ประเทศคาซัคสถาน
คาซัคสถาน (คาซัค: Қазақстан / Qazaqstan, ออกเสียง [qɑzɑqˈstɑn]; รัสเซีย: Казахста́н, ออกเสียง: [kɐzəxˈstɐn]) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (คาซัค: Қазақстан Республикасы / Qazaqstan Respublikasy; รัสเซีย: Респу́блика Казахста́н) เป็นรัฐข้ามทวีปที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางและกินพื้นที่บางส่วนของยุโรปตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซียทางทิศเหนือและตะวันตก ติดต่อกับประเทศจีนทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศคีร์กีซสถานทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศอุซเบกิสถานทางทิศใต้ และติดต่อกับเติร์กเมนิสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวงคืออัสตานา (ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โนร์-โซลตัน" ระหว่าง พ.ศ. 2562–2565) โดยมีอัลมาเตอเป็นเมืองหลวงเก่าจนถึง พ.ศ. 2540 คาซัคสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มโลกอิสลาม และใหญ่เป็นอันดับเก้าของโลก มีประชากรประมาณ 19 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรต่ำ คือน้อยกว่า 6 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์) ดินแดนของคาซัคสถานเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าและอาณาจักรเก่าแก่มาตั้งแต่อดีตกาล ชาวซิทเคยปกครองดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโบราณก่อนทีจักรวรรดิอะคีเมนิดจะเรืองอำนาจและขยายอาณาเขตจรดดินแดนทางใต้ กลุ่มชนเตอร์กิกซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เติร์กเข้ามาตั้งรกรากประมาณช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิมองโกลภายใต้การปกครองของเจงกิส ข่าน เข้าปราบปรามและยึดครองดินแดนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตามด้วยการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่โดยรัฐข่านคาซัคในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งได้กลายเป็นอาณาเขตของคาซัคสถานยุคใหม่ในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวคาซัคซึ่งเป็นหนึ่งในชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนเติร์กเข้ามาตั้งรกราก และแยกตัวออกเป็นสามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Zhuz การตั้งถิ่นฐานของพวกเขารุกล้ำเขตแดนของรัสเซียตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ชาวรัสเซียจะตอบโต้ด้วยการรุกล้ำบริเวณทุ่งหญ้าคาซัค และยึดครองดินแดนทั้งหมดก่อนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปลดปล่อยทาสทั้งหมดที่ถูกชาวคาซัคจับตัวมา[11] การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซียนำไปสู่การจัดระเบียบการปกครองในดินแดนอีกหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2479 ดินแดนทั้งหมดกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคภายใต้สหภาพโซเวียต คาซัคสถานถือเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตแห่งสุดท้ายที่ประกาศเอกราชระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียตระหว่าง พ.ศ. 2531–2534 คาซัคสถานถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยถือครองจีดีพีเฉลี่ยถึงร้อยละ 60 ของทั่วทั้งภูมิภาค รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมส่งออกน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งมีทรัพยากรแร่ธาตุจำนวนมาก[12] คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม องค์กรสิทธิมนุษยชนอธิบายว่ารัฐบาลคาซัคมีการปกครองแบบเผด็จการ และมีสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ คาซัคสถานถือเป็นรัฐเดี่ยวที่เป็นสังคมพหุนิยมทางวัฒนธรรม[13] และได้รับการจัดอันดับทางดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดในภูมิภาค คาซัคสถานเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก เครือรัฐเอกราช องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์การรัฐเติร์ก และองค์การวัฒนธรรมเติร์กระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ด้วยพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541), อัลมาเตอ (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย), คาราฆันเดอ, เชิมเกียนต์, เซียเมียย์ (เซมีปาลาตินสค์) และเตอร์กิสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยายจากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ความยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตคาซัคสถานเคยเป็น 1 ใน 15 รัฐของสหภาพโซเวียต เรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (KSSR) ภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ก็ประกาศเอกราชเป็นรัฐสุดท้ายจากสหภาพโซเวียตและก่อตั้งประเทศคาซัคสถาน ดินแดนที่เป็นคาซัคสถานในปัจุบัน มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่ยุคหิน ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาชีพหลักของคนในยุคโบราณก็คือการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน โดยเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงม้า ในยุคศตวรรษที่ 13 ชาวมองโกล ก็เข้ามาในเขตนี้ และก็เริ่มวางระบบการปกครองที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น และมีการเรียกเขตการปกครองของพวกเขาว่า รัฐข่านคาซัค แต่ความเป็นตัวตนของชาวคาซัค เริ่มปรากฏชัดในศตวรรษที่ 16 เมื่อภาษา วัฒนธรรม แบบคาซัคเริ่มมีความแตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รัสเซียที่ปกครองดินแดนแถบนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย ก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเป็นจริงเป็นจัง และสามารถควบคุมปกครองดินแดนแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ เนื่องจากวิตกเรื่องการขยายอิทธิพลเข้ามาของฝ่ายอังกฤษ การแบ่งเขตการปกครองประเทศคาซัคสถานแบ่งออกเป็น 14 แคว้น (คาซัค: облыс/oblys; รัสเซีย: область) และ 4 นคร* (คาซัค: қаласы/qalasy; รัสเซีย: Город) ทุกแคว้นมีผู้ว่าการแคว้นที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนนายกเทศมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการแคว้น รัฐบาลคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาเตอไปอัสตานาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลคาซัคสถานและรัสเซียได้ทำข้อตกลงให้รัสเซียเช่าพื้นที่ 6,000 ตารางกิโลเมตร รอบท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ และเมืองบัยโกเงอร์เป็นเวลา 20 ปี นโยบายต่างประเทศความสัมพันธ์กับไทยความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ เป็นต้น ไทยได้แต่งตั้งนาย Mirgali Kunayev เป็น กสม. ณ นครอัลมาเตอ และมีอำนาจตรวจลงตรา ซึ่งนักท่องเที่ยวคาซัคสถานสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในไทยได้เกิน 15 วัน ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งไทยริเริ่ม โดยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก ACD กองทัพกองทัพบกทหารคาซัคสถานส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาจากกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต หน่วยงานเหล่านี้กลายเป็นแกนหลักของทหารคาซัคสถานสมัยใหม่ กองทัพบกคาซัคสถานได้มุ่งเน้นที่หน่วยรถหุ้มเกราะในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 หน่วยหุ้มเกราะได้ขยายจาก 500 คัน ถึง 1,613 คัน ใน ค.ศ. 2005 คาซัคสถานได้ส่งทหารวิศวกร 49 คน ไปยังอิรักเพื่อให้ความช่วยเหลือภารกิจของสหรัฐในการบุกรุกอิรัก เศรษฐกิจโครงสร้างทางเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต มีทรัพยากรที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดิบ แร่ธาตุ ตลอดจนยังมีขีดความสามารถทางการเกษตรอันเนื่องมาจากพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ที่กว้างขวาง ก่อนปี พ.ศ. 2533 ระบบเศรษฐกิจคาซัคสถานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแบ่งการผลิตของสหภาพโซเวียต โดยถูกกำหนดให้มีความชำนาญด้านเกษตรกรรม ตามโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟ (Khrushchev Virgin Lands) ส่วนอุตสาหกรรมหลักขึ้นอยู่กับการขุดเจาะน้ำมันและการทำเหมืองแร่ การผสมโลหะ และการสกัดแร่ธาตุ ตลอดจนการผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องมือก่อสร้าง รถแทรกเตอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ภายหลังการสลายตัวของสหภาพโซเวียต ความต้องการสินค้าเครื่องจักรกลหนักซึ่งเป็นสินค้าหลักของคาซัคสถานได้ลดลง ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2537 อัตราเงินเฟ้อสูงและมูลค่า Real GDP ลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2540 รัฐบาลคาซัคสถานได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกสู่ภาคเอกชน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานได้เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งน้ำมันในทะเลแคสเปียน ซึ่งส่งผลให้สามารถส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2541 สภาวะการตกต่ำของราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของคาซัคสถานตกต่ำลงชั่วขณะ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2542 ราคาน้ำมันได้ถีบตัวสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงินที่ถูกจังหวะและการเกษตรที่ได้ผลดี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจคาซัคสถานเจริญเติบโต ภาคเกษตรกรรมเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออก หรือ ร้อยละ 20-25 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชที่เคยสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 กลับตกต่ำที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และการผลิตภาคการเกษตรซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2532 กลับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2543 