ภาษาญี่ปุ่นลูกผสมอี๋หลาน (อังกฤษ : Yilan Creole Japanese ) มีอีกชื่อว่า คันเก (ญี่ปุ่น : 寒渓語 ; โรมาจิ : Kankei ) หรือ หันซือ-อฺหวี่ (จีน : 寒溪語 ) เป็นภาษาครีโอล ฐานญี่ปุ่น ในไต้หวีน ปรากฏขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง 1940 ผ่านการสื่อสารระหว่างชาวอาณานิคมจักรวรรดิญี่ปุ่นกับชาวไท่หย่า ในเทศมณฑลอี๋หลาน ไต้หวัน คำศัพท์ของผู้พูดที่เกิดใน ค.ศ. 1974 แบ่งออกเป็นญี่ปุ่นร้อยละ 70 และไท่หย่า ร้อยละ 30 แต่ไวยากรณ์ไม่ใกล้เคียงกับภาษาทั้งสองเลย[ 1]
ผู้พูดทั้งภาษาญี่ปุ่น และภาษาไท่หย่า เป็นภาษาแม่ไม่เข้าใจภาษาครีโอลนี้[ 2] ภาษาครีโอลนี้ได้รับการระบุใน ค.ศ. 2006 โดย Chien Yuehchen กับ ซานาดะ ชินจิ แต่การมีตัวตนของภาษานี้ส่วนใหญ่ยังคงไม่เป็นที่รู้จัก[ 2] [ 3] ทั้งสองคนตั้งชื่อภาษานี้ตามที่ตั้ง[ 4] ภาษาจีนกลาง ภาษาราชการ ของไต้หวัน คุกคามการมีตัวตนของภาษาครีโอลอี๋หลาน[ 4]
การจัดอันดับ
ภาษาญี่ปุ่นลูกผสมอี๋หลานเป็นภาษาครีโอลที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาญี่ปุ่น[ 5]
อ้างอิง
↑ Chien, Yuehchen; Sanada, Shinji (2010). "Yilan Creole in Taiwan". Journal of Pidgin and Creole Languages (ภาษาอังกฤษ). 25 (2): 350–357. doi :10.1075/jpcl.25.2.11yue .
↑ 2.0 2.1 Qiu, P. (2015). A Preliminary Investigation of Yilan Creole in Taiwan: Discussing Predicate Position in Yilan Creole (PDF) (วิทยานิพนธ์ Master's) (ภาษาอังกฤษ). University of Alberta. doi :10.7939/R3930P347 .
↑ Chien, Yuehchen 簡月真; Sanada, Shinji 真田信治 (2010). "Dōng Táiwān Tàiyǎzú de Yílán kèlǐàoěr" 東台灣泰雅族的宜蘭克里奧爾 [Yilan Creole of the Atayal People in Eastern Taiwan]. Táiwān yuánzhùmínzú yánjiū 台灣原住民族研究 (Abstract). 3 (3): 89. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 1, 2018.
↑ 4.0 4.1 Chien, Yuehchen (2015). "The Lexical System of Yilan Creole". ใน Zeitoun, Elizabeth; Teng, Stacy F.; Wu, Joy J. (บ.ก.). New Advances in Formosan Linguistics (PDF) . Canberra: Asia-Pacific Linguistics. pp. 513–532. hdl :1885/14354 . ISBN 978-1-922185-17-4 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2018-04-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-02 .
↑ "Yilan Creole Japanese" . Glottolog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 10, 2017 .
แหล่งข้อมูลอื่น