Share to:

 

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดขึ้นโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2459

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรครั้งแรกในประเทศ โดยมีชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง ขึ้นเมื่อปี 2458 โดยสโมสรที่เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นสโมสรของทหาร ตำรวจ เสือป่า และข้าราชบริพาร[1]

ต่อมา เมื่อมีการสถาปนา คณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแด่สโมสรชนะเลิศ ก็คือ ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย ให้แก่คณะฯ เพื่อจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ณ สนามเสือป่า โดยสโมสรชนะเลิศจะได้นำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจัดขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[2]

ต่อมา ในปี 2505 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยพระราชทานเพิ่มเติม คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย เป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยยึดหลักตามรูปแบบของสมาคมฟุตบอล (ประเทศอังกฤษ) ในขณะนั้น[3]

ต่อมาในปี 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ให้มีความเป็นมืออาชีพ จึงได้มีการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ขึ้น โดยได้ยก การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. เป็นการแข่งขันในรูปแบบซูเปอร์คัพ โดยจะนำ สโมสรชนะเลิศของลีก กับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ มาทำการแข่งขันแบบนัดเดียวรู้ผล ในสนามที่เป็นกลางแทน (รูปแบบเดียวกับ เอฟเอ คอมมูนิตี ชีลด์ ของอังกฤษ) จนกระทั่งในปี 2545 จึงได้มีการนำสโมสรรองชนะเลิศของลีก มาทำการแข่งขัน โดยจะจัดขึ้นก่อนหน้า การแข่งขันลีก ประมาณ 1 สัปดาห์

กระทั่งในปี 2553 ที่ได้กลับมาจัดการแข่งขัน ไทยเอฟเอคัพ จึงมีการปรับปรุงอีกครั้ง ให้เป็นการแข่งขันก่อนเปิดฤดูกาล ระหว่างสโมสรชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก แข่งขันกับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ หรือถ้าหากสโมสรชนะเลิศทั้ง 2 รายการเป็นสโมสรเดียวกัน ก็จะแข่งกับสโมสรรองชนะเลิศของไทยพรีเมียร์ลีกแทน[4] ด้านการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. , ค. และ ง. จะเป็นเป็นการแข่งขันประจำฤดูกาล ในระดับชั้นรองลงมาของ โซนกรุงเทพฯ ตามลำดับ โดยสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ถ้วยพระราชทานประเภท ข. จะได้เลื่อนชั้นไปแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ ในฤดูกาลถัดไป

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้ทำการยุบการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[5] ต่อมา ทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง แต่รูปแบบการแข่งขันยังคงเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขัน และ ถ้วยรางวัล ในนามการแข่งขัน ไทยแลนด์ แชมเปียนส์คัพ โดยเริ่มตันจัดในปี 2560 เป็นต้นไป[6]

ถ้วยพระราชทานประเภท ก.

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก.

ถ้วยพระราชทานประเภท ข.

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.

ถ้วยพระราชทานประเภท ค.

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.

ถ้วยพระราชทานประเภท ง.

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/35-2017-07-19-13-29-52 บทความ เรื่อง "ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ" - SiamFootball
  2. http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_85.htm เก็บถาวร 2018-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ๘๕. คณะฟุตบอลแห่งชาติสยาม (๕) - วชิราวุธวิทยาลัย
  3. "ประวัติสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-03.
  4. https://sport.mthai.com/other/5833.html เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฟุตบอล ชิงถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2553 - MThai.com
  5. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
  6. http://www.smmsport.com/reader.php?news=191882 เก็บถาวร 2017-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชื่อใหม่ถ้วยใหม่! Thailand Champions Cup กิเลนหวดสุโขทัย - SMMSPORT.com


Kembali kehalaman sebelumnya