ส่วนภาคการบริการที่ถูกละเลยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับแต่ได้รับเอกราช ส่วนด้านการค้า ที่อยู่อาศัย และการคมนาคม ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน สำหรับการลงทุนนั้นมีมูลค่าร้อยละ 19 ของ GDP โดยหนึ่งในสี่ของการลงทุนนั้น มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและโลหะ การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินการโอนธุรกิจที่ดินให้เป็นของภาคเอกชนดำเนินไปอย่างช้า ๆ และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวคาซัคเท่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเกษตรกรรมได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไปต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น ๆ จะต้องมีบ้านหรือทรัพย์สินอยู่บนที่ดินผืนนั้น ส่วนที่ดินนอกเหนือจากนั้นถูกครอบครองโดยภาครัฐ การปฏิรูปเศรษฐกิจประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟได้นำความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเร่งสร้างระบบเศรษฐกิจแบบตะวันตก ด้วยการปฏิเสธบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและนำกลไกตลาดมาใช้ทันทีโดยมิได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของระบบอย่างสอดคล้องกันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ คาซัคสถานจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินบทบาทของรัฐในการควบคุม การผลิต การหมุนเวียนเงินทุน และการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศต่อไป พร้อมทั้งผสมผสานกลไกของรัฐและกลไกตลาดเข้าด้วยกัน สภาพเศรษฐกิจของคาซัคสถานกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบการตลาดแบบเสรี ในปี พ.ศ. 2539 คาซัคสถานเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น สังเกตได้จากอัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.1 ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2538 ที่มีอัตราร้อยละ 175 และปี พ.ศ. 2537 ที่มีอัตราถึงร้อยละ 1,900 ส่วนอัตราการว่างงานนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหมืองแร่ยังตกต่ำอยู่ เพราะขาดแคลนเงินทุนและปัจจัยในการผลิต ทำให้มีส่วนเกินของแรงงานและประสิทธิภาพ ส่วนทางภาคเกษตรกรรมนั้น ผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหมายกันไว้ การลงทุนขุดเจาะน้ำมันที่บ่อน้ำมัน Tengiz ของคาซัคสถาน ซึ่งรัฐบาลคาซัคสถานลงทุนร่วมกับบริษัท Chevron ของสหรัฐ ฯ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัสเซียที่จะจำกัดการส่งออกน้ำมันของคาซัคสถานผ่านท่อส่งน้ำมันของตน โดยล่าสุด บ่อน้ำมัน Tengiz สามารถส่งออกน้ำมันได้เพียง 880,000 บาร์เรลต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายการผลิตในปี พ.ศ. 2540 คือ 30,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม คาซัคสถาน รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และสหรัฐอเมริกา ก็ได้ร่วมกันหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกน้ำมันผ่านท่อของประเทศต่าง ๆ ของคาซัคสถานแล้ว เนื่องจากคาซัคสถานมีโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สผ่านรัสเซีย ไปยังชายฝั่งทะเลดำ โดยได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2541 และจะสิ้นสุดโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2543 แต่เส้นทางที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซผ่านนั้น เป็นประเทศคู่แข่งทางด้านนี้กับคาซัคสถานทั้งสิ้น เช่น อาเซอร์ไบจาน อิหร่าน และรัสเซีย และต้นทุนของการสร้างท่อก็มีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวแล้ว คาซัคสถานจะต้องให้ความคุ้มครองแก่เส้นทางของท่อส่งออกน้ำมันและแก๊สทั้งด้านการค้าและการเมือง เท่าที่ผ่านมา ประเทศที่ดูจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจน้ำมันกับคาซัคสถาน ได้แก่ ตุรกี ซึ่งบรรลุข้อตกลงกับคาซัคสถานที่จะร่วมกันพัฒนาบ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในคาซัคสถานถึง 7 แห่ง โดยตุรกีจะได้รับส่วนแบ่งเป็นน้ำมันจำนวน 2.1 พันล้านบาร์เรลและแก๊สธรรมชาติจำนวน 208.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร คาซัคสถานมีน้ำมันสำรองถึง 2.5% ของปริมาณน้ำมันโลก และคาดว่าภายในปี 2560 จะติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกน้ำมัน [15] สำหรับการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คาซัคสถานจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตและปัญหาความไม่โปร่งใสของการลงทุน ซึ่งพบอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการครอบครองด้านเศรษฐกิจโดยกลุ่มผู้จัดการน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันก่อนวิกฤตเศรษฐกิจของรัสเซีย คาซัคสถานได้รับการกล่าวถึงจากนานาชาติค่อนข้างดี ในแง่ของความพยายามและผลของการพัฒนาประเทศ แต่โดยที่รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักของคาซัคสถาน