายมราช อีกด้านหนึ่ง พูนศุขก็มีศักดิ์เป็นหลานของท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (พี่สาวของบิดาคือ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา) ภริยาของเจ้าพระยายมราช ชีวิตในวัยเด็กของท่านผู้หญิงพูนศุขจึงมีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับญาติทาง "บ้านศาลาแดง" เป็นอย่างดี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน 11 คน ดังนี้
เมื่อพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์ คุณเจริญ ชูพันธุ์ ม.ล. ต่อ กฤดากร ชีวิตส่วนตัวครอบครัวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบัณฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471[2] พูนศุขและปรีดี พนมยงค์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ
เผชิญมรสุมทางการเมืองหลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยปรีดี เป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับพูนศุข และปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้งหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็ก ๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า [1]
อสัญกรรมท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หลังจากได้เข้ารักษาอาการโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม[3] สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน มีพิธีฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ลำดับสาแหรก
เบ็ดเตล็ด
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พูนศุข พนมยงค์
|