จึงทำให้คาซัคสถานได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลและธนาคารชาติคาซัคสถานได้ประกาศจะยุติการแทรกแซงเพื่อพยุงอัตราการแลกเปลี่ยนของเงินเต็งเก (Tenge) และปล่อยค่าเงินลอยตัว เพื่อให้สินค้าของคาซัคสถานสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นที่ได้ลดค่าเงินในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ค่าเงินเต็งเกอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 88 เต็งเก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 146.37 เต็งเก อย่างไรก็ดี คาซัคสถานได้พัฒนาระบบการเงินการธนาคารเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเงิน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 คาซัคสถานเป็นประเทศแรกของอดีตสหภาพโซเวียตที่สามารถจ่ายชำระหนี้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 7 ปี และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านการวางแผนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและระบบการคลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก น้ำมันและแก๊สธรรมชาติยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ มีการพิสูจน์แล้วว่าคาซัคสถานเป็นแหล่งสำรองน้ำมันของโลกร้อยละ 2.5 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้คาซัคสถานอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก การท่องเที่ยวแม้ว่าภูเขาและทะเลสาบเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตช้ามากเพราะได้รับการลงทุนน้อย[16] ในช่วงทศวรรษ 2000 มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยปีละ 450,000 คน ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย ทะเลสาบ Issyk-Kul และภูเขาเทียนฉานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างนิยม โครงสร้างพื้นฐานการศึกษาการศึกษาเป็นสากลและบังคับไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่เป็น 99.5% การศึกษาประกอบด้วยการศึกษาหลัสามขั้นตอนคือ: ระดับประถมศึกษา (1-4 รูปแบบ), การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไป (5-9 ฟอร์ม) และการศึกษาระดับอาวุโส (แบบฟอร์ม 10-11 หรือ 12) แบ่งเป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่องและการศึกษามืออาชีพ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยโรงเรียนและสถาบันการดนตรีโรงเรียนที่สูงขึ้นและสูงขึ้นอยู่ที่วิทยาลัย ประชากรเชื้อชาติ
ศาสนาจากการสำรวจในปี ค.ศ. 2009 พบว่าชาวคาซัคสถานร้อยละ 70.2 นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 26.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.50 , ศาสนาอื่นๆ (โดยเฉพาะศาสนายูดาห์) ร้อยละ 0.2, มีร้อยละ 2.8 ระบุว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา และร้อยละ 0.5 ไม่ได้ระบุว่านับถือศาสนาใด[17] ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีจำนวนศาสนิกมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หลังจากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานมีการแสดงออกถึงการนับถือศาสนา เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการปฏิบัติศาสนกิจที่แพร่หลายขึ้น ศาสนสถานกว่าร้อยแห่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สมาคมทางศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 670 แห่งในปี ค.ศ. 1990 เป็น 4,170 แห่งในปัจจุบัน[18] ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีย์มัซฮับฮานาฟี ศาสนิกชนส่วนใหญ่คือกลุ่มเชื้อสายคาซัคกว่าร้อยละ 60 และในกลุ่มชาวอุซเบก, อุยกูร์ และตาตาร์[19] มีชาวซุนนีย์น้อยกว่าร้อยละ 1 ศึกษามัซฮับซาฟิอี (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเชเชน) มีมัสยิดทั้งหมด 2,300 แห่ง[18] ซึ่งทุกแห่งได้เข้าร่วมกับสมาคมจิตวิญญาณมุสลิมคาซัคสถาน (Spiritual Association of Muslims of Kazakhstan) โดยขึ้นตรงต่อศาลมัฟติ (Mufti)[20] และมีวันอีดิลอัฎฮาเป็นวันหยุดราชการ[18] หนึ่งในสี่ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มประชาชนที่มีเชื้อสายรัสเซีย, ยูเครน และเบลารุสเซีย[21] นอกจากนี้ยังมีนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์[19] มีโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 3,258 แห่ง, โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก 93 แห่ง และโบสถ์ของนิกายโปรเตสแตนต์กว่า 500 แห่ง ทั้งนี้วันคริสต์มาสของนิกายออร์ทอดอกซ์ได้เป็นวันหยุดราชการของประเทศเช่นกัน[18] นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่น ๆ เช่น ยูดาห์, บาไฮ, ฮินดู, พุทธ เป็นอาทิ[19] ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2009 มีคริสต์ศาสนิกชนน้อยมากที่มิใช่กลุ่มชาวสลาฟและเยอรมัน ตามตาราง[22]
ภาษาหมายเหตุอ้างอิง
บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: towards 2030, 365–387, UNESCO, UNESCO Publishing. ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นทั่วไป
รัฐบาล
การค้